Ice Breaking กิจกรรมละลายพฤติกรรม ที่ทีม HR ต้องรู้!
Ice Breaking เป็นกิจกรรมที่ช่วยละลายพฤติกรรมของผู้เข้าร่วม จะช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีระหว่างคนในทีม ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพในการทำงานร่วมกันได้ ในยุคที่การทำงานเป็นทีมมีความสำคัญมากขึ้น การทำ Ice Breaking จึงกลายเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่จำเป็นสำหรับทุกคน ไม่ว่าจะเป็นในที่ทำงาน โรงเรียน หรือแม้แต่ในกลุ่มเพื่อน เพราะการละลายพฤติกรรมเปรียบเสมือนการสร้างพื้นที่ปลอดภัย ให้ทุกคนได้แสดงออกและแบ่งปันความคิดเห็น ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างสรรค์นวัตกรรมภายในองค์กร และการแก้ไขปัญหาร่วมกัน การทำ Ice Breaking จึงไม่ใช่แค่เกมร่วมสนุกเฉยๆ แต่ยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในกลุ่มคน และช่วยให้พนักงานรู้จักกันมากขึ้น ช่วยให้การทำงานร่วมกันเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นนั่นเอง
Ice Breaking คืออะไร มีเป้าหมายเพื่ออะไร?
Ice Breaking คือ กิจกรรมละลายพฤติกรรมพนักงานที่ทุกองค์กรใช้ในการสร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลายและเป็นกันเองในกลุ่มคนที่ยังไม่คุ้นเคยกัน มีเป้าหมายหลักเพื่อลดความเกร็ง สร้างบรรยายกาศผ่อนคลาย เพิ่มการสื่อสาร และส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่างคนภายในกลุ่ม ซึ่งจะช่วยให้ผู้เข้าร่วมหรือพนักงานรู้จักกันมากขึ้น ลดความตึงเครียด และกระตุ้นพลังงานบวก การทำ Ice Breaking ยังช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีและการทำงานร่วมกันอย่างราบรื่น ทำให้ทุกคนสามารถทำงานหรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้อย่างเปิดเผยและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
6 กิจกรรม Ice Breaking ยอดฮิตที่ใครๆ ก็รู้จัก
เกมละลายพฤติกรรมหรือกิจกรรมใน Ice Breaking มีให้เลือกเล่นกันอย่างมากมาย ซึ่งหลายกิจกรรมเป็นที่รู้จักกันดี ยกตัวอย่างกิจกรรมสานสัมพันธ์ เช่น
1. เกมทายคำจากภาพวาด
ทายคำจากภาพวาด เป็นเกมที่ให้ผู้เล่นหนึ่งคนวาดภาพ เพื่ออธิบายคำหรือวลีที่กำหนดให้ โดยห้ามใช้คำพูดหรือสัญลักษณ์ชัดเจน วิธีการเล่น คือ ผู้เล่นคนหนึ่งจะได้รับคำหรือวลีแล้ววาดภาพบนกระดานหรือกระดาษเพื่อให้ทีมทายคำในเวลาที่กำหนด ทีมที่ทายถูกต้องภายในเวลาจะได้รับคะแนนไป ซึ่งเกม Ice Breaking รูปแบบนี้จะช่วยส่งเสริมการสื่อสารที่สร้างสรรค์และการคิดอย่างรวดเร็ว ทำให้ทุกคนหัวเราะและสนุกสนาน ช่วยสร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลายและเพิ่มความร่วมมือให้กับคนในทีม
2. เกมคำต้องห้าม
คำต้องห้าม เป็นเกมที่กำหนดให้ผู้เล่นสนทนาในหัวข้อหนึ่ง แต่ห้ามใช้คำบางคำที่เป็นคำต้องห้าม วิธีการเล่น คือ ผู้เล่นต้องพูดคุยกันในหัวข้อที่กำหนดโดยหลีกเลี่ยงคำต้องห้ามที่ถูกระบุไว้ หากผู้เล่นคนใดหลุดพูดคำต้องห้ามจะถูกลงโทษหรือออกจากเกม ซึ่งกิจกรรมกลุ่มรูปแบบนี้ช่วยเพิ่มความตื่นตัวในการสื่อสารอย่างระมัดระวัง และสร้างเสียงหัวเราะจากความพยายามที่จะไม่พูดคำที่ห้าม ทำให้บรรยากาศเป็นกันเองมากขึ้น
3. เกมใบ้คำหรือประโยคด้วยท่าทาง
ใบ้คำหรือประโยคด้วยท่าทาง เป็นเกมที่ให้ผู้เล่นใช้ท่าทางในการสื่อความหมายของคำ โดยไม่อนุญาตให้พูด วิธีการเล่น คือ ผู้เล่นจะได้รับคำหรือวลีแล้วใช้การแสดงท่าทางเพื่อให้ทีมทายคำ ทีมที่ทายถูกในเวลาที่กำหนดจะได้รับคะแนน ซึ่งกิจกรรมนี้กระตุ้นการใช้ทักษะทางกายภาพและการตีความ สร้างความสนุกสนานและเป็นกิจกรรมกระชับความสัมพันธ์ร่วมกันระหว่างคนในทีมที่ดีอีกด้วย
4. กิจกรรมทลายกำแพงด้วยคำถาม
คำถามทลายกำแพง เป็นกิจกรรม Ice Breaking สําหรับผู้ใหญ่ยอดฮิตที่ใช้คำถามที่ออกแบบมาเพื่อทำให้ผู้เล่นเปิดใจและรู้จักกันมากขึ้น มีวิธีการเล่น คือ ผู้เล่นแต่ละคนจะต้องตอบคำถามเชิงส่วนตัวหรือเชิงลึก เช่น “ถ้าคุณสามารถเลือกไปที่ไหนก็ได้ตอนนี้ คุณจะไปที่ไหน?” หรือ “สิ่งที่คุณภูมิใจที่สุดในชีวิตคืออะไร?” โดยกิจกรรมคำถามทลายกำแพงจะช่วยสร้างความเข้าใจและความคุ้นเคยระหว่างผู้เล่น ทำให้ผู้เข้าร่วมรู้จักกันมากขึ้นและเกิดความไว้วางใจกับคนในทีม
5. กิจกรรมบอกสิ่งที่ชื่นชอบ
บอกสิ่งที่ชื่นชอบ เป็นกิจกรรมแนะนำตัวที่เปิดโอกาสให้ผู้เล่นบอกสิ่งที่ตนชอบ เช่น งานอดิเรก หรือกิจกรรมที่ทำให้มีความสุข วิธีการเล่น คือ ผู้เล่นแต่ละคนจะบอกสิ่งที่ตนเองชอบ เช่น หนังสือที่โปรดปราน สถานที่ที่ชอบไป หรืออาหารที่ชอบกิน จากนั้นอาจให้เพื่อนในทีมแสดงความคิดเห็นหรือถามคำถามเพิ่มเติม โดยกิจกรรมนี้เป็นการเปิดเผยความชอบส่วนตัวช่วยสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจในทีม ผู้เข้าร่วมจะรู้จักกันมากขึ้นและทำให้เกิดการสนทนาเชิงบวกได้ด้วย
6. กิจกรรมขอ 1 ประโยค
ขอ 1 ประโยค เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เล่นแต่ละคนพูด 1 ประโยคที่สะท้อนความรู้สึกหรือความคิดของตัวเองในขณะนั้น วิธีการเล่น คือ ผู้เล่นทุกคนจะต้องพูดหนึ่งประโยคเกี่ยวกับความรู้สึก หรือสิ่งที่คิดอยู่ เช่น “ฉันรู้สึกตื่นเต้นกับโปรเจ็กต์นี้มาก” หรือ “ฉันชอบบรรยากาศของทีมเรา” โดยกิจกรรมนี้ช่วยส่งเสริมการแสดงออกอย่างเปิดเผย ช่วยให้ทีมเข้าใจกันดีขึ้น และสร้างความเชื่อมโยงทางอารมณ์ ทำให้ผู้เล่นรู้สึกสบายใจในการแสดงความคิดเห็นกับเพื่อนร่วมทีมในอนาคตได้
Ice Breaking มีประโยชน์อย่างไร? ทำไมทุกคนถึงควรเข้าร่วมกิจกรรม!
กิจกรรม Ice Breaking มีประโยชน์ในการสร้างสรรค์บรรยากาศที่ดี และส่งเสริมการทำงานร่วมกันในกลุ่มคน นอกจากนี้ยังมีข้อดีอื่นๆ อีก เช่น
- ช่วยลดความตึงเครียดและสร้างบรรยากาศที่เป็นกันเอง ทำให้ทุกคนรู้สึกสบายใจในการเริ่มต้นทำงานร่วมกัน
- ส่งเสริมการรู้จักและความคุ้นเคยกัน ทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมรู้จักกันมากขึ้น สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเพื่อนร่วมงานหรือผู้เข้าร่วมกลุ่ม
- ช่วยกระตุ้นให้ทุกคนในกลุ่มมีส่วนร่วมในการพูดคุยหรือทำกิจกรรม ไม่ปล่อยให้ใครคนใดคนหนึ่งถูกละเลย
- ช่วยให้ผู้เข้าร่วมฝึกทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในด้านการพูด การฟัง และการตีความ
- ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม เพราะในหลายกิจกรรม Ice Breaking ต้องการการทำงานร่วมกัน ทำให้เกิดการร่วมมือและการแก้ไขปัญหาร่วมกันภายในทีม
- กิจกรรม Ice Breaking มักจะเป็นกิจกรรมที่สร้างความสนุกและทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ส่งเสริมบรรยากาศที่ดีในการทำงานหรือการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
- ลดช่องว่างระหว่างคนในทีม ทำให้ผู้ที่ไม่ค่อยกล้าแสดงออกสามารถเปิดใจและเข้ากับกลุ่มได้ง่ายขึ้น ลดความรู้สึกห่างเหินระหว่างสมาชิก
- ช่วยให้ผู้เข้าร่วมรู้สึกมั่นใจมากขึ้นเมื่อพูดคุยหรือแสดงความคิดเห็นในกลุ่ม
- สร้างความเชื่อมั่นและไว้วางใจในทีม เพราะการที่ทุกคนเปิดใจและมีส่วนร่วม จะทำให้เกิดความเชื่อมั่นซึ่งกันและกัน ส่งเสริมการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพในอนาคตข้างหน้า
- เพิ่มพลังบวกและสร้างขวัญกำลังใจ ในกิจกรรม Ice Breaking มีเกมสนุกๆ มากมายที่สร้างเสียงหัวเราะและความสนุกสนาน ช่วยเพิ่มพลังงานบวกและทำให้ทุกคนรู้สึกดีกับการทำงานร่วมกันนั่นเอง
สรุป Ice Breaking กิจกรรมละลายพฤติกรรมระหว่างกลุ่มคน
Ice Breaking คือ กิจกรรมที่ใช้เพื่อละลายพฤติกรรม ช่วยลดความตึงเครียดและสร้างบรรยากาศที่เป็นกันเองในกลุ่มคนที่ยังไม่คุ้นเคยกัน โดยการทำ Ice Breaking มีเป้าหมายหลักคือ ทำให้ผู้เข้าร่วมรู้สึกผ่อนคลาย ส่งเสริมการรู้จักกัน เพิ่มการสื่อสาร ลดช่องว่างระหว่างสมาชิกในทีม สร้างความไว้วางใจต่อกัน และส่งเสริมการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งกิจกรรม Ice Breaking มักถูกใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น การประชุม การละลายพฤติกรรมก่อนอบรม หรือทำกิจกรรมกลุ่ม เป็นต้น