รายการลดหย่อนภาษี อัพเดทล่าสุดข้อมูลที่คนไทยต้องรู้!
สำหรับมนุษย์เงินเดือนทั้งหลายที่จ่ายภาษีเป็นประจำ หรือต้องเริ่มจ่ายภาษีในรอบที่กำลังจะถึงนี้แล้วควรจะต้องรู้จักการลดหย่อนภาษีไว้ เพราะว่าการลดหย่อนภาษีจะช่วยผู้เสียภาษีทุกท่านให้สามารถวางแผนการเงินและลดภาษีที่จะต้องจ่ายได้ โดยมีหลากหลายวิธีลดหย่อนภาษีมาก โดยบทความนี้จะพาทุกท่านไปรู้ว่า อะไรสามารถลดหย่อนภาษีได้บ้าง
รู้รึยัง ลดหย่อนภาษีคืออะไร?
ลดหย่อนภาษี คือ สิทธิที่กฎหมายอนุญาตให้ผู้เสียภาษีสามารถนำค่าใช้จ่ายบางส่วนมาหักออกจากรายได้รวม เพื่อจ่ายภาษีให้น้อยลงได้ โดยการหักลดหย่อนภาษีเป็นวิธีที่รัฐใช้เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายเงินในภาคเอกชนโดยผู้ที่เสียภาษีจะสามารถลดหย่อนภาษีได้หลายรูปแบบ และสามารถคำนวณเงินภาษีสุทธิที่จะต้องจ่ายในต้นปีหน้าคร่าว ๆ ได้ดังนี้
เงินได้สุทธิ = (รายได้รวมต่อปี - ค่าใช้จ่าย) - ค่าลดหย่อน
ซึ่งเงินได้สุทธิคือค่าสุดท้าย ที่เราจะต้องจ่ายเป็นภาษีภายในต้นปีถัดไป (31 มีนาคม) หากมีการวางแผนภาษีที่รัดกุม และรอบคอบ จะช่วยให้เราสามารถจ่ายภาษีได้น้อยลง และวางแผนการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้นแล้ว ต่อไปจะบอกวิธีลดหย่อนภาษี รวมถึงว่าอะไรที่ลดหย่อนภาษีได้บ้าง
รายการลดหย่อนภาษี มีอะไรบ้างรายการไหนน่าสนใจ
สำหรับการลดหย่อนภาษีแบ่งออกได้เป็นหลายกลุ่ม และจะมีข้อจำกัดที่แตกต่างกัน โดยเกณฑ์ดังกล่าวจะเปลี่ยนแปลงไปทุกปี แนะนำให้ผู้เสียภาษีติดตามเกณฑ์ในการลดหย่อนภาษีอยู่เป็นประจำ
1. ค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัวและครอบครัว
- ค่าใช้จ่ายส่วนตัวลดหย่อนภาษีได้ 60,000 บาท : ข้อนี้ถือเป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้จ่ายในปีนั้น ๆ จะนำไปลดหย่อนภาษีได้เลย ไม่มีเงื่อนไขอื่น
- ค่าลดหย่อนภาษีคู่สมรสลดได้ 60,000 บาท : กรณีคล้ายกับค่าลดหย่อนส่วนตัว เป็นกรณีที่คู่สมรสไม่มีรายได้ และจดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฏหมาย จะสามารถนำมาขอลดหย่อนภาษีได้
- ลดหย่อนภาษีคลอดบุตร : สำหรับสตรีที่มีบุตรที่ฝากครรภ์หรือคลอดบุตรกับโรงพยาบาลทั้งรัฐและเอกชน จะสามารถนำค่าใช้จ่ายมาเป็นค่าลดหย่อนภาษีได้ตามจริง โดยไม่เกิน 60,000 บาท (หากเป็นคู่สมรส จะลดหย่อนได้ 1 คน)
- ค่าลดหย่อนของการเลี้ยงดู บิดา มารดา : สำหรับผู้เสียภาษีที่ต้องเลี้ยงดูบิดามารดา ไม่ว่าจะเป็นของตัวเอง หรือเป็นบิดามารดาของคู่สมรส สามารถลดหย่อนภาษีในการเลี้ยงดู ไม่เกินคนละ 30,000 บาทและไม่สามารถซ้ำกับพี่น้อง หรือ คู่สมรสได้
- การลดหย่อนภาษีผู้พิการ : สำหรับผู้พิการ หรือผู้อุปการะผู้พิการ จะสามารถรับการลดหย่อนภาษีได้คนละไม่เกิน 60,000 บาท
2. ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มประกัน เงินออม และการลงทุน
กลุ่มต่อมาเป็นกลุ่มภาษีประกัน เงินออม และการลงทุนต่าง ๆ เป็นกลุ่มที่สามารถใช้ในการลดหย่อยภาษีเพิ่มเติมได้ดีอีกกลุ่มหนึ่ง
- เงินประกันสังคม ลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 9,000 บาท
- เบี้ยประกันชีวิตและประกันแบบสะสมทรัพย์ ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 100,000 บาท
- เบี้ยประกันประเภทสุขภาพ ลดหย่อนได้ตามจริงไม่เกิน 25,000 บาท
- เบี้ยประกันสุขภาพของพ่อแม่ ลดหย่อนตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 15,000 บาท
- เงินที่ลงทุนในธุรกิจประเภทเพื่อสังคม ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 100,000 บาท
- กองทุนรวมเพื่อความยั่งยืน นำมาลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องจ่ายภาษี ไม่เกิน 300,000 บาท
- กองทุนรวมเลี้ยงชีพ หรือในชื่อ RMF นำมาลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ที่เสียภาษีตามจ่ายจริง ไม่เกิน 500,000 บาท
- กองทุนรวมเพื่อการออม นำมาลดหย่อนได้ 30% ของเงินเสียภาษีตามจ่ายจริง ไม่เกิน 200,000 บาท
- กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ นำมาลดหย่อนได้ 15% ตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 500,000 บาท
- เบี้ยประกันชีวิต บำนาญนำมาลดหย่อนภาษีได้ 15% ตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 200,000 บาท
ข้อมูลข้างต้นเป็นเพียงแค่หัวข้อ และเงินที่นำมาลดภาษีได้สูงสุดไม่เกินเท่าไหร่ แนะนำให้หาข้อมูลรายละเอียดของเงื่อนไขในแต่ละแบบอย่างถี่ถ้วนเพิ่มเติมว่ามีกรณีใดที่สามารถหักค่าลดหย่อนภาษีได้บ้าง เพื่อวางแผนการชำระภาษีให้ถูกต้องที่สุด
3. ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มเงินบริจาคต่าง ๆ
- เงินบริจาคทั่วไป นำมาลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักลดหย่อนภาษี
- เงินบริจาคอื่น ๆ ลดหย่อนได้ 2 เท่า ตามที่บริจาคจริงแต่จะต้องไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าลดหย่อนภาษี
- เงินบริจาคให้พรรคการเมือง นำมาลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท
4. ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล
- ค่าลดหย่อนภาษีจากการสร้างบ้านใหม่ ในปี 2567-2568 ลดหย่อนได้ 10,000 บาท จากการจ่ายค่าลดหย่อนตามจริงไม่เกิน 1 ล้านบาท และราคาบ้านต่อหลังไม่เกิน 10,000,000 บาท
ถ้าจะยื่นลดหย่อนสามารถยื่นลดหย่อนภาษีที่ไหนได้บ้าง ?
โดยปกติแล้วการยื่นลดหย่อนภาษีจะสามารถทำพร้อมกับการยื่นภาษีได้เลย กล่าวคือ เมื่อคุณต้องยื่นภาษี ไม่ว่าจะในรูปแบบ ภ.ง.ด 91 หรือ ภ.ง.ด. 90 นอกจากจะต้องยื่นหนังสือรับรองภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายแล้ว คุณต้องแนบรายการลดหย่อนภาษี ที่คุณทำไว้ในปีนั้น ๆ ไปพร้อมกันได้เลย ส่วนการกรอกข้อมูลต่าง ๆ ในการเสียภาษีปกติ ก็จะมีแบบฟอร์มให้กรอกในหัวข้อการหักลดหย่อนภาษีอยู่แล้ว ทำให้คุณสามารถยื่นภาษีและยื่นค่าลดหย่อนภาษีไปพร้อม ๆ กันได้เลย
โดยปกติแล้วการยื่นลดหย่อนภาษีสามารถทำได้ที่สำนักงานสรรพากรโดยตรง ทั้งสำนักงานใหญ่หรือสาขาที่ให้บริการ รวมถึงสามารถยื่นแบบออนไลน์ได้ ผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากรโดยตรง ซึ่งสามารถกรอกรายละเอียดและอัปโหลดข้อมูลต่าง ๆ ได้ โดยไม่ต้องไปที่สำนักงาน
สรุปเรื่องลดหย่อนภาษี และการเสียภาษี
การยื่นภาษีประจำปี เป็นสิ่งที่ผู้เสียภาษีอาจจะไม่ได้วางแผนอย่างรอบคอบ แต่หากทราบแล้วว่าต้องเสียภาษีในปีหน้าประมาณเท่าไหร่สามารถเริ่มวางแผนในการใช้ค่าลดหย่อนภาษีให้เกิดประโยชน์ได้ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลการลดหย่อน ต้องทราบว่ามีอะไรใช้ลดหย่อนภาษีได้บ้าง และเริ่มลงทุนหรือสมัครประกันต่าง ๆ โดยไม่ลืมที่จะเก็บหลักฐานในการดำเนินการทั้งหมดมาลดหย่อนในปีถัดไป
การวางแผนภาษีล่วงหน้า จะทำให้ผู้เสียภาษีสามารถคำนวณรายจ่ายที่จะเกิดขึ้นได้ แต่ถ้าหากรู้สึกว่าการวางแผนทางการเงินเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก และจุกจิกวุ่นวาย ลองใช้แอปพลิเคชันที่จะช่วยคุณจัดการเงิน ออมเงิน ให้เป็นระเบียบ ด้วยฟีเจอร์ต่าง ๆ มากมายและจะได้ไม่เสียภาษีมากเกินกว่าที่ควรจะเป็น



