ICSI (อิ๊กซี่) คืออะไร? เทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์
การทำ ICSI คือ? การนำอสุจิเข้าไปปฏิสนธิในไข่ ทางเลือกสำหรับผู้มีลูกยาก กระบวนการทำ ICSI ใช้เวลาไม่นาน มีโอกาสตั้งครรภ์สำเร็จ
ปัจจุบันการรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยเทคโนโลยีใหม่ ๆ มีมากขึ้น ซึ่งวิธีการแก้ปัญหาผู้มีบุตรยากที่ได้รับความนิยมมาแรง ก็คือวิธีการ ICSI โดยการทำ ICSI คือการนำเทคโนโลยีมาช่วยทางการแพทย์ แก้ปัญหาภาวะมีบุตรยากที่มีโอกาสประสบความสำเร็จสูงกว่าการรักษาอื่น ๆ มีกระบวนการรักษาไม่กี่ขั้นตอน อีกทั้งยังใช้เวลาในการทำอิ๊กซี่ไม่นานมาก ทำให้วิธีการรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยการทำ ICSI ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก ดังนั้น เรามาทำความรู้จักว่าICSI คืออะไร เหมาะกับใครบ้าง มีขั้นตอนการทำอย่างไร รวมไปถึงโอกาสประสบความสำเร็จในการตั้งครรภ์ของผู้มีบุตรยากมากน้อยแค่ไหน มาศึกษาไปพร้อมกันเลย
ICSI (อิ๊กซี่) คืออะไร? ใครทำ ICSI ได้บ้าง?
การทำ ICSI คือวิธีการรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ด้านการเจริญพันธุ์ด้วยวิธีอิ๊กซี่ โดยมีการเลือกสเปิร์มที่แข็งแรงที่สุด ฉีดเข้าไปปฏิสนธิในไข่ มีส่วนสำคัญการเพิ่มอัตราการปฏิสนธิให้มีโอกาสตั้งครรภ์ได้สูง แล้วทำการเลี้ยงตัวอ่อนจึงย้ายตัวอ่อนเข้าสู่โพรงมดลูก เพื่อให้เจริญเติบโตในครรภ์ต่อไป จะเห็นได้ว่า การรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยการทำ ICSI (Intracytoplasmic Sperm Injection) มีโอกาสทำลูกสำเร็จสูง มีความแม่นยำ และสามารถมีบุตรได้สมหวังตามต้องการ
ดังนั้น การทำ ICSI คือวิธีการรักษาภาวะมีบุตรยาก จึงเหมาะสำหรับผู้มีภาวะมีบุตรยาก ได้แก่
- ผู้หญิงที่มีปัญหาเปลือกไข่หนา ทำให้สเปิร์มไม่สามารถเข้าไปปฏิสนธิได้
- ผู้หญิงที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป มีปริมาณไข่และคุณภาพน้อยลง
- ผู้ชายที่มีปัญหาเกี่ยวกับอสุจิ เช่น อสุจิไม่สมบูรณ์ อสุจิไม่มีคุณภาพ ปริมาณอสุจิน้อย
- ปัญหาเกี่ยวกับเรื่องหมันของผู้ชาย ไม่ว่าจะเป็นการทำหมันแล้วอยากมีลูก หรือเป็นหมัน
- คู่สมรสที่มีปัญหาเกี่ยวกับทางสุขภาพและความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์
ขั้นตอนการทำ ICSI (อิ๊กซี่) มีกระบวนการอย่างไร
ICSI คือการรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ ICSI โดยมีขั้นตอนการทำ ICSI มีกระบวนการทำที่สำคัญ ดังนี้
1. การฉีดยากระตุ้นไข่ (Ovulation stimulation)
การฉีดยากระตุ้นไข่ เป็นการกระตุ้นไข่ด้วยการฉีดฮอร์โมน เพื่อให้ได้ขนาดไข่ที่เหมาะสม ICSI พร้อมกันหลาย ๆ ใบ พร้อมต่อการปฏิสนธิ ซึ่งไข่จะเจริญเติบโตสมบูรณ์หลังฉีดฮอร์โมนไปประมาณ 8-12 วัน จึงทำการเก็บไข่ต่อไป ภายหลังการฉีดยากระตุ้นไข่ อาการข้างเคียงอาจมีอาการเวียนศีรษะ ปวดท้อง ปวดเมื่อยตามร่างกายได้
2. การเก็บไข่ (Egg retrieval)
หลังจากการกระตุ้นไข่เรียบร้อยแล้ว ก็ทำการเก็บไข่ด้วยวิธีการเลือกไข่ที่มีความสมบูรณ์ตามต้องการจากการอัลตราซาวด์ โดยทำการเจาะเก็บไข่ เพื่อนำมาเพาะเลี้ยงไข่ให้มีความพร้อมต่อการปฏิสนธิ
3. การปฏิสนธิ (ICSI fertilization)
ขั้นตอนเก็บไข่ ICSI นี้จะทำการคัดเลือกไข่ที่มีความสมบูรณ์แข็งแรงมากที่สุดเพียงตัวเดียวเท่านั้น โดยนำเข็มเล็กทำการดูดสเปิร์มที่เลือกไว้เข้าไปยังไข่จนเกิดการปฏิสนธิ
4. การเลี้ยงตัวอ่อน (Embryo culture)
เมื่อทำการปฏิสนธิเสร็จสิ้นแล้ว จะทำการเลี้ยงตัวอ่อนประมาณ 3-5 วัน โดยมีการควบคุมปัจจัยสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ให้เหมือนอยู่ในครรภ์มากที่สุด เมื่อตัวอ่อนแข็งแรง จึงนำเข้าสู่โพรงมดลูกต่อไป
5. การย้ายตัวอ่อน (Embryo transfer)
ขั้นตอนการใส่ตัวอ่อน ICSI นำเข้าไปสู่โพรงมดลูก สามารถนำเข้าได้ 2 แบบ คือ การย้ายตัวอ่อนแบบสด จะเป็นการย้ายตัวอ่อนที่เลี้ยงไว้แล้ว นำเข้าสู่โพรงมดลูกครั้งเดียวพร้อมกับการกระตุ้นไข่ และการย้ายตัวอ่อนแบบแช่แข็ง ทำการย้ายตัวอ่อนภายหลังจากการกระตุ้นไข่ที่มีการแช่แข็งไว้ โดยอาการหลังใส่ตัวอ่อน 7 วัน อาจมีอาการคลื่นไส้ หรือมีเลือดออกจากช่องคลอดเล็กน้อย
ระยะเวลาทำ ICSI ใช้เวลาเท่าไหร่
การทำ ICSI คือการนำเทคโนโลยีมารักษาภาวะมีบุตร โดยกระบวนการทำ ICSI เริ่มต้นตั้งแต่การตรวจร่างกาย และฮอร์โมน เพื่อหาสาเหตุของภาวะมีบุตรยากก่อน และเริ่มเข้าสู้การฉีดยากระตุ้นไข่ จากนั้นเข้าสู่กระบวนการการเก็บไข่ของฝ่ายหญิงกับฝ่ายชาย หลังจากนั้นเข้าสู่กระบวนการปฏิสนธิ การเลี้ยงตัวอ่อน จนถึงการย้ายตัวอ่อนเข้าสู่โพรงมดลูกเป็นขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งกระบวนการของ อิ๊กซี่ ใช้ระยะเวลาทั้งหมดประมาณ 3-4 สัปดาห์เท่านั้น
โอกาสสำเร็จของการทำ ICSI มีมากน้อยเพียงใด
ปัจจุบันมีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อแก้ปัญหาภาวะต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เช่นเดียวกับภาวการณ์มีบุตรยากก็มีเทคโนโลยีการรักษาหลายรูปแบบ แน่นอนว่าการทำ ICSI คือทางเลือกที่ช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์สำหรับผู้มีบุตรยาก แล้วยังเป็นวิธีทำลูกที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย มีโอกาสความตั้งครรภ์ในอัตราความสำเร็จถึงประมาณ 80 % ซึ่งถือว่ามีโอกาสสูงมากเมื่อเทียบกับวิธีการรักษาแบบอื่น ทั้งนี้ การทำอิ๊กซี่ขึ้นอยู่กับอายุของฝ่ายหญิง หากมีอายุ 35 ปีขึ้นไป อาจมีโอกาสตั้งครรภ์ลดลงไป รวมถึงขึ้นอยู่กับสุขภาพ การดูแลตัวเองของฝ่ายหญิง และคุณภาพตัวอ่อนด้วย
นอกจากนี้ การทำ ICSI คือตัวช่วยเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์สำเร็จมากขึ้น หากเข้ารับการดูแลรักษาภาวะมีบุตรยากกับโรงพยาบาลที่ได้มาตรฐาน มีผลงานเป็นที่ยอมรับ รวมทั้งมีแพทย์เฉพาะทางด้านมีบุตรยากที่มีประสบการณ์ โดยการเลือกโรงพยาบาลพร้อมทั้งการได้รับการดูแลของแพทย์ตั้งแต่การให้คำปรึกษาจนถึงกระบวนการเข้ารักษา ICSI จึงสำคัญเป็นอย่างมาก
สรุปการทำ ICSI
การทำ ICSI คือทางเลือกวิธีการรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ ช่วยเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์สำหรับผู้ที่มีบุตรยากทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย ให้สามารถมีบุตรได้จากการทำอิ๊กซี่ โดยขั้นตอนการทำไม่ซับซ้อน ใช้ระยะเวลาในการทำไม่นาน ซึ่งการทำ ICSI เป็นการรักษาที่มีโอกาสประสบความสำเร็จมากกว่าวิธีการอื่น ทั้งนี้ ผู้ที่ต้องการมีบุตรและมีภาวะมีบุตรยาก ควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับการICSI คืออะไร และเลือกโรงพยาบาลที่ได้มาตรฐาน การทําอิ๊กซี่ ค่าใช้จ่ายเหมาะสม รวมถึงมีแพทย์ที่มีประสบการณ์ มีความชำนาญ เพื่อทำการตรวจดูแลรักษาให้มีโอกาสตั้งครรภ์สำเร็จตามความต้องการ