เริม โรคติดต่อทางผิวหนังมีอาการอย่างไร วิธีป้องกัน และรักษาไม่ให้เป็นซ้ำ
หลายคนอาจเคยได้ยินชื่อโรคเริมแต่ไม่ทราบว่าเป็นโรคที่ใกล้ตัวกว่าที่คิด อาการเริมมักเกิดขึ้นแบบไม่ทันตั้งตัว และสร้างความรำคาญใจให้ผู้ป่วยไม่น้อย โดยเฉพาะในช่วงที่เริ่มมีอาการของเริมครั้งแรก ซึ่งหลายคนอาจไม่ทันสังเกตว่าเป็นโรคนี้ เนื่องจากเริมอาการเริ่มต้นมักมาในรูปแบบตุ่มใสหรือแผลเล็ก ๆ หากไม่ได้รับการดูแลที่ถูกต้อง อาการอาจลุกลามและกลับมาเป็นซ้ำได้บ่อยครั้ง
โรคเริม (Herpes simplex) คืออะไร?
เริมเป็นโรคติดต่อ ที่เกิดจากการสัมผัสบุคคลที่เป็นเริม ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเฮอร์ปีส์ ซิมเพล็กซ์ (Herpes Simplex Virus หรือ HSV) แบ่งออกเป็นสองชนิด ชนิดแรกเป็นเริมที่ปากหรือใบหน้า และชนิดที่สองเป็นเริมที่อวัยวะเพศ อาจไม่แสดงอาการในทันที แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะรู้สึกไม่สบายตัวและกังวลใจ จึงควรมีการเรียนรู้เกี่ยวกับโรคเริมเพื่อป้องกันการแพร่กระจายและป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำอีก
อาการของโรคเริมในผู้ชายและผู้หญิง
เริมเกิดจากเชื้อไวรัส เป็นเชื้อติดต่อกันได้ทางการสัมผัสหรือการมีสัมพันธ์ทางเพศ ซึ่งมีสองสายพันธุ์หลัก คือ HSV-1 และ HSV-2 ส่งผลให้เกิดตุ่มน้ำและแผลที่บริเวณปากหรืออวัยวะเพศ อาการเริมมักมีความรุนแรงและลักษณะที่แตกต่างกันในแต่ละเพศ ทำให้การดูแลและรักษาจำเป็นต้องคำนึงถึงลักษณะเฉพาะของแต่ละเพศเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
- โรคเริมในผู้ชาย มักเกิดที่อวัยวะเพศหรือขาหนีบ เริมอาการเริ่มต้นคือมีตุ่มน้ำเล็ก ๆ และแตกออกเป็นแผลเปื่อย ทำให้มีอาการคัน บางรายมีไข้ ปวดเมื่อยตามตัว หรือปวดบริเวณขาหนีบ นอกจากนี้ การปัสสาวะอาจรู้สึกเจ็บปวด เนื่องจากแผลบริเวณอวัยวะเพศ หากไม่ได้รับการรักษา จะกลับมาเป็นซ้ำได้
- โรคเริมในผู้หญิง มักเกิดที่อวัยวะเพศภายนอก ปากมดลูก หรือรอบทวารหนัก โดยเริมอาการเริ่มต้นคือมีตุ่มน้ำใสเมื่อแตก จะกลายเป็นแผลเปื่อย อาจมีอาการคัน แสบร้อน และเจ็บในขณะปัสสาวะหรือมีเพศสัมพันธ์ อาจมีไข้ ปวดศีรษะ หรือปวดท้องน้อยร่วมด้วย ทั้งยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อในระบบสืบพันธุ์
โรคเริมมีกี่ชนิด และเกิดมาจากสาเหตุอะไร?
โรคเริมเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเฮอร์ปีส์ซิมเพล็กซ์ (Herpes Simplex Virus) ซึ่งแบ่งออกเป็นสองชนิดหลัก คือ HSV-1 และ HSV-2 โดยแต่ละชนิดมีลักษณะการแพร่กระจายและอาการที่แตกต่างกัน การติดเชื้อมักเกิดจากการสัมผัสโดยตรงกับผู้ที่มีเชื้อ หรือใช้สิ่งของร่วมกันกับผู้ติดเชื้อ โดยเฉพาะในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ โรคนี้สามารถเกิดได้ในทุกช่วงวัยและไม่มีข้อจำกัดด้านเพศ ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ต่างก็มีความเสี่ยง
Herpes simplex virus type I
เริมที่ปากเกิดจากไวรัสชนิดนี้ ซึ่งทำให้เกิดแผลเริมเป็นหนองที่บริเวณปากและใบหน้า การติดเชื้อ HSV-1 สามารถแพร่กระจายได้ง่ายจากกิจกรรมในชีวิตประจำวันผ่านการสัมผัสหรือใช้สิ่งของร่วมกันกับผู้ที่ติดเชื้อ ซึ่งเริมอาจเกิดขึ้นได้จากกิจกรรมต่าง ๆ ที่ไม่ระมัดระวัง
สาเหตุ
- การสัมผัสใบหน้าหรือจูบกับผู้ติดเชื้อ
- การใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น แก้วน้ำ ช้อนส้อม หรือผ้าขนหนู
- การแบ่งปันลิปสติก หรือเครื่องสำอางที่ใช้กับริมฝีปาก
- การทำรักด้วยปาก (Oral sex) กับผู้ที่มีเชื้อไวรัส ซึ่งสามารถแพร่เชื้อไปยังอวัยวะเพศได้
Herpes simplex virus type II
HSV-2 ทำให้เกิดเริมที่อวัยวะเพศ การติดเชื้อสามารถเกิดขึ้นได้จากการมีเพศสัมพันธ์หรือการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่ติดเชื้อ ซึ่งสามารถแพร่เชื้อได้หลากหลายวิธีที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางเพศและการสัมผัสผิวหนัง ส่งผลให้เกิดเริมที่อวัยเพศชายและเริมที่อวัยเพศหญิง
สาเหตุ
- การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย ไม่ว่าจะเป็นทางช่องคลอดหรือทางทวารหนัก
- การทำออรัลเซ็กส์ หรือรับการออรัลจากผู้ติดเชื้อ
- การสัมผัสเนื้อแนบเนื้อ แม้ไม่มีการหลั่ง ก็สามารถแพร่เชื้อได้
- การสัมผัสแผล หรือตุ่มพองที่มีเชื้อไวรัส
- การคลอดบุตรจากแม่ที่ติดเชื้อ ซึ่งอาจทำให้ทารกได้รับเชื้อระหว่างการคลอด
- การใช้ของเล่นทางเพศ (Sex toys) ร่วมกับผู้ที่ติดเชื้อโดยไม่มีการทำความสะอาด
วิธีรักษาอาการของโรคเริม
โรคเริมวิธีรักษาสามารถทำได้ทันทีเมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเริม เพื่อหยุดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส HSV หากได้รับการรักษาตั้งแต่ช่วงแรกที่มีอาการเริม จะช่วยลดการอักเสบ และป้องกันไม่ให้แผลลุกลามได้ รวมถึงมีอาการปวดหรือไม่ไข้ โดยการรักษาโรคเริมประกอบด้วยยาหลัก ๆ ดังนี้
- ยาระงับอาการเจ็บปวด เช่น พาราเซตามอล (Paracetamol) และไอบูโปรเฟน (Ibuprofen) ที่ช่วยลดอาการปวดและอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อ
- ยาต้านไวรัส HSV ได้แก่ อะไซโคลเวียร์ (Acyclovir) ที่ช่วยยับยั้งไวรัสและกระตุ้นการหายของแผล แฟมไซโคลเวียร์ (Famciclovir) ที่ช่วยลดการขยายตัวของไวรัส และวาลาไซโคลเวียร์ (Valacyclovir) ที่ช่วยป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ
- ยาต้านการอักเสบ เช่น ไอบูโปรเฟน (Ibuprofen) ที่ช่วยลดการอักเสบและบรรเทาความเจ็บปวด
- ยาทาเริมเพื่อบรรเทาอาการ เช่น เบนโซเคน (Benzocaine) ที่ช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น ไลซีน (L-lysine) ที่ช่วยลดการระบาดของเชื้อ และ โดโคซานอล (Docosanal) ที่ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ
หากสงสัยว่าเป็นโรคเริมควรทำอย่างไร?
หากสงสัยว่าอาจเป็นโรคเริมหรือมีความเสี่ยงจากการสัมผัสกับผู้ที่มีอาการ ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยโดยเร็วที่สุด แพทย์จะสอบถามประวัติอาการและอาจทำการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจเลือดหรือการเก็บตัวอย่างจากแผลเพื่อยืนยันการติดเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของเริม การวินิจฉัยที่แม่นยำช่วยให้การรักษาเป็นไปอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เริม หากสงสัยว่าเป็น ควรพบแพทย์ เพื่อวินิจฉัยและรักษาทันที
โรคเริมเป็นโรคที่เกิดจากไวรัส HSV ซึ่งสามารถติดต่อได้จากการสัมผัสแผลหรือการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ติดเชื้อ หากมีอาการเริม เช่น อาการคัน เริ่มมีแผลเริมเป็นหนองที่ปากหรืออวัยวะเพศ ควรไปพบแพทย์ทันทีเพื่อรับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง แพทย์จะทำการตรวจและให้การรักษาอย่างเหมาะสม การรักษาแต่เนิ่น ๆ จะช่วยลดอาการเจ็บปวดและป้องกันไม่ให้แผลเริมลุกลามไปมากขึ้น