อาการไข้หวัดใหญ่ มาพร้อมไข้สูง ปวดเมื่อย อ่อนเพลีย รู้ทัน ป้องกันได้
อาการไข้หวัดใหญ่แตกต่างกับไข้หวัดธรรมดา สาเหตุของไข้หวัดใหญ่ เป็นแล้วกี่วันหาย วิธีป้องกันตัวเองอย่างไรให้ปลอดภัย มีอาการอย่างไรควรไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษา
เมื่อฤดูฝนมาเยือน โรคต่างๆ มักมากับสายฝน หนึ่งในนั้นคือ "ไข้หวัดใหญ่" โรคที่หลายคนอาจมองข้าม แต่รู้หรือไม่ว่า อาการไข้หวัดใหญ่ รุนแรงกว่าไข้หวัดธรรมดา ไข้หวัดใหญ่สามารถหายได้เอง แต่บางครั้งอาจเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เจ็บหน้าอก หายใจถี่ ชัก ปวดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง ควรพบแพทย์ รักษาไม่ทันอาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้
บทความนี้จะพาไปรู้จักกับอาการไข้หวัดใหญ่ ว่ามีกี่สายพันธุ์ แต่ละสายพันธุ์ อันตราย รุนแรงแค่ไหน วิธีแยกแยะกับไข้หวัดธรรมดา แนวทางวิธีรักษาอาการของไข้หวัดใหญ่ ไปจนถึงวิธีป้องกันตัวเองอย่างไรให้ห่างไกลจากโรคนี้มากที่สุด เตรียมตัวให้พร้อมเพื่อรับมือกับภัยร้ายที่มาพร้อมหน้าฝนกันเถอะ!
ไข้หวัดใหญ่คืออะไร มีกี่สายพันธุ์
ไข้หวัดใหญ่ influenza คือโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจเกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Influenza virus)หรือทางการแพทย์จะเรียกสั้นๆ ว่า “flu” มีอาการคล้ายไข้หวัดธรรมดา แต่อาการไข้หวัดใหญ่รุนแรงกว่า มักเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน และสามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ง่าย อาการไข้หวัดใหญ่ เบื้องต้นอาจมีอาการไข้สูง หนาวสั่น เหงื่อออก ปวดศีรษะ ไอ และเจ็บคอ เป็นต้น ระยะฟักตัวไข้หวัดใหญ่ อยู่ที่ 1- 4 วัน โดยเฉลี่ย 2 วัน สาเหตุโรคไข้หวัดใหญ่ สาเหตุหลักคือติดเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซ่า
สายพันธุ์ของไข้หวัดใหญ่ เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่แบ่งออกเป็น 3 ชนิดหลัก คือ A, B และ C โดยสายพันธุ์ A และ B เป็นสาเหตุหลักของโรคไข้หวัดใหญ่ในคน สามารถแบ่งแต่ละสายพันธุ์ได้ดังนี้
- สายพันธุ์ A หรือเรียกสั้นๆ ว่า flu a แบ่งออกเป็นหลาย subtype เช่น H1N1, H5N1, H7N9
- สายพันธุ์ B แบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์หลัก คือ Victoria และ Yamagata
- สายพันธุ์ C มักพบในเด็ก อาการไม่รุนแรง
อาการของไข้หวัดใหญ่ มีอะไรบ้าง
อาการของไข้หวัดใหญ่ (Influenza) โดยทั่วไปมักมีอาการพบได้บ่อย ดังนี้
- ไข้สูง: อาจมีไข้สูงขึ้นไปถึง 38-40 องศาเซลเซียส หนาวสั่น เหงื่อออก
- อาการเหนื่อยหมดแรง
- ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะบริเวณหลัง ต้นแขน ต้นขา
- ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย
- น้ำมูกไหล คัดจมูก ไอแห้ง ๆ เจ็บคอ
- เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน
- ส่วนในเด็กเล็กจะมีไข้สูง ร่วมกับอาการทางระบบอื่น เช่น ถ่ายเหลว คลื่นไส้อาเจียน หรือชักจากไข้สูง
อาการไข้หวัดใหญ่มีลักษณะใดควรไปพบแพทย์
การไปพบแพทย์เมื่อมีอาการโรคไข้หวัดใหญ่นั้น มักจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ และสภาพร่างกายโดยรวมของบุคคลด้วย อย่างไรก็ตาม มี 3 อาการ ควรพิจารณาไปพบแพทย์อย่างยิ่ง ดังนี้
- อาการรุนแรง: หากมีอาการรุนแรงเช่น ไข้สูงไม่ลดลงหลังรับประทานยาลดไข้ หากไข้มีแนวโน้มสูงขึ้นไปสูงกว่า 38.5 องศาเซลเซียส และอ่อนเพลีย อ่อนแรงมาก ควรพบแพทย์ทันที เพื่อรับวินิจฉัยอาการของไข้หวัดใหญ่และรักษาได้ถูกต้อง
- ภาวะเสี่ยงสูง: หากเป็นกลุ่มเสี่ยง อาจมีภาวะแทรกซ้อนหรือภาวะอันตรายเมื่อเป็นไข้หวัดใหญ่ เช่น ผู้สูงอายุ, เด็กเล็ก, ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ, โรคปอด, โรคภูมิแพ้ หรือมีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เป็นต้น ก็ควรพบแพทย์เพื่อตรวจและรักษาได้ถูกต้อง
- อาการแทรกซ้อน: อาการคนเป็นไข้หวัดใหญ่หากพบภาวะแทรกซ้อนเช่น หายใจเหนื่อย, หอบเหนื่อย, หน้ามืดหมดสติ, ปอดอักเสบ รวมถึงมีอาการปัญหาทางระบบทางเดินหายใจอื่น ๆ หรือหากอาการไม่ดีขึ้นภายใน 5 วัน ควรรีบพบแพทย์
ด้วยความรุนแรงของอาการไข้หวัดใหญ่ หรือสุขภาพของผู้ป่วยแตกต่างกัน การตัดสินใจไปพบแพทย์อาจต้องพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆ ข้างต้น เพื่อป้องกันและรักษาอาการไข้หวัดใหญ่ได้อย่างเหมาะสม
การรักษาอาการไข้หวัดใหญ่
วิธีรักษาไข้หวัดใหญ่ มักจะเน้นบรรเทาอาการและจัดการกับอาการร่วมอื่น ๆ โดยเน้นให้ความสะดวกสบายแก่ผู้ป่วย รวมทั้งป้องกันการแพร่เชื้อให้กับผู้อื่น วิธีรักษาไข้หวัดใหญ่ให้หายเร็ว ประกอบด้วย
- พักผ่อนเพียงพอ: ผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ จะช่วยให้ร่างกายฟื้นฟูได้เร็วขึ้น
- ดื่มน้ำมาก ๆ: ดื่มน้ำมากมากช่วยละลายเสมหะ ช่วยระงับอาการเจ็บคอ ทำให้ร่างกายไม่ขาดน้ำ
- ใช้ยาลดไข้แก้ปวด: ยาแก้ไข้หวัดใหญ่ เช่นยาพาราเซตามอล (Paracetamol) หรือไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) เป็นต้น เพื่อช่วยลดอาการไข้หวัดใหญ่ ตามคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัช
- ใช้ยาต้านไวรัส: ในบางกรณีแพทย์อาจสั่งให้ใช้ยาต้านไวรัสเพื่อช่วยลดอาการ ระยะเวลาของโรค อย่างไรก็ตาม ยาต้านไวรัสมีประสิทธิภาพเฉพาะในระยะเริ่มต้นของโรค
- ป้องกันการแพร่เชื้อ: ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงสัมผัสกับผู้อื่น ใช้หน้ากากอนามัยเมื่อมีการสัมผัสกับผู้อื่น ควรอยู่ในห้องปิด เพื่อป้องกันแพร่เชื้อในบ้านหรือสถานที่ทำงาน
- รับประทานอาหารมีประโยชน์: การรับประทานอาหารมีประโยชน์ อุดมไปด้วยวิตามินช่วยให้ร่างกายมีพลังงานต่อสู้กับโรค
- ควบคุมอาการ: หากมีอาการรุนแรงหรือไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาเพิ่มเติม โดยเฉพาะในกรณีมีภาวะแทรกซ้อนหรือภาวะอันตราย
การรักษาอาการของไข้หวัดใหญ่ในผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเน้นบรรเทาอาการ มักไม่จำเป็นต้องใช้ยาต้านไวรัสในกรณีทั่วไป รักษาไข้หวัดใหญ่ด้วยตัวเองก็สามารถทำได้ อย่างไรก็ตามหากมีอาการรุนแรงหรือไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อดูแลและรักษาที่เหมาะสม
วิธีดูแลตัวเองเมื่อมีอาการไข้หวัดใหญ่
วิธีดูแลตนเองเมื่อมีอาการไข้หวัดใหญ่ ดังนี้
- พักผ่อนให้เพียงพอ: นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ จะช่วยให้ร่างกายฟื้นฟูได้เร็วขึ้น พยายามนอนหลับพักผ่อนให้ได้อย่างน้อย 8-10 ชั่วโมงต่อวัน
- ดื่มน้ำปริมาณให้มากขึ้น น้ำเปล่าเป็นตัวเลือกดีที่สุด ควรดื่มน้ำให้ได้อย่างน้อยวันละ 2 ลิตร เพราะน้ำจะช่วยขจัดสารพิษจากร่างกายและฟื้นจากอาการไข้ได้เร็วขึ้น
- ทานอาหารอ่อน ๆ ย่อยง่าย เน้นผัก ผลไม้ อาหารมีโปรตีนสูง วิตามินซี หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด อาหารทอด อาหารมัน อาหารมีไขมันสูง อาหารทำให้เกิดอาการไอมากขึ้นก็ควรงดด้วย
- หลีกเลี่ยงสัมผัสใกล้ชิดกับผู้อื่น เช่น กอด จูบ ใช้ของส่วนตัวร่วมกัน
- เช็ดตัวด้วยน้ำอุ่น ช่วยลดไข้ได้ โดยใช้น้ำอุ่นเช็ดตามร่างกาย เช่น หน้าผาก รักแร้ ขาหนีบ หรือประคบเย็น ช่วยลดไข้จากอาการไข้หวัดใหญ่ได้ โดยใช้ผ้าชุบน้ำเย็น ประคบหน้าผาก
- ควรรับประทานยาแก้ไข้หวัดใหญ่ตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เป็นวิธีรักษาอาการไข้หวัดใหญ่ให้หายเร็วขึ้น โดยกินยาให้ตรงตามเวลา ขนาด ตามแผนการรักษาตามแพทย์สั่ง
- รักษาสุขอนามัยของตนเอง ล้างมือให้สะอาดบ่อยๆ ด้วยน้ำ และสบู่ หรือใช้เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ ช่วยป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไข้หวัดใหญ่
- สวมหน้ากากอนามัย เมื่อต้องอยู่ใกล้ชิดผู้อื่น ช่วยป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
- ดื่มน้ำสมุนไพร เช่น น้ำขิง น้ำมะนาว น้ำเก็กฮวย ช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอ ไอ
- งดบุหรี่ หลีกเลี่ยงควันบุหรี่ เพราะเป็นสาเหตุให้อาการของไข้หวัดใหญ่รุนแรงขึ้นได้
วิธีป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่
ป้องกันอาการไข้หวัดใหญ่สามารถทำได้ โดยปฏิบัติตามขั้นตอนและมาตรการเหมาะสม เพื่อลดโอกาสติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ซึ่งรวมถึง
- ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่เป็นวิธีดีที่สุดป้องกันภาวะติดเชื้อ ควรฉีดวัคซีนทุกปี โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ ผู้มีโรคประจำตัว ซึ่งสามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไป
- ล้างมืออย่างสม่ำเสมอโดยใช้สบู่ และเจลล้างมือ โดยเฉพาะหลังสัมผัสผิวหน้า หลังใช้ห้องน้ำ หลังสัมผัสวัตถุอาจมีเชื้อโรค หรือก่อนรับประทานอาหาร
- หลีกเลี่ยงอยู่ใกล้ชิดกับผู้มีอาการไข้หวัดใหญ่ ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
- ดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ ทานอาหารมีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอและออกกำลังกายเป็นประจำ
- สวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ในที่แออัดหรือมีคนเยอะ เช่น ในพื้นที่สาธารณะหรือในระหว่างเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ
สรุปเกี่ยวกับอาการไข้หวัดใหญ่
ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคติดต่อเกิดจากเชื้อไวรัส ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ อาการไข้หวัดใหญ่หลัก ๆ คือ ไข้สูงเฉียบพลัน หนาวสั่น ปวดเมื่อยตามตัว รุนแรงกว่าไข้หวัดธรรมดา อาจทำให้เสียชีวิตได้ สิ่งสำคัญที่สุดทุกคนควรฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทุกปีเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันอย่างต่อเนื่อง จะได้ทำให้มีสุขภาพแข็งแรง ปลอดภัยจากโรคใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข