ต่อพ.ร.บ. รถยนต์ใช้เอกสารอะไรบ้าง? เตรียมให้พร้อมไม่เสียเวลา
สรุปเอกสารที่ต้องใช้ในการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ทั้งกรณีต่อที่ขนส่ง ซื้อออนไลน์ หรือผ่านตัวแทน เตรียมให้ครบก่อนต่อจริง
ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ไม่ใช่แค่เรื่องเอกสารจุกจิก แต่คือเรื่องใหญ่ที่เจ้าของรถทุกคนต้องไม่ลืม เพราะถ้าเอกสารไม่ครบ ต่อไม่ได้ เท่ากับเสี่ยงโดนปรับ และหมดสิทธิ์ต่อภาษีทันที บทความนี้เลยจะพาไปดูแบบละเอียดว่า ต่อพ.ร.บ. รถยนต์ใช้เอกสารอะไรบ้าง พร้อมแจกแจงให้ครบทุกช่องทาง ตั้งแต่ขนส่งยันออนไลน์ เตรียมให้พร้อมก่อนจะโดนเทเพราะเอกสารขาดตัวเดียว
ต่อพ.ร.บ. รถยนต์ใช้เอกสารไหม? หรือแค่แจ้งทะเบียนก็พอ?
การต่อพ.ร.บ. รถยนต์ใช้เอกสารอะไรบ้างนั้น เป็นคำถามยอดฮิตของคนที่กำลังจะไปต่อพ.ร.บ. โดยเฉพาะมือใหม่หัดขับที่อาจยังไม่เคยเดินเรื่องด้วยตัวเอง ความจริงแล้วคำตอบขึ้นอยู่กับว่าคุณต่อพ.ร.บ. ที่ไหน เพราะแต่ละช่องทางจะมีเงื่อนไขเอกสารไม่เหมือนกันเป๊ะ ๆ
ถ้าไปต่อพ.ร.บ. รถยนต์ที่กรมขนส่งทางบก เอกสารที่ต้องใช้คือบัตรประชาชนของเจ้าของรถ และสำเนาหรือเล่มทะเบียนรถ โดยไม่สามารถแจ้งทะเบียนปากเปล่าแล้วจบได้เด็ดขาด เพราะเจ้าหน้าที่ต้องใช้เอกสารเหล่านี้ตรวจสอบข้อมูลรถก่อนดำเนินการทุกครั้ง
ส่วนในกรณีที่ต่อพ.ร.บ. รถยนต์ผ่านออนไลน์ หรือผ่านบริษัทประกันบางแห่ง อาจไม่ต้องใช้เอกสารฉบับจริง แต่ยังจำเป็นต้องมีข้อมูลในเอกสารอย่างครบถ้วน เช่น เลขทะเบียนรถ เลขตัวถัง เลขเครื่องยนต์ ปีจดทะเบียน และข้อมูลเจ้าของรถ ซึ่งจะใช้กรอกลงในแบบฟอร์มออนไลน์แทนการยื่นเอกสารจริง
เอกสารที่ต้องใช้ในการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ มีอะไรบ้าง?
สำเนาหรือเล่มทะเบียนรถ (คู่มือจดทะเบียน)
หนึ่งในเอกสารหลักที่เกี่ยวข้องกับการต่อพ.ร.บ. รถยนต์ใช้เอกสารอะไรบ้าง คำตอบที่หนีไม่พ้นคือ "เล่มทะเบียนรถ" หรือสำเนาก็ได้ โดยเอกสารนี้ใช้ยืนยันข้อมูลรถ เช่น ทะเบียนรถ รุ่นรถ เลขตัวถัง และข้อมูลเจ้าของรถ ซึ่งจะถูกนำไปลงทะเบียนกับกรมธรรม์พ.ร.บ. เพื่อให้ความคุ้มครองถูกต้องตรงรุ่น ไม่เกิดความคลาดเคลื่อน
สำหรับรถยนต์อายุเกิน 7 ปี จะต้องแนบใบตรวจสภาพรถจาก ตรอ. มาด้วย เพื่อยืนยันว่ารถยังมีสภาพพร้อมใช้งาน ไม่อันตรายต่อผู้อื่น
บัตรประชาชนของเจ้าของรถ (กรณีต่อด้วยตนเอง)
ต่อพ.ร.บ. รถยนต์ใช้เอกสารอะไรบ้างอีกหนึ่งอย่างก็คือบัตรประชาชนของเจ้าของรถ ซึ่งใช้ระบุตัวตนและยืนยันความเป็นเจ้าของหรือผู้มีสิทธิ์ดำเนินการต่อพ.ร.บ. หากไปดำเนินการด้วยตนเอง ต้องเตรียมบัตรตัวจริงหรือสำเนาบัตรให้พร้อมเพื่อยื่นต่อเจ้าหน้าที่
ในกรณีที่ให้คนอื่นไปต่อแทน ควรมีหนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประชาชนของทั้งเจ้าของรถและผู้ดำเนินการแทนแนบมาด้วย เพื่อความชัดเจน และหลีกเลี่ยงปัญหาจากการยืนยันตัวตนที่ไม่ตรง
ต่อพ.ร.บ. ผ่านออนไลน์หรือบริษัทประกัน ใช้เอกสารต่างจากที่ขนส่งหรือไม่?
ถ้าเลือกต่อพ.ร.บ. รถยนต์ผ่านออนไลน์ หรือผ่านบริษัทประกัน เอกสารที่ใช้จะง่ายและน้อยกว่าการไปต่อที่กรมขนส่ง เพราะไม่ต้องยื่นเอกสารฉบับจริง แต่ยังคงต้องใช้ข้อมูลจากเอกสารเดิมทั้งหมด
ผู้ซื้อจะต้องกรอกข้อมูลรถให้ครบถ้วน เช่น ทะเบียนรถ รุ่นรถ ปีที่จดทะเบียน เลขตัวถัง เลขเครื่องยนต์ และชื่อเจ้าของรถ โดยระบบจะใช้ข้อมูลนี้ในการออกกรมธรรม์แบบออนไลน์ และจัดส่งให้ทางอีเมลหรือแอปพลิเคชัน
การต่อพ.ร.บ. รถยนต์ใช้เอกสารอะไรบ้างในรูปแบบออนไลน์ ยังต้องแนบภาพถ่ายของเล่มทะเบียนรถหรือสำเนาอย่างชัดเจน เพื่อเป็นหลักฐานประกอบ แม้ไม่ต้องแสดงตัวจริงก็ตาม หรือถ้าจำข้อมูลของรถยนต์ตัวเองได้ก็ไม่ทำเป็นต้องใช้เอกสารเลยก็ได้
ถ้าให้คนอื่นไปต่อพ.ร.บ. ให้ ต้องเตรียมเอกสารอะไรเพิ่มไหม?
ต้องมี หนังสือมอบอำนาจ พร้อม สำเนาบัตรประชาชนของเจ้าของรถ และ สำเนาบัตรของผู้ที่ดำเนินการแทน แนบไปด้วย เพื่อให้เจ้าหน้าที่มั่นใจว่าผู้ที่มาต่อพ.ร.บ. มีสิทธิ์ทำแทนเจ้าของรถได้อย่างถูกต้อง
แต่ถ้าต่อพ.ร.บ.รถยนต์ออนไลน์ สามารถต่อแทนผู้อื่นได้โดยไม่จำเป็นต้องมีใบมอบอำนาจ เพียงแค่มีข้อมูลรถยนต์และข้อมูลผู้เอากรมธรรม์ก็เพียงพอค่ะ
















