ต่อพ.ร.บ.รถยนต์ใช้เอกสารอะไรบ้าง? พร้อมสรุปค่าใช้จ่ายล่าสุด
การต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก เพียงเช็กให้แน่ใจว่าต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ใช้เอกสารอะไรบ้าง และเตรียมค่าใช้จ่ายให้พร้อม
ผู้ใช้รถส่วนใหญ่ย่อมทราบดีว่า พ.ร.บ. รถยนต์ถือเป็นสิ่งสำคัญที่รถทุกคันต้องมี เพราะนอกจากจะเป็นสิ่งยืนยันว่ารถของคุณสามารถใช้ขับขี่บนท้องถนนได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ยังให้ความคุ้มครองเบื้องต้นเมื่อเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนอีกด้วย แต่ยังมีผู้ใช้รถบางคนที่ไม่ให้ความสำคัญและคิดว่าการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์เป็นเรื่องยุ่งยากจึงละเลยไม่ได้ไปต่อ ทั้งที่ความจริงแล้วแค่เตรียมเอกสารต่าง ๆ ให้พร้อมก็ต่อได้ง่าย ๆ ซึ่งวันนี้เราจะพาไปดูว่าต่อพ.ร.บ. รถยนต์ใช้เอกสารอะไรบ้างและเสียค่าใช้จ่ายเท่าไหร่
ทำไมถึงต้องต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ทุกปี
ก่อนจะไปดูว่า ต่อพ.ร.บ.รถยนต์ใช้เอกสารอะไรบ้างลองมาดูสาเหตุว่าทำไมคุณถึงต้องต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ทุกปี นั่นเพราะพ.ร.บ.รถยนต์มีอายุเพียงแค่ 1 ปีเท่านั้น เมื่อหมดอายุแล้วความคุ้มครองต่าง ๆ ก็จะหมดไปด้วย อีกทั้งรถยนต์ที่ไม่มี พ.ร.บ. จะไม่สามารถต่อภาษีรถยนต์ประจำปีได้ และจะมีสถานะเป็นรถเถื่อนผิดกฎหมายทันที การใช้งานรถยนต์ที่ไม่มี พ.ร.บ. ถือเป็นความผิดตามกฎหมาย ต้องระวางโทษดังต่อไปนี้
- เจ้าของรถที่ไม่มี พ.ร.บ. มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท
- ผู้ใช้รถที่ไม่มี พ.ร.บ. มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท
- กรณีที่เจ้าของรถที่ไม่มี พ.ร.บ. นำรถคันนั้นไปใช้จะมีความผิดทั้ง 2 กระทง มีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 20,000 บาท
ดังนั้นหากไม่อยากเสียทั้งเวลาเสียทั้งเงินอย่าลืมไปต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ตามกำหนดทุกปี
ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ใช้เอกสารอะไรบ้าง
ใครที่กำลังจะไปต่อ พ.ร.บ. รถยนต์แต่ยังไม่แน่ใจว่า ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ใช้เอกสารอะไรบ้าง เราได้หาข้อมูลมาให้แล้ว โดยเอกสารที่ต้องใช้มีดังนี้
- บัตรประจำตัวประชาชนหรือเอกสารประจำตัวอื่น ๆ (ตัวจริงหรือสำเนาก็ได้)
- เล่มทะเบียนรถ (ตัวจริงหรือสำเนาก็ได้)
- เอกสาร พ.ร.บ. ฉบับเดิม
แต่หากต่อ พ.ร.บ. ออนไลน์อย่างเช่นที่เว็บไซต์ insurverse ไม่จำเป็นต้องใช้เอกสารอะไร และแม้ไม่ใช่เจ้าของรถก็สามารถต่อได้ เพียงกรอกข้อมูลรถและข้อมูลเจ้าของรถให้ถูกต้องก็สามารถต่อ พ.ร.บ. ออนไลน์ได้ทันที
ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์เสียค่าใช้จ่ายเท่าไหร่
เมื่อทราบกันแล้วว่า ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ใช้เอกสารอะไรบ้าง ต่อไปเราลองมาดูตัวเลขค่าใช้จ่ายในการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์กันบ้าง โดยค่าใช้จ่ายจะแตกต่างกันตามประเภทและขนาดของรถ นอกจากนี้บริษัทประกันที่รับต่อ พ.ร.บ. แต่ละแห่งก็อาจจะคิดค่าต่อ พ.ร.บ. มากน้อยไม่เท่ากัน ซึ่งวันนี้เราขออ้างอิงราคา พ.ร.บ. ของรถแต่ละประเภทจากเว็บไซต์ insurverse บริษัทประกันออนไลน์ที่มี พ.ร.บ. จำหน่ายด้วย โดยมีรายละเอียดดังนี้
- รถเก๋ง รถกระบะ 4 ประตู และรถตู้ไม่เกิน 7 ที่นั่ง ราคา พ.ร.บ. 499 บาท
- รถกระบะ 2 ประตู ราคา พ.ร.บ. 799 บาท
- รถตู้ ราคา พ.ร.บ. 999 บาท
ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ที่ไหนได้บ้าง
ปัจจุบันการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์สามารถทำได้หลายช่องทาง ซึ่งคุณสามารถต่อ พ.ร.บ. ล่วงหน้าได้ไม่เกิน 90 วัน ก่อนที่ พ.ร.บ. เดิมจะหมดอายุ โดยช่องทางการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์มีดังนี้
- กรมการขนส่งทางบก
- 7-Eleven ทุกสาขา
- ที่ทำการไปรษณีย์
- ห้างสรรพสินค้าที่มีการจำหน่าย พ.ร.บ. รถยนต์
- บริษัทประกันภัยออนไลน์
ทั้งหมดนี้คือรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ที่เรารวบรวมนำมาฝากกันในวันนี้ ใครที่สงสัยว่า ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ใช้เอกสารอะไรบ้าง และต้องเสียค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ก็น่าจะได้คำตอบกันแล้ว ซึ่งจะเห็นได้ว่าการต่อ พ.ร.บ. ไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก แต่สิ่งสำคัญคือต้องไม่ลืมต่อ พ.ร.บ. เป็นประจำทุกปี เพื่อสร้างความคุ้มครองทั้งต่อตัวคุณเองและผู้ใช้รถใช้ถนนคนอื่น ๆ รวมถึงเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายในฐานะประชาชนชาวไทยอีกด้วย















