ย้ายทะเบียนบ้านปลายทางทำอย่างไร มีข้อดีอะไรบ้าง
ย้ายทะเบียนบ้านปลายทางคือสิ่งสำคัญอย่างแรกที่จะต้องทำหลังย้ายที่อยู่อาศัยเพื่อรักษาสิทธิประโยชน์ของผู้อยู่อาศัย สำคัญคือต้องเตรียมเอกสารให้ครบเพื่อความรวดเร็ว
หลาย ๆ ท่านอาจมีความสงสัยว่าการย้ายทะเบียนบ้านปลายทางนั้นสามารถทำได้หรือไม่ บางท่านอาจเข้าใจว่าการย้ายทะเบียนบ้านปลายทางนั้นมีความยุ่งยาก ต้องดำเนินหลายขั้นตอน ในความเป็นจริงแล้วนั้นการย้ายทะเบียนบ้านปลายทางสามารถทำได้ง่ายๆ ซึ่งในบทความในพวกเราจะมาให้ความรู้เกี่ยวกับการแจ้งย้ายทะเบียนบ้านปลายทางกันครับ ไปดูความหมายของการย้ายชื่อเข้าทะเบียนบ้านปลายทาง การย้ายทะเบียนบ้านปลายทางมีแบบไหนบ้าง ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง มาทำความรู้จักไปพร้อมกับบทความนี้กัน
ความหมายและความสำคัญของการย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง
ความหมายของการย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง คือ การที่ผู้อยู่อาศัยสามารถแจ้งย้ายเข้า หรือแจ้งย้ายออกได้ที่สำนักทะเบียน ตรงที่อยู่แห่งใหม่ได้ทันที โดยไม่ต้องเดินทางกลับไปทำเรื่องที่สำนักงานเขตในทะเบียนของที่อยู่เก่า ทั้งนี้หากต้องการแจ้งย้ายทะเบียนบ้านปลายทางจะต้องดำเนินการเองเพื่อความรวดเร็วในการดำเนินงาน และจะต้องไม่เกินครั้งละ 3 คน
การย้ายทะเบียนบ้านนั้นมีความสำคัญจะช่วยรักษาสิทธิ์ของผู้อยู่อาศัย เช่น การดำเนินการขอกู้ยืมเงิน การใช้สิทธิ์ลงคะแนนเลือกตั้งในเขตที่ย้ายไปอยู่
ประโยชน์ชอบธรรมของเจ้าของบ้านหลังย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง
การย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง เป็นวิธีที่จะช่วยให้ผู้ย้ายเข้าสู่ทะเบียนจะได้รับสิทธิประโยชน์โดยชอบธรรม เพิ่มความสะดวกสบายให้กับการย้ายที่อยู่ ซึ่งประโยชน์ที่ได้รับจากการย้ายทะเบียนบ้านปลายทางเข้าสู่ที่อยู่อาศัยใหม่นอกเขต มีดังนี้
- ช่วยลดขั้นตอนในการดำเนินงานการยื่นเรื่องย้ายออกจากที่อยู่เก่าได้โดยที่ไม่ต้องยื่นเรื่องกับเจ้าหน้าที่ทะเบียนที่อยู่เขตเก่า
- เพื่อระบุตัวตนในกรณีในการใช้สิทธิเลือกตั้งได้ภายในเขตที่ย้ายเข้าที่ใหม่ โดยไม่ต้องกลับไปใช้สิทธิในเขตพื้นที่เดิม
- เพื่อใช้เป็นเอกสารทางราชการในการยืนยันตัวตนอยู่ในเขตพื้นที่จริง ใช้ในการทำธุรกรรมต่าง ๆ ได้
การย้ายทะเบียนบ้านปลายทางมีกี่ประเภท แตกต่างกันอย่างไร
การย้ายเข้าทะเบียนบ้านปลายทางจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือการย้ายทะเบียนบ้านขาเข้า และการย้ายทะเบียนบ้านขาออก ซึ่งจะต้องมีการแจ้งเจ้าหน้าที่ทะเบียนหลังจากที่มีผู้อยู่อาศัยย้ายเข้าบ้าน หรือมีผู้อยู่อาศัยย้ายออกจากบ้าน โดยการแจ้งเจ้าหน้าที่จะต้องมีการเตรียมเอกสารเพื่อยื่นให้กับเจ้าหน้าที่ และข้อแตกต่างระหว่างการย้ายทะเบียนบ้านปลายทางขาเข้า กับการย้ายทะเบียนบ้านขาออกแตกต่างอย่างไร เรามาดูไปพร้อมๆกัน
1. การย้ายทะเบียนบ้านขาเข้า
เมื่อมีผู้อยู่อาศัยย้ายเข้ามาในบ้าน ให้เจ้าบ้านแจ้งการย้ายเข้าภายใน 15 วัน เริ่มนับตั้งแต่ที่มีการย้ายเข้าบ้าน หากไม่ปฏิบัติตามจะมีค่าธรรมเนียมตามกฏหมาย
- ไม่เกิน 6 เดือน คิดค่าธรรมเนียมครั้งละ 30 บาท
- เกิน 6 เดือน แต่ไม่ถึง 1 ปี คิดค่าธรรมเนียมครั้งละ 50 บาท
- เกินหนึ่งปี คิดค่าธรรมเนียมเพิ่มจาก 50 บาท แล้วต้องไม่เกิน 500 บาท
เอกสารที่จำเป็นในการแจ้งย้ายทะเบียนบ้านขาเข้า
- ใบแจ้งย้ายที่อยู่ (ท.ร. 6) ที่เจ้าบ้านลงนามยินยอมให้ย้ายเข้าเรียบร้อยแล้ว
- บัตรประชาชนของเจ้าของบ้าน
- สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของบ้าน
- หนังสือมอบหมายจากเจ้าของบ้าน (กรณีไม่ใช่เจ้าของบ้าน)
- บัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ
ขั้นตอนการย้ายทะเบียนบ้านปลายทางขาเข้า
- ผู้ย้ายที่อยู่ยื่นเอกสารที่เตรียมให้กับเจ้าหน้าที่ทะเบียนในเขตที่ย้ายเข้า
- เจ้าหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องเอกสาร และยืนยันหลักฐานย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง
- เมื่อยืนยันความถูกต้องแล้ว เจ้าหน้าที่จะทำการเพิ่มชื่อให้กับผู้ย้ายลงบนทะเบียนของเจ้าของบ้าน เป็นอันเสร็จขั้นตอน
2. การย้ายทะเบียนบ้านขาออก
เมื่อผู้อยู่อาศัยในบ้านย้ายออกจากบ้าน ให้เจ้าบ้านแจ้งการย้ายออกภายใน 15 วัน เริ่มนับตั้งแต่วันที่ผู้อยู่อาศัยในบ้านย้ายออก หากไม่ปฏิบัติตาม เมื่อพ้นกำหนดเวลาตามกฎหมายให้กำหนดค่าธรรมเนียมดังต่อไปนี้
- การแจ้งหรือขอที่พ้นกำหนดเวลาตามกฎหมายไม่เกินหกเดือน คิดค่าธรรมเนียม ครั้งละ 30 บาท
- การแจ้งหรือพ้นกำหนดเวลาตามกฎหมายเกินหกเดือนแต่ไม่เกินหนึ่งปี คิดค่าธรรมเนียม ครั้งละ 50 บาท
- การแจ้งหรือขอที่พ้นกำหนดเวลาตามกฎหมายเกินหนึ่งปี คิดค่าธรรมเนียมเพิ่มจาก (2) แล้วต้องไม่เกิน 500 บาทเศษของเดือน ถ้าเกินสิบห้าวันให้นับเป็นหนึ่งเดือน
เอกสารที่จำเป็นในการแจ้งย้ายทะเบียนขาออก
- บัตรประชาชนของผู้ได้รับมอบอำนาจ
- บัตรประชาชนของผู้ย้าย
- สำเนาทะเบียนของเจ้าของบ้านพร้อมลายเซ็นเจ้าของบ้าน
- บัตรประชาชนของเจ้าของบ้าน
- หนังสือมอบอำนาจของเจ้าบ้าน (กรณีที่ผู้ย้ายเป็นผู้อยู่อาศัยไม่ใช่เจ้าบ้าน และต้องมีลายเซ็นยินยอมในการมอบอำนาจจากเจ้าของบ้าน)
ขั้นตอนการย้ายทะเบียนบ้านปลายทางขาออก
- เจ้าบ้านหรือผู้อาศัยที่ต้องการย้าย นำส่งเอกสารแจ้งย้ายให้กับนายทะเบียนในเขตบ้านเดิม
- เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสาร เพื่อรอยืนยันการย้ายทะเบียนบ้านปลายทางถูกต้อง
- เมื่อได้รับการยืนยันย้ายชื่อออกจากทะเบียนบ้านปลายทางเดิมแล้ว เจ้าหน้าที่จะจัดเตรียมเอกสารแจ้งย้ายให้ผู้ยื่นเรื่องเพื่อนำไปส่งสำหรับขั้นตอนย้ายเข้าต่อไป
การย้ายทะเบียนบ้านปลายทางต้องเตรียมเอกสารใดบ้าง
เพื่อความความสะดวกและความรวดเร็วในการดำเนินการขั้นตอนการย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง จะต้องเตรียมเอกสารเพื่อยื่นแจ้งเจ้าหน้าที่ทะเบียนให้ครบและถูกต้อง มีลายเซ็นของเจ้าบ้านได้รับการอนุมัติแล้ว มีเอกสารดังต่อไปนี้
กรณีของการแจ้งย้ายทะเบียนบ้านขาเข้า
- ใบแจ้งย้ายที่อยู่ (ท.ร. 6) ที่เจ้าบ้านลงนามยินยอมให้ย้ายเข้าเรียบร้อยแล้ว
- บัตรประชาชนของเจ้าของบ้าน
- สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของบ้าน
- หนังสือมอบหมายจากเจ้าของบ้าน (กรณีไม่ใช่เจ้าของบ้าน)
- บัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ
กรณีของการแจ้งย้ายทะเบียนบ้านขาออก
- บัตรประชาชนของผู้ได้รับมอบอำนาจ
- บัตรประชาชนของผู้ย้าย
- สำเนาทะเบียนของเจ้าของบ้านพร้อมลายเซ็นเจ้าของบ้าน
- บัตรประชาชนของเจ้าของบ้าน
- หนังสือมอบอำนาจของเจ้าบ้าน (กรณีที่ผู้ย้ายเป็นผู้อยู่อาศัยไม่ใช่เจ้าบ้าน และต้องมีลายเซ็นยินยอมในการมอบอำนาจจากเจ้าของบ้าน)
สรุป ย้ายทะเบียนบ้านปลายทางเป็นอย่างไร
การย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง เป็นอีกหนึ่งขั้นตอนที่สำคัญสำหรับคนที่กำลังย้ายที่อยู่เพื่อรักษาสิทธิประโยชน์โดยชอบธรรมเช่นการทำธุรกรรมการเงิน การยื่นเรื่องเอกสารทางราชการ การใช้สิทธิเลือกตั้งในเขตที่อยู่ใหม่โดยไม่ต้องกลับไปใช้สิทธิในเขตที่อยู่เดิม และอื่น ๆ เพื่อความรวดเร็วในการย้ายทะเบียนที่อยู่จะต้องเตรียมเอกสารให้ถูกต้องและครบถ้วน มีลายเซ็นของเจ้าของบ้านกำกับ จะช่วยลดเวลาขั้นตอนการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ได้อย่างรวดเร็ว