บริหารกองทุนสำรองเลี้ยงชีพลาออกจากงานอย่างไรดีที่นี่มีคำตอบ
แนะนำแนวทางบริการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพลาออกจากงานให้ได้ผลดี พร้อมแนวทางการเสียภาษี และการวางแผนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหลังลาออกแบบครบจบในที่เดียว
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพเงินออมที่พนักงานเงินเดือนอย่างเรา ๆ เก็บไว้เป็นเงินสำรองหลังเกษียณ แล้วจะทำอย่างไรเมื่อเราเลือกที่จะลาออก ไขข้อสงสัยเงินกองทุนสํารองเลี้ยงชีพลาออกแล้วไปไหน จะสามารถนำออกมาใช้ได้เลยหรือไม่ หรือถ้าหากเราต้องการเก็บกองทุนสํารองเลี้ยงชีพไว้ต่อยอดหลังลาออกเพื่อใช้เป็นเงินสำรองเราจำเป็นต้องเสียภาษีแบบใด สามารถหาคำตอบของทุกคำถามเกี่ยวกับกองทุนสํารองเลี้ยงชีพลาออกของพนักงานได้ในเนื้อหาของบทความนี้
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพคืออะไร สำคัญอย่างไรกับการวางแผนการเงิน
ก่อนที่จะเข้าสู่เนื้อหาด้านการบริหารกองทุนสํารองเลี้ยงชีพลาออกของพนักงาน และการยื่นภาษีลาออกจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพเราจะพาทุกท่านมาทำความรู้จักกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกันก่อน กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ Provident Fund คือกองทุนระหว่างนายจ้างและลูกจ้างเป็นเงินสะสมที่นายจ้างและลูกจ้างช่วยกันออก เพื่อเป็นเงินสำรองให้กับลูกจ้างที่ทำงานอยู่ในองค์กรในกรณีการใช้จ่ายฉุกเฉินอย่างการเสียชีวิต ทุพพลภาพถาวร จำเป็นต้องลาออกจากงานกะทันหัน และอื่น ๆ รวมถึงเป็นเงินสำรองให้ลูกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างถึงวัยเกษียณเพื่อให้ลูกจ้างที่ทำงานภายใต้องค์กรมีเงินสำรองในการใช้ชีวิต
โดยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะแบ่งการชำระออกเป็น 2 ส่วนได้แก่ส่วนของลูกจ้าง (เงินสะสม) และส่วนของนายจ้าง (เงินสมทบ) โดยที่การจ่ายเงินเข้ากองทุนสำรองทั้งนายจ้างและลูกจ้างจะจ่ายสามารถจ่ายได้ตั้งแต่ 2-15% ของเงินเดือนลูกจ้าง ซึ่งเงินสมทบที่นายจ้างจ่ายต้องไม่น้อยกว่าเงินสะสมที่ลูกจ้างจ่ายในแต่ละเดือน ด้วยเหตุนี้กองทุนสํารองเลี้ยงชีพลาออกของพนักงานจึงเป็นเงินที่ไม่ควรมองข้าม เพราะกองทุนนี้เป็นเงินสำรองที่เราสามารถประโยชน์ได้หลากหลายด้านและยังเป็นเงินที่หักจากค่าตอบแทนรายเดือนของเราอีกด้วย
บริหารกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเมื่อลาออกอย่างไรให้ได้ผลดี
หลังจากทราบกันแล้วว่ากองทุนสํารองเลี้ยงชีพลาออกสำคัญอย่างไร หลายคนคงสงสัยกันแล้วว่าลาออก Provident Fund ที่เราสะสมมาทั้งหมดจะไปไหน ลาออกจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพภาษีต้องเสียอีกหรือไม่ แล้วถ้าเราต้องการบริหารเงินกองทุนสํารองเลี้ยงชีพลาออกเสียภาษีอย่างไร
เราบอกเลยว่าการจัดการกับกองทุนสํารองเลี้ยงชีพลาออกสามารถทำได้หลากหลายรูปแบบ ซึ่งเราจะมาอธิบายแนวทางการบริหารกองทุนสํารองเลี้ยงชีพลาออกในกรณีที่พบบ่อยกัน กรณีแรกคือกรณีที่ย้ายงานในกรณีนี้กองทุนสํารองเลี้ยงชีพเมื่อลาออกจากงานจะสามารถแจ้งย้ายไปยังที่ใหม่เพื่อสะสมเงินอย่างต่อเนื่องได้ ผ่านการแจ้งความประสงค์ในการโยกย้ายให้บริษัทหลักทรัพย์ที่จัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัทเดิมทราบ เพื่อให้บริษัทจัดการหลักทรัพย์ดำเนินเรื่องย้ายต่อไป
อีกกรณีที่พบบ่อยคือผู้จ่ายเงินสะสมให้กับกองทุนสํารองเลี้ยงชีพลาออกและไม่ต้องการทำงานที่ใหม่ แต่ยังต้องการสะสมเงิน Provident Fund ลาออกต่อ ในกรณีนี้คุณสามารถติดต่อและแจ้งความประสงค์กับบริษัทหลักทรัพย์ที่ดูแลกองทุนของคุณได้โดยตรง แถมยังสามารถปรับเปลี่ยนแผนการลงทุนให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไปได้อีกด้วย
รวมมาให้แล้ว! แนวทางการเสียภาษีหลังออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
สำหรับท่านที่ต้องการสะสมกองทุนสํารองเลี้ยงชีพลาออกต่อ แต่ยังไม่มั่นใจว่า Provident Fund ภาษีลาออกต้องชำระเท่าไหร่ อย่างไร เราบอกเลยว่าในกรณีที่ท่านสะสมเงินในกองทุนเลี้ยงชีพเดิมจนถึงอายุ 55 ปี คุณไม่จะได้รับการยกเว้นภาษีในกรณีที่ต้องการย้ายกองทุน แต่ในกรณีที่คุณต้องการลาออกจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพหรือถอนเงินจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพลาออกก่อนอายุ 55 ปี และยังสะสมเงินในกองเดิมไม่ถึง 5 ปี การเสียภาษีของคุณจะเป็นไปตามเงื่อนไขของบริษัทจัดการหลักทรัพย์และกองทุนสำรองที่คุณย้ายไป
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพลาออกแล้วยังได้เงินหรือไม่ แล้วจะได้เท่าไหร่หลังลาออก
อย่าให้เงินที่สะสมในกองทุนสํารองเลี้ยงชีพลาออกแล้วสูญเปล่า เพราะการลาออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไม่ว่าจะตอนไหนเราก็ยังได้เงิน ซึ่งจะมากหรือน้อยเท่าไหร่นั้นจะขึ้นอยู่กับเงินสะสมและข้อกำหนดของกองทุน แต่ในกรณีที่เราส่งเงินสมทบกองทุนสํารองเลี้ยงชีพลาออกตอน 55 ปี เราจะได้ทั้งเงินสมทบจากนายจ้าง เงินสะสมจากเงินเดือน และผลประโยชน์ของเงินสะสมและสมทบทั้งหมดในกองทุน
สรุปการแนวทางการบริการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหลังลาออก
กองทุนสํารองเลี้ยงชีพลาออกก็ยังสะสมได้ เพราะไม่ว่ายังไงก็ตามเงินส่วนนั้นก็ยังเป็นเงินสำรองที่สามารถดึงมาใช้ในยามฉุกเฉินได้ตลอดเวลา และยังเป็นกองทุนสะสมทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูง แต่สำหรับท่านที่ต้องการเงินสำรองฉุกเฉินแต่ยังไม่อยากออกจากกองทุนสำรอง เราขอแนะนำบัตรกดเงินสด KTC PROUD หนึ่งในตัวเลือกที่เหมาะกับท่านที่ต้องการหมุนเงินแต่ไม่อยากเสียเงินสะสมในกองทุน