เงินกู้นอกระบบคืออะไร อันตรายไหม มีความเสี่ยงอะไรบ้าง?
เงินกู้นอกระบบกับภัยเสี่ยงที่คุณควรระวัง ไม่ว่าจะเป็นดอกเบี้ยสูง สัญญาไม่ชัดเจน และการข่มขู่ทวงหนี้รุนแรง มารู้ทันภัยเสี่ยงก่อนตัดสินใจกู้ในบทความนี้ คลิกอ่านเลย
ในยุคที่เศรษฐกิจไม่แน่นอน รายได้ไม่พอกับรายจ่าย หลายคนอาจเผชิญปัญหาเงินขาดมือแบบไม่ทันตั้งตัวมองหาแหล่งกู้เงินปิดหนี้ และเมื่อขอสินเชื่อจากธนาคารไม่ผ่าน การเข้าถึง “เงินกู้นอกระบบ” จึงกลายเป็นทางเลือกที่ได้เงินรวดเร็ว แต่แฝงไปด้วยความเสี่ยงสูง ไม่ว่าจะเป็นการอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าปกติ รายละเอียดสัญญาไม่ชัดเจน รวมไปถึงการโดนทวงหนี้ข่มขู่รุนแรง จะดีกว่าไหมถ้าเลือกกู้เงินในระบบแทน? บทความนี้จะพาคุณมารู้จักว่าเงินกู้นอกระบบต่างจากเงินกู้ในระบบยังไง และความเสี่ยงที่คุณควรรู้มีอะไรบ้าง
เงินกู้นอกระบบคืออะไร ต่างจากกู้เงินในระบบยังไง
ใครที่กำลังมองหาทางเลือกได้เงินมาปิดหนี้ทั้งหมดเร็ว ๆ ก็คงเลือกกู้เงินนอกระบบ หรือที่เรียกว่าเงินด่วนนอกระบบ ซึ่งเงินกู้นอกระบบก็คือ การกู้ยืมเงินโดยไม่ผ่านสถาบันการเงิน เช่น ธนาคาร บริษัทสินเชื่อ หรือผู้ให้กู้โดยทำอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งแหล่งเงินกู้นอกระบบนั้นส่วนใหญ่มักมาจากบุคคลทั่วไป อย่างญาติ เพื่อน ไปจนถึงบริษัทรับปิดหนี้นอกระบบ โดยสิ่งที่ทำให้เงินกู้นอกระบบต่างจากเงินกู้ในระบบ ได้แก่
- ไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมของกฎหมาย โดยไม่มีการจดทะเบียนกับธนาคารแห่งประเทศไทยและการตรวจสอบจากหน่วยงานรัฐ
- ดอกเบี้ยสูงเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ส่วนใหญ่แล้วเงินกู้นอกระบบจะคิดดอกเบี้ยรายวันหรือรายสัปดาห์ เกิน 20–30% ต่อเดือน ซึ่งถือว่าผิดกฎหมาย
- ไม่ตรวจสอบเครดิตบูโร หรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง ทำให้อนุมัติเร็ว ไม่ต้องใช้สลิปเงินเดือนหรือบัญชีธนาคาร
- ใช้ช่องทางโซเชียลในการโปรโมทหาผู้กู้ โดยมักโฆษณาผ่าน Facebook, LINE, TikTok หรือแอปเงินกู้และเน้นใช้ข้อความที่ดึงดูด เช่น “กู้ง่าย อนุมัติไว ไม่เช็กเครดิต”
- ไม่มีหลักประกันก็ให้กู้ แต่แฝงเงื่อนไขแฝง เช่น ยึดบัตรประชาชน สมุดบัญชี หรือบัตร ATM เอาไว้ บางคนอาจให้เซ็นสัญญาเปล่าไว้ก่อนเพื่อใช้ข่มขู่ทวงหนี้ทีหลัง
รายละเอียดสัญญาที่ระบุไม่ชัดเจน ปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลาจึงเป็นหนึ่งในสาเหตุของการเป็นหนี้นอกระบบและโดนข่มขู่ทวงหนี้รุนแรง ทำให้ต้องมองหาแหล่งช่วยเหลือรับปิดหนี้นอกระบบอย่างโครงการแก้หนี้นอกระบบหรือธนาคารที่ช่วยรับปิดหนี้
กู้เงินนอกระบบเสี่ยงอะไรบ้างที่ควรรู้
แม้ว่าเงินกู้นอกระบบจะเป็นทางออกที่ง่ายและได้เงินเร็วก็จริง แต่สิ่งสำคัญที่ควรรู้ก่อนจะตัดสินใจเลือกกู้เงินนอกระบบก็คือความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อครอบครัวและทรัพย์สินของคุณ ไม่ว่าจะเป็น
- รายละเอียดสัญญาไม่ชัดเจน
เพราะสัญญามักไม่มีรายละเอียดครบถ้วน หรือใช้ถ้อยคำที่คลุมเครือทำให้อาจเข้าใจผิดหรือบิดเบือนได้ โดยผู้ให้กู้อาจใช้กลอุบายหลอกลวง ทำให้ผู้กู้เสียเปรียบหรือตกเป็นเหยื่อโดยไม่รู้ตัว
- ดอกลอย
ดอกเบี้ยไม่มีมาตรฐานแน่นอน ปรับขึ้นลงได้ตามอำเภอใจของเจ้าหนี้ ทำให้ผู้กู้ไม่สามารถวางแผนการเงินหรือชำระหนี้ตามที่วางแผนเอาไว้ได้
- อัตราดอกเบี้ยสูงเกินกฎหมาย
กฎหมายไทยกำหนดไว้ไม่เกิน 25% ต่อปีเท่านั้น แต่สำหรับเงินกู้นอกระบบจะคิดดอกเบี้ย 10–30% ต่อเดือน หรือประมาณ 120–360% ต่อปี การที่ดอกเบี้ยสูงเกินไปทำให้หลุดพ้นจากหนี้ได้ยาก และเสี่ยงเข้าสู่ภาวะหนี้สินล้น ปิดหนี้นอกระบบยากนั่นเอง
- เจรจาประนีประนอมยาก
เพราะการกู้เงินนอกระบบรัฐไม่ได้เข้ามาช่วยดูแลในส่วนนี้ การเจรจาหรือต่อรองจึงทำได้อยาก ปรับเปลี่ยนได้ตามเจ้าหนี้ ซึ่งไม่ค่อยเปิดโอกาสให้ผ่อนปรน เช่น ลดดอกเบี้ยหรือเลื่อนกำหนดชำระ ผู้กู้จึงไม่มีทางเลือก นอกจากหาเงินมาจ่ายตามที่ถูกกำหนด
วิธีหาเงินมาจ่ายหนี้นอกระบบเบื้องต้นง่าย ๆ
เป็นหนี้นอกระบบทําไงดี แก้ปัญหาหนี้นอกระบบยังไงได้บ้าง? เริ่มแรกคุณต้องลดค่าใช้จ่ายที่เกินความจำเป็นก่อน เพราะหนี้ที่เกิดขึ้นจากเงินกู้นอกระบบนั้นส่วนหนึ่งมาจากการใช้เงินเกินตัวหรือไม่มีเงินเก็บ การลดรายจ่ายจึงเป็นวิธีแรกที่ควรทำทันที โดยควรทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายอยู่เสมอเพื่อจะได้รู้ว่าค่าใช้จ่ายส่วนไหนลดได้ เงินส่วนไหนบางที่จะเหลือไว้ใช้หนี้และเก็บออม
นอกจากลดค่าใช้จ่ายแล้วก็ควรมองหาช่องทางรายได้อื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น การทำงานพิเศษ ขายของออนไลน์ หรือขายทรัพย์สินที่ไม่จำเป็น เพื่อเปลี่ยนเป็นเงินสดไปใช้หนี้ ซึ่งเป็นอีกวิธีที่จะช่วยให้คุณมีเงินก้อนและปิดหนี้นอกระบบได้เร็วขึ้น
วิธีป้องกันการเป็นหนี้นอกระบบทำอย่างไรดี รู้ไว้ก่อนตัดสินใจ!
ถ้าไม่อยากเจอปัญหาเป็นหนี้จากเงินกู้นอกระบบหรือต้องกู้เงินปิดหนี้นอกระบบเพิ่ม นี่คือวิธีหนีห่างจากหนี้นอกระบบที่เราอยากแนะนำ จะมีอะไรบ้างนั้น ตามมาดูกันเลย
- วางแผนการเงินให้รอบคอบ ด้วยการจดบันทึกรายรับ-รายจ่ายสม่ำเสมอ รู้ว่าเงินเข้ามาจากไหน และมีรายจ่ายส่วนใดบ้าง พร้อมกับตั้งงบประมาณรายเดือน และพยายามไม่ใช้เงินเกินตัว
- มีเงินสำรองฉุกเฉิน เริ่มแบ่งเงินบางส่วนเก็บไว้ใช้ในยามจำเป็น เช่น ค่ารักษาพยาบาล
- เลือกใช้สินเชื่อในระบบเท่านั้น หากจำเป็นต้องกู้เงิน แนะนำว่าให้เลือกใช้บริการจากธนาคารหรือสถาบันการเงินที่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อเป็นประโยชน์ในการตรวจสอบดอกเบี้ย เงื่อนไข และขอคำปรึกษาให้ชัดเจนก่อนตัดสินใจกู้
- หลีกเลี่ยงการใช้จ่ายฟุ่มเฟือยที่เกินความจำเป็นจนต้องกู้หนี้ยืมสิน ควรใช้จ่ายอย่างประหยัด
- ศึกษาและรู้เท่าทันกลลวงกลุ่มปลดหนี้นอกระบบ ระวังคำโฆษณาที่ดูดีเกินจริง เช่น “อนุมัติง่าย ไม่เช็กเครดิต ไม่มีคนค้ำ” ควรมีการตรวจสอบแหล่งที่มาให้ดี
- ประเมินความสามารถของตนเองในการชำระหนี้ก่อนเริ่มสร้างหนี้ใหม่ ไม่ควรกู้เงินซ้ำซ้อนหรือกู้ปิดหนี้นอกระบบเพราะอาจนำมาสู่วงจรการสร้างหนี้ที่ไม่มีวันสิ้นสุดได้
เงินกู้นอกระบบกับความเสี่ยงที่อาจเป็นหนี้นอกระบบได้โดยไม่รู้ตัว
เงินกู้นอกระบบนั้นแม้ดูจะเป็นทางออกที่ง่ายและรวดเร็ว แต่ก็แฝงไปด้วยความเสี่ยง เช่น ดอกเบี้ยสูง การทวงหนี้รุนแรง และไม่มีสัญญาคุ้มครองตามกฎหมาย หากไม่ระวังก็อาจกลายเป็นหนี้ไม่รู้จบ ในขณะที่การกู้เงินในระบบ เช่น ธนาคารหรือสถาบันการเงินที่ได้รับอนุญาต มีดอกเบี้ยเป็นธรรม โปร่งใส และสามารถเจรจาเงื่อนไขได้ตามกฎหมาย ซึ่งเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยและน่าเชื่อถือมากกว่า อย่างไรก็ตามแนะนำว่าควรคิดให้รอบคอบทุกครั้งก่อนตัดสินใจกู้เสมอ















