ฟิลเลอร์ปลอมคืออะไร? อันตรายไหม? มีข้อควรระวังอย่างไรบ้าง?
ฟิลเลอร์ปลอมคืออะไร? อันตรายไหม? มีข้อควรระวังอย่างไรบ้าง?
การฉีดฟิลเลอร์ (Filler) ได้รับความนิยมสูงมากในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นวิธีการเสริมความงามที่สามารถแก้ไขรูปทรงใบหน้า ลดเลือนริ้วรอย หรือเติมเต็มในจุดที่ต้องการโดยไม่ต้องผ่าตัด ฟิลเลอร์ที่ใช้ในปัจจุบันมีหลายประเภท แต่ฟิลเลอร์ชนิดที่ได้รับความนิยมและใช้กันอย่างแพร่หลายคือฟิลเลอร์ชนิดไฮยาลูรอนิกแอซิด (Hyaluronic Acid - HA) ซึ่งสามารถสลายได้เองตามธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม การฉีดฟิลเลอร์ในบางกรณีก็อาจเกิดความเสี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากใช้ “ฟิลเลอร์ปลอม” ที่ไม่ได้มาตรฐานและไม่ได้รับการรับรองทางการแพทย์
ฟิลเลอร์ปลอมคืออะไร?
ฟิลเลอร์ปลอม คือฟิลเลอร์ที่มีส่วนประกอบซึ่งไม่สามารถสลายได้ตามธรรมชาติ และมักผลิตจากสารเคมีที่อาจก่อให้เกิดการตกค้างใต้ผิวหนัง เช่น ซิลิโคนเหลวหรือพาราฟิน ซึ่งสารเหล่านี้มีคุณสมบัติที่แตกต่างจากฟิลเลอร์แท้ที่ใช้สาร HA ฟิลเลอร์ปลอมไม่ผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยา (อย.) หรือผลิตในสถานที่ที่ไม่ได้มาตรฐาน ทำให้เสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพในระยะยาว การนำเข้าฟิลเลอร์ปลอมมักกระทำอย่างผิดกฎหมาย และถูกจำหน่ายในราคาที่ถูกกว่า แต่เต็มไปด้วยความเสี่ยง เนื่องจากเราไม่สามารถมั่นใจได้ในแหล่งที่มาและส่วนประกอบของสารเหล่านี้ การฉีดฟิลเลอร์ปลอมอาจทำให้เกิดการอักเสบ บวมแดง การติดเชื้อ หรือแม้กระทั่งเกิดเนื้อตายบริเวณที่ฉีด
ความแตกต่างระหว่างฟิลเลอร์ปลอมและฟิลเลอร์หิ้ว
ฟิลเลอร์ปลอมมีลักษณะต่างจากฟิลเลอร์แท้ โดยมีคุณสมบัติที่ไม่สามารถสลายได้ตามธรรมชาติ และไม่ได้รับการรับรองจาก อย. ซึ่งมักผลิตจากสารที่ไม่ปลอดภัยเช่น ซิลิโคนเหลว, Polymethylmethacrylate (PMMA) หรือ Calcium Hydroxylapatite ทำให้เกิดผลข้างเคียงในระยะยาว รวมถึงการแข็งตัวหรือการไหลเคลื่อนไปยังจุดที่ไม่ต้องการ เช่น กล้ามเนื้อใบหน้าและหลอดเลือด การแก้ไขฟิลเลอร์ปลอมจึงต้องอาศัยการผ่าตัดซึ่งมีความเสี่ยงสูง
[url=https://vincent.clinic/th/article/detail/119]ฟิลเลอร์หิ้ว[/url] แม้จะเป็นฟิลเลอร์แท้ในบางกรณี แต่การลักลอบนำเข้าจากต่างประเทศมักไม่ควบคุมอุณหภูมิและการขนส่ง ซึ่งอาจทำให้ฟิลเลอร์เสื่อมคุณภาพอย่างรวดเร็ว เช่น ฟิลเลอร์บางชนิดที่ควรคงอยู่ได้ 1 ปี อาจลดเหลือเพียง 3-4 เดือน ทั้งนี้ ควรเลือกใช้ฟิลเลอร์แท้ที่ได้รับการรับรองและมาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ เพื่อให้ผลลัพธ์คงทนและปลอดภัยกว่า
ฟิลเลอร์แท้และฟิลเลอร์ปลอม แตกต่างกันอย่างไร?
- มาตรฐานการผลิต [url=https://vincent.clinic/th/service/detail/16]ฟิลเลอร์แท้[/url]จะต้องผลิตผ่านมาตรฐานจากองค์กรทางการแพทย์และได้รับการรับรองจาก อย. ฟิลเลอร์แท้มักจะมีบรรจุภัณฑ์ที่ระบุข้อมูลครบถ้วน ส่วนฟิลเลอร์ปลอมมักไม่มีมาตรฐานการผลิตและการบรรจุที่ชัดเจน
- ส่วนประกอบ ฟิลเลอร์แท้มักประกอบด้วยสารที่สลายได้ตามธรรมชาติ เช่น HA ส่วนฟิลเลอร์ปลอมมักมีการผสมสารอื่นๆ ที่ไม่สามารถสลายได้
- ความปลอดภัย ฟิลเลอร์แท้มีความปลอดภัยสูงเพราะผ่านการทดสอบทางคลินิก ส่วนฟิลเลอร์ปลอมอาจมีสารปนเปื้อน ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อและอักเสบหลังฉีด
- ราคา ฟิลเลอร์แท้มีราคาสูงกว่าฟิลเลอร์ปลอมเนื่องจากมาตรฐานการผลิตสูงกว่า ในขณะที่ฟิลเลอร์ปลอมมีราคาถูก แต่เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนสูง
อันตรายจากฟิลเลอร์ปลอม
- การอักเสบและติดเชื้อ ฟิลเลอร์ปลอมที่ผลิตไม่ได้มาตรฐานอาจมีการปนเปื้อนสารเคมีหรือแบคทีเรีย ก่อให้เกิดการอักเสบและติดเชื้ออย่างรุนแรง อาจเกิดบวมแดงหรือเป็นหนองในบริเวณที่ฉีด และอาจสร้างแผลเรื้อรังที่ยากต่อการรักษา
- ฟิลเลอร์เคลื่อนที่ผิดที่หรือแข็งตัว ฟิลเลอร์ปลอมที่มีสารเคมีที่ไม่สามารถสลายได้ อาจสะสมใต้ผิวหนังหรือแข็งตัว ทำให้ใบหน้าผิดรูปหรือเป็นก้อนแข็งใต้ผิวหนัง ซึ่งต้องผ่าตัดออกเท่านั้น
- อุดตันเส้นเลือด หากฟิลเลอร์ไหลไปยังหลอดเลือด อาจเกิดการอุดตันในเส้นเลือดซึ่งรุนแรงถึงขั้นเนื้อตายบริเวณที่ถูกอุดตัน หรืออาจทำให้สูญเสียการมองเห็นในกรณีที่ฟิลเลอร์ไหลไปสู่เส้นเลือดบริเวณรอบดวงตา
- ผลข้างเคียงระยะยาว ฟิลเลอร์ปลอมมักไม่สามารถสลายได้ด้วยเอนไซม์ไฮยาลูโรนิเดส (Hyaluronidase) จึงต้องใช้วิธีการขูดออกหรือผ่าตัดเท่านั้น ซึ่งอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงในระยะยาว
วิธีสังเกตฟิลเลอร์ปลอม
เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ฟิลเลอร์ปลอม ควรพิจารณาและตรวจสอบฟิลเลอร์อย่างรอบคอบ เช่น
- ตรวจสอบเลข Lot บนบรรจุภัณฑ์ ฟิลเลอร์แท้จะมีเลข Lot ที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้
- สังเกตฉลากและบรรจุภัณฑ์ ฟิลเลอร์แท้จะมีบรรจุภัณฑ์ที่ระบุข้อมูลอย่างครบถ้วน
- เลข อย. ฟิลเลอร์แท้ต้องมีเลข อย. บนบรรจุภัณฑ์และสามารถตรวจสอบได้
ตัวอย่างฟิลเลอร์แท้และวิธีตรวจสอบ
- Juvederm ฟิลเลอร์ยี่ห้อนี้ผลิตโดยบริษัท Allergan ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยฟิลเลอร์แท้จะมีเลข Lot และเอกสารกำกับในกล่อง สามารถตรวจสอบได้ผ่าน Allergan Thailand
- Restylane ผลิตจากบริษัท Galderma ประเทศสวีเดน ฟิลเลอร์ Restylane จะมีบรรจุภัณฑ์ที่หรูหรา พร้อมฉลากและ QR Code ที่สามารถสแกนเพื่อยืนยันความเป็นของแท้ได้
- Neuramis มี QR Code บนบรรจุภัณฑ์และฉลาก อย. ซึ่งสามารถสแกนเพื่อตรวจสอบรายละเอียดผลิตภัณฑ์ได้
ฉีดฟิลเลอร์ปลอมไปแล้วจะแก้ไขอย่างไรได้บ้าง?
หากได้รับการฉีดฟิลเลอร์ปลอมที่ไม่สามารถสลายได้ตามธรรมชาติ การแก้ไขต้องทำการขูดหรือผ่าตัดเพื่อเอาฟิลเลอร์ออก ซึ่งการแก้ไขประเภทนี้มีความเสี่ยงสูงและอาจไม่สามารถเอาฟิลเลอร์ออกได้ทั้งหมด ควรทำกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมในสถานพยาบาลที่ได้รับมาตรฐานเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน
ข้อควรระวังก่อนตัดสินใจฉีดฟิลเลอร์
- เลือกคลินิกที่ได้มาตรฐาน ควรเลือกสถานพยาบาลที่มีการรับรองจากกระทรวงสาธารณสุข และแพทย์มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
- ตรวจสอบฟิลเลอร์ก่อนฉีด: ขอให้แพทย์แสดงบรรจุภัณฑ์และเลข Lot ของฟิลเลอร์ก่อนฉีด
- ศึกษาข้อมูลรายละเอียดให้ครบถ้วนและดูรีวิวจากคนไข้จริง เพื่อให้เห็นภาพของผลลัพธ์หลังทำที่ชัดเจน ประกับการตัดสินใจก่อนลือกฉีดฟิลเลอร์
ฟิลเลอร์ปลอม ถือได้ว่าเป็นสารเติมเต็มที่อันตรายเพราะไม่ถูกการรับรองจาก อย. ทั้งยังมีการปนเปื้อนและใช้สารเหลวที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่เหมาะสมกับการฉีดเข้าสู่ร่างกาย จึงควรเลือกใช้ฟิลเลอร์แท้ที่ฉีดโดยแพทย์มากประสบการณ์จะดีกว่า เสียเงินแล้วต้องคุ้มค่า ไม่ต้องมาตามแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นภายหลัง เพราะหากเกิดปัญหาจากฟิลเลอร์ปลอมต้องทำการขูดออกเท่านั้น ส่งผลให้ผิวหน้าเกิดการเปลี่ยนแปลงผิดรูปได้ หากใครที่อยากฉีดฟิลเลอร์ครั้งแรกหรืออยากทำแต่ยังไม่กล้า แนะนำให้เข้ามาปรึกษาที่ [url=https://vincent.clinic/th]Vincent Clinic[/url] ได้เลย