ต้อกระจก คืออะไร รู้จักกับอาการของโรคและปัจจัยที่ควรระวัง
ต้อกระจก เป็นโรคตาที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ เกิดจากเลนส์ตาที่ค่อยๆ ขุ่นมัว ทำให้สายตามองเห็นไม่ชัดเจนเหมือนเดิม เป็นเหมือนการมีฝ้าบังตา ทำให้ชีวิตประจำวันลำบากขึ้น
เมื่อเริ่มเข้าสู่ช่วงวัยสูงอายุ ร่างกายของเราจะเริ่มเสื่อมถอยลงตามกาลเวลา รวมถึงการเกิดโรคภัยต่าง ๆ ที่มักมาพร้อมกับวัยที่เพิ่มขึ้น หนึ่งในโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุคือ ต้อกระจก ซึ่งผู้ป่วยภาวะต้อกระจกจะมีอาการที่ส่งผลทำให้เลนส์ตาขุ่นมัว ทำให้การมองเห็นลดลงอย่างช้า ๆ โดยไม่ทันสังเกต ถือเป็น "ภัยเงียบ" ที่สามารถเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และหากไม่ได้รับการดูแลรักษาต้อกระจกอย่างเหมาะสมจะส่งผลกระทบต่อดวงตาระยะยาวและการใช้ชีวิต
ต้อกระจก คืออะไร?
ต้อกระจก คือ โรคที่เกี่ยวกับดวงตาซึ่งเกิดจากภาวะที่เลนส์แก้วตาขุ่น ทำให้แสงผ่านเลนส์เข้าไปยังจอประสาทตาได้น้อยลง ส่งผลให้การมองเห็นของผู้ป่วยลดลง โดยเฉพาะในสถานที่ที่มีแสงน้อยหรือในเวลากลางคืน ต้อกระจกอาการเริ่มต้น ผู้ป่วยอาจสังเกตเห็นภาพมัว สีจืดลง หรือมองเห็นแสงจ้าเกินไปเมื่อต้องเผชิญกับแสงแดดจัด หากปล่อยไว้นานโดยไม่ได้รับการรักษา ต้อกระจกอาจรุนแรงขึ้นจนถึงขั้นสูญเสียการมองเห็นในที่สุด
รู้ก่อนเสี่ยง! อาการของโรคต้อกระจกเป็นยังไง
ต้อกระจกเป็นโรคที่เกี่ยวกับดวงตาซึ่งพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ เกิดจากเลนส์แก้วตาขุ่นมัว ส่งผลให้แสงไม่สามารถผ่านไปยังจอประสาทตาได้อย่างเต็มที่ อาการต้อกระจกในผู้ป่วยมักจะมีปัญหาในการมองเห็นที่แย่ลงตามลำดับ และอาการจะแย่ลงเรื่อย ๆ ถ้าไม่ทำการรักษาโรคต้อกระจก โดยอาการของโรคต้อกระจก ดังนี้
- มองเห็นไม่ชัดเจน เหมือนมองผ่านหมอกหรือฟิล์มบาง ๆ
- มองเห็นสีจางลงหรือสีเปลี่ยนไปจากเดิม
- มองเห็นภาพซ้อน ๆ กัน
- การมองเห็นในที่แสงจ้า หรือในเวลากลางคืนแย่ลง
- ช่วงเวลาตอนกลางคืน ผู้ป่วยจะมองเห็นแสงไฟกระจายตอนขับรถ
- ลักษณะตรงกลางรูม่านตาจะมองเห็นฝ้าขุ่นสีขาว
สาเหตุของโรคต้อกระจก
โดยส่วนใหญ่ต้อกระจกเกิดจากความเสื่อมของโปรตีนซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของเลนส์แก้วตา เมื่อเลนส์ตาเสื่อมสภาพ โปรตีนเหล่านี้จะจับตัวกันจนทำให้เลนส์ขุ่นมัว ส่งผลให้การมองเห็นลดลง สาเหตุหลักมักจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป และยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่ก่อให้เกิดต้อกระจก โดยที่ทำให้ตาเป็นต้อกระจก ดังนี้
- อายุที่เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากโครงสร้างโปรตีนของดวงตาเสื่อม จนทำให้เกิดเป็นโรคต้อกระจกในผู้สูงอายุได้ง่าย
- การได้รับแสงแดดมากเกินไป เนื่องจากแสงแดดมีรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) ที่สามารถทำลายเซลล์และโปรตีนในเลนส์ตาได้
- โรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน ซึ่งทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดต้อกระจกได้เร็วกว่าปกติ
- อาการบาดเจ็บที่ดวงตา เช่น อุบัติเหตุต่าง ๆ เมื่อดวงตาได้รับการกระทบกระเทือนจากอุบัติเหตุ มีความเสี่ยงสูงที่จะทำให้เกิดต้อกระจกที่ดวงตา
- สูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ เป็นตัวกระตุ้นที่เพิ่มความเสี่ยงในการทำให้เลนส์ตาเสื่อมสภาพ
- พันธุกรรม ถ้าหากคนในครอบครัวเคยมีประวัติโรคต้อกระจกอาจเพิ่มโอกาสการเกิดโรคต้อกระจกมากกว่าครอบครัวที่ไม่มีประวัติ
วิธีการป้องกันและลดความเสี่ยงการเป็นโรคต้อกระจก
โรคต้อกระจกสามารถเกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติเมื่ออายุมากขึ้น แต่ยังมีหลายวิธีที่สามารถช่วยป้องกันและชะลอการเกิดเป็นต้อกระจกตาได้ ซึ่งวิธีการป้องกันและลดความเสี่ยงการเป็นโรคต้อกระจก ดังนี้
- ปกป้องดวงตาจากแสงแดด เช่น สวมใส่แว่นกันแดด กางร่ม ใส่หมวก จะสามารถป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลต (UV)
- เลิกสูบบุหรี่และลดการดื่มแอลกอฮอล์
- ควบคุมโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ปลา ไข่แดง ผักใบเขียว
- พักสายตาอย่างสม่ำเสมอ เช่น หลีกเลี่ยงมองโทรศัพท์เป็นเวลานาน
- ควรตรวจสุขภาพตาประจำปีอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
วิธีรักษาอาการโรคต้อกระจก
วิธีรักษาต้อกระจกสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 วิธีหลัก ซึ่งการเลือกใช้วิธีการรักษาต้อกระจกนั้นจะขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการต้อกระจกในแต่ละบุคคล โดยแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาและตัดสินใจเลือกแนวทางที่เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย โดนรายละเอียดวิธีรักษาอาการโรคต้อกระจก ดังนี้
- รักษาต้อกระจกโดยไม่ผ่าตัด ซึ่งแพทย์จะแนะนำให้สวมใส่แว่นสายตา เพื่อปรับค่าสายและรักษาตามอาการไปก่อน
- รักษาต้อกระจกโดยการผ่าตัด ซึ่งจะสามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบ เช่น
- ผ่าตัดสลายต้อกระจกด้วยเครื่องสลายต้อ (Phacoemulsification with Intraocular Lens) เป็นวิธีผ่าต้อกระจกที่ได้รับความนิยม โดยเปิดแผลเล็กเพียง 3–5 มิลลิเมตร แพทย์จะใช้เครื่องมือที่ส่งพลังงานอัลตราซาวนด์ความถี่สูงสลายเลนส์ตาที่ขุ่น จากนั้นใส่เลนส์แก้วตาเทียมแทน ข้อดีคือแผลเล็ก ไม่ต้องเย็บแผล ฟื้นตัวเร็ว
- การผ่าตัดต้อกระจกแบบเปิดแผลกว้าง (Extracapsular Cataract Extraction with Intraocular Lens) วิธีการรักษาต้อกระจกที่เหมาะสำหรับต้อกระจกที่สุกและแข็งมาก แพทย์จะเปิดแผลบริเวณตาส่วนบนเพื่อเอาเลนส์ตาที่ขุ่นออก แล้วใส่เลนส์ตาเทียมแทน จากนั้นเย็บปิดแผลด้วยไหม
ต้อกระจกที่ดวงตา รีบรักษาก่อน
ต้อกระจกเป็นโรคของดวงตาที่มักพบในผู้สูงอายุ ตั้งแต่อายุ 50 ปีขึ้นไป และสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้มีอาการของต้อกระจก แต่ก็สามารถลดความเสี่ยงได้ด้วยการดูแลสุขภาพดวงตา เช่น การป้องกันแสงแดด รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เลิกสูบบุหรี่ และตรวจสุขภาพตาเป็นประจำ
สำหรับผู้ที่เริ่มมีอาการต้อกระจก เช่น มองเห็นภาพมัว สีจางลง หรือมองเห็นแสงกระจาย ควรรีบปรึกษาจักษุแพทย์เพื่อประเมินอาการ หากพบว่าต้อกระจกมีความรุนแรง การรักษาต้อกระจกที่เหมาะสมเป็นการผ่าตัดและการผ่าต้อกระจกพักฟื้นจะใช้ระยะเวลาไม่นาน ก็จะสามารถปรับมามองเห็นปกติอีกครั้ง











