เขียนแผนธุรกิจ สิ่งสำคัญที่ทุกธุรกิจต้องใส่ใจและไม่ควรมองข้าม
เขียนแผนธุรกิจ เต็มไปด้วยหลายองค์ประกอบและขั้นตอนที่สำคัญซึ่งส่งผลต่อรากฐานในการทำธุรกิจที่ดี ซึ่งจะประกอบไปด้วยอะไรบ้าง เรารวมไว้ให้แล้วในบทความนี้
หนึ่งในส่วนที่เป็นเหมือนรากฐานในการกำหนดทิศทางของธุรกิจคือการเขียนแผนธุรกิจที่เหมาะสมและตอบโจทย์ต่อการทำธุรกิจรูปแบบนั้น ๆ ซึ่งหากเราไม่สามารถเขียนแผนธุรกิจได้ครอบคลุม มีการวางขั้นตอนการเขียนแผนธุรกิจที่ไม่ถูกต้อง หรือไม่มีการกำหนดเป้าหมายอย่างชัดเจน ก็ไม่อาจได้เห็นการพัฒนาหรือการเติบโตที่ดีและนำไปสู่ความสำเร็จ.ในการทำธุรกิจได้
สำหรับบทความนี้ผมจะพาไปทำความรู้จักว่าการเขียนแผนธุรกิจที่ดีตามวัตถุประสงค์เป็นอย่างไร พร้อมเผยเคล็ดลับ 7 ขั้นตอนวิธีเขียนแผนธุรกิจที่สามารถนำไปสู่ความสำเร็จให้กับธุรกิจของเราได้ ซึ่งจะมีขั้นตอนเป็นอย่างไร แล้วแต่ละขั้นตอนมีอะไรบ้าง มาศึกษาไปพร้อมกันได้เลยครับ
แผนธุรกิจ คืออะไร มีความสำคัญมากแค่ไหน?
Business Plan หรือ เขียนแผนธุรกิจ คือ การสร้างแบบแผนเพื่อวางเส้นทางการเติบโตให้กับธุรกิจอย่างเหมาะสม ต้องมีการกำหนดวัตถุประสงค์ที่เป็นการวางเป้าหมายในการทำธุรกิจแต่ละช่วง เพื่อให้เราเดินตามเส้นทางที่วางไว้ และนำพาธุรกิจไปสู่ความสำเร็จได้ตามที่คาดหวัง ซึ่งถือในการเขียนแผนธุรกิจจะมีองค์ประกอบรวมภายใน ได้แก่ วางแผนทางการเงิน การบริหารงาน และการตลาด เป็นต้น
โดยจุดประสงค์หลักของเขียนแผนธุรกิจที่สำคัญ คือ การค้นหาเส้นทางและความเป็นไปได้ต่าง ๆ ที่ธุรกิจของเราจะสร้างการเติบโตได้อย่างยั่งยืน หากมีการเขียนแผนธุรกิจอย่างถูกต้อง ครอบคลุมทุกประเด็น ก็จะช่วยให้มีระบบการทำงานเพื่อพัฒนาองค์กรอย่างชัดเจน อีกทั้งยังช่วยดึงดูดกลุ่มนักลงทุนให้เข้ามาระดมทุนในธุรกิจของเราได้มากยิ่งขึ้นอีกด้วยครับ
7 ขั้นตอนเขียนแผนธุรกิจ ทำครบตามนี้ธุรกิจปังแน่นอน
เขียนแผนธุรกิจให้ดีและครอบคลุม ต้องประกอบไปด้วย 7 ขั้นตอนที่มีความสำคัญ เพื่อเป็นการกำหนดทุกช่องทางสำหรับเขียนแผนธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งผมได้รวบรวมวิธีการเขียนแผนธุรกิจ ตัวอย่างเพื่อให้ทุกคนได้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งแต่ละขั้นตอนจะประกอบไปด้วย ดังนี้ครับ
1. Business Idea แนวคิดของธุรกิจ
จุดเริ่มต้นของทุกสิ่งต้องมาจากแนวคิดสำหรับการทำธุรกิจ ซึ่งจะต้องทำความเข้าใจภาพรวมของธุรกิจเราเองเพื่อสร้างแนวคิดในการทำธุรกิจออกมาได้เป็นอย่างดี อีกทั้งการเขียนแนวคิดธุรกิจจะต้องประกอบไปด้วย 6 ส่วนสำคัญ ได้แก่
- ภาพรวมของธุรกิจ ที่เป็นการพูดถึงแนวคิดในการเริ่มธุรกิจ และความสำคัญในการทำธุรกิจของเรา
- การแข่งขันและโอกาส การพยากรณ์ว่าธุรกิจของเราจะสามารถอยู่รอดได้อย่างไร และมีการแข่งขันในรูปแบบไหนที่อาจเกิดขึ้นได้บ้าง
- กำหนดเป้าหมายทางธุรกิจ เพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาในแต่ละด้าน ที่เหมาะสมกับรูปแบบธุรกิจของเรา
- วางแผนกลยุทธ์ เพื่อกำหนดเส้นทางความเป็นไปได้ให้ธุรกิจของเราไปสู่เป้าหมาย เช่น การวางแผนการตลาด การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย เป็นต้น
- วางแผนลงทุน เพื่อกำหนดค่าใช้จ่ายที่มีความจำเป็นและต้องมีการใช้อย่างต่อเนื่อง เพื่อการนำเงินทุนที่มีมาใช้อย่างคุ้มค่า
- กำหนดผลตอบแทนที่ได้ว่าเรามีโอกาสทำกำไรได้มากน้อยแค่ไหน สามารถสร้างยอดขายได้เท่าไหร่ ฯลฯ ด้วยการพิจารณาจากทรัพยากรที่มี
2. Business Background กำหนดจุดเริ่มต้น
การกำหนดจุดเริ่มต้นทางธุรกิจถือเป็นขั้นตอนเขียนแผนธุรกิจที่สำคัญ แม้หลายคนอาจมองว่ากลุ่มเป้าหมายคงไม่ได้ให้ความสำคัญหรือใส่ใจอะไรมากมาย แต่การเล่าความเป็นมาจะเป็นตัวช่วยให้กลุ่มเป้าหมายได้เห็นถึงความตั้งใจส่งมอบสิ่งดี ๆ ให้กับกลุ่มลูกค้า รวมไปถึงยังได้อธิบายคุณภาพของสินค้า การบริการ และข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
3. Business Analysis วิเคราะห์ภาพรวมธุรกิจ
เมื่อกำหนดได้ทั้งแนวคิดและจุดเริ่มต้นในการทำธุรกิจ ขั้นตอนเขียนแผนธุรกิจที่สำคัญต่อมาคือการวิเคราะห์ภาพรวมของธุรกิจ ให้เราได้เข้าใจภาพรวมของตัวเองว่ามีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง อีกทั้งยังเป็นการนำข้อมูลเหล่านี้ไปพัฒนาสินค้าหรือองค์กรให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งสามารถวิเคราะห์ภาพรวมธุรกิจได้จากการใช้เครื่องมือ SWOT Analysis เข้ามาช่วยเหลือ โดยจะประกอบไปด้วย
- Strengths เป็นการกำหนดจุดแข็งหรือจุดเด่นของธุรกิจที่เราดำเนินอยู่
- Weakness เป็นการกำหนดจุดด้อยหรือจุดอ่อนที่เราต้องพัฒนา
- Opportunity เป็นการมองหาโอกาสจากปัจจัยภายนอกในการเข้ามาช่วยให้ธุรกิจเติบโต
- Threat เป็นการมองหาอุปสรรคจากปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อการทำธุรกิจ
4. Marketing Plan การวางแผนการตลาด
เราจะสามารถเริ่มวางแผนการตลาดได้ เราต้องทำความเข้าใจถึงภาพรวมธุรกิจของเราอย่างครบถ้วน เพื่อการมองหาวิธีการที่เหมาะสมและตอบโจทย์ในการทำธุรกิจของเรามากที่สุด อีกทั้งยังเป็นการกำหนดรูปแบบการผลิตสื่อโฆษณาที่เราต้องใช้เพื่อการเจาะกลุ่มเป้าหมายได้อย่างถูกจุดและครอบคลุม ซึ่งเครื่องมือที่ผมแนะนำให้เข้ามาช่วยวางแผนการตลาดคือ 8P Marketing Mix ที่ถูกพัฒนาขึ้นจากอดีตเพื่อรองรับกับการทำธุรกิจในปัจจุบัน
5. Operation Plan วางแผนดำเนินงาน
เป็นขั้นตอนเขียนแผนธุรกิจเพื่อกำหนดการผลิตสินค้าและบริการ ซึ่งต้องมีการตั้งเป้าหมายในการผลิต มองหาแหล่งวัตถุดิบที่คุ้มค่า และรูปแบบการผลิตเพื่อให้ได้สินค้าตามเสปคและคุณภาพที่เราตั้งเป้าหมาย ซึ่งจะต้องมีการควบคุมทุกภาคส่วนอย่างมีคุณภาพ เพื่อให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพส่งไปถึงมือลูกค้าได้ตามเป้าหมาย
6. Financial Plan วางแผนการเงิน
ต้องมีการวางแผนต้นทุนที่สอดคล้องกับผลกำไรที่เราจะได้ เนื่องจากการทำธุรกิจจุดประสงค์หลักคือการสร้างยอดขายและกำไรที่ค่อย ๆ เติบโตขึ้นทีละน้อย ซึ่งอาจจะต้องมีการกำหนดจำนวนเงินทุนที่เหมาะสม การกำหนดระยะเวลาคืนทุน และการกำหนดผลกำไรที่จะได้หลังจากนั้น เพื่อให้การทำธุรกิจของเราไม่สูญเงินเปล่าโดยที่ไม่ได้อะไรกลับมา
7. Emergency Plan การวางแผนสำรอง
เขียนแผนธุรกิจที่ดีจะต้องมีทั้งแผนหลักและแผนสำรอง เผื่อในกรณีที่การทำธุรกิจของเราไม่เป็นไปตามที่คาดการไว้ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีปัญหาหลักมาจากการเปลี่ยนแปลงของตลาดหรือความต้องการของผู้บริโภค การเข้ามาของคู่แข่งหน้าใหม่ หรือแม้แต่เรื่องของเศรษฐกิจที่ตกต่ำ ซึ่งหากมาแผนสำรองรับมือกับสถานการณ์เหล่านี้ก็จะเป็นตัวช่วยอย่างดีให้ธุรกิจของเรายังดำเนินต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง
เขียนแผนธุรกิจให้ถูกจุด เพื่อการเติบโตขององกรณ์อย่างมีประสิทธิภาพ
ขั้นตอนเขียนแผนธุรกิจที่สำคัญเต็มไปด้วยหลายองค์ประกอบที่ต้องใส่ใจและคำนึงถึง หากพลาดส่วนไหนไปก็อาจส่งผลต่อการทำธุรกิจอย่างต่อเนื่องในระยะยาว เนื่องจากไม่ได้มีการเตรียมแผนสำรอง หรือไม่ได้มีการวางกลยุทธ์การตลาดที่ดี หรือแม้แต่การที่เราไม่เข้าใจธุรกิจของเราตั้งแต่แรก ฉะนั้นก่อนการดำเนินธุรกิจ อย่าลืมใส่ใจเรื่องเขียนแผนธุรกิจด้วยนะครับ

















