ภาวะสายตาเอียง (Astigmatism) กับสาเหตุ อาการ และแนวทางการรักษา
สายตาเอียง (Astigmatism) ภาวะความผิดปกติที่เกิดจากความโค้งของกระจกตาผิวรูป ภาวะนี้มีอาการอย่างไร มีแนวทางการรักษาให้หายขาดหรือไม่ หาคำตอบได้ที่นี่
ปัญหาด้านสายตาหนึ่งในปัญหาที่สร้างความรำคาญใจไม่ใช่น้อย อย่างที่เราทราบกันดีว่าดวงตาเป็นอวัยวะที่เราใช้งานตั้งแต่ตื่นจนเข้านอน การที่ทัศนียภาพด้านการมองเห็นของเราผิดเพี้ยนจึงเป็นสิ่งที่สร้างความรำคาญใจและทำให้เราใช้ชีวิตประจำวันยากกว่าปกติ โดยเฉพาะปัญหาสายตาเอียง ปัญหาด้านสายตาที่ทำให้การมองเห็นของเราผิดเพี้ยน เกิดอาการภาพซ้อน บิดเบี้ยว และอื่น ๆ อีกมากมาย
สำหรับท่านที่มีปัญหาด้านสายตาแต่ยังไม่แน่ใจว่าสิ่งที่เป็นคืออาการของผู้ที่มีภาวะสายตาเอียงหรือไม่ บทความนี้เราจะพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับภาวะสายตาเอียงให้ดีขึ้น ถ้าอยากรู้กันแล้วว่าการมองเห็นของคนสายตาเอียงเป็นอย่างไร สายตาเอียงเกิดจากอะไร ภาวะสายตาเอียงรักษาได้ไหม แล้วผู้ที่มีภาวะสายตาเอียงเท่าไหร่ควรตัดแว่น สามารถหาคำตอบของทุกคำถามเกี่ยวกับสายตาได้ในบทความนี้
สายตาเอียง (Astigmatism) คืออะไร?
Astigmatism หรือภาวะสายตาเอียง คือ ภาวะการมองมองเห็นที่ผู้มีปัญหาสายตาเอียงจะมองเห็นภาพวัตถุที่มีระยะไกลหรือใกล้เบลอ มีความทับซ้อนกัน เห็นภาพวัตถุบิดเบี้ยว มีแสงหรือเงาสะท้อนออกจากวัตถุ มองเห็นภาพเพี้ยนไปกว่าความเป็นจริง โดยเฉพาะในตอนกลางคืนที่ผู้มีอาการสายตาเอียงมักจะเห็นภาพวัตถุผิดเพี้ยนมากกว่าตอนกลางวัน
โดยส่วนใหญ่ผู้ที่มีภาวะสายตาเอียงมักจะเป็นผู้ที่มีปัญหาสายตาร่วมด้วย โดยที่จะเป็นปัญหาสายตาสั้นหรือสายตายาวก็ได้ ซึ่งภาวะสายตาเอียงไม่ได้เป็นภาวะที่มีความอันตรายต่อร่างกาย ไม่จำเป็นต้องรักษา แต่โดยส่วนใหญ่ผู้ที่มารักษาจะมารักษาจากเหตุผลที่ว่าภาวะสายตาเอียงส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันหรือก่อให้เกิดความรำคาญจากภาพที่คนสายตาเอียงเห็น เช่น ส่งผลกระทบต่อการทำงานหน้าคอมจากภาพซ้อน ทำให้บุคลิกภาพแย่ลง ไม่สามารถมองภาพระยะไกลได้ สายตาเอียงมองไฟไม่ได้ มีปัญหาต่อการขับขี่ในตอนกลางคืน และอื่น ๆ
ภาวะสายตาเอียงกับสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดภาวะดังกล่าว
ก่อนที่จะเข้าสู่แนวทางการรักษาสายตาเอียง เราจะพาทุกท่านมาพบกับสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดภาวะสายตาเอียงกันก่อน สายตาเอียงเกิดจากความผิดปกติของกระจกตาอย่างกระจกตาไม่โค้งกลม กระจกตาผิวรูป หรือเคยมีปัญหาที่ทำให้ผิวกระจกตาไม่เรียบ ที่ทำให้การหักเหแสงของกระจกตามีหลายจุด จนทำให้เกิดเงาหรือภาพที่ผิดเพี้ยน
ซึ่งปัญหาสายตาเอียงสามารถเกิดขึ้นได้จากหลากหลายปัจจัยทั้งจากพันธุกรรม จากปัญหากระจกตาตาย้วย เคยเกิดอุบัติเหตุที่กระทบต่อดวงตา เคยติดเชื้อที่กระจกตา มีปัญหาตาเหล่ ใส่คอนแทคเลนส์ที่มีความโค้งไม่พอดีกับตาจนทำให้เกิดรอยถลอกบริเวณกระจกตา และอื่น ๆ อีกมากมาย
ภาวะสายตาเอียงมีทั้งหมดกี่ประเภท
หลังจากทราบถึงสาเหตุของปัญหาสายตาเอียงกันไปแล้ว เราจะมาพูดถึงประเภทของสายตาเอียงกันบ้าง โดยภาวะดังกล่าวสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทดังนี้
- สายตาเอียงแบบสม่ำเสมอ: ภาวะสายตาเอียงที่เกิดจากจุดสูงสุดและต่ำสุดของการหักเหแสงอยู่ในแนวเดียวกัน ทำให้ความโค้งกระจกตาเป็นรูปไข่
- สายตาเอียงแบบไม่สม่ำเสมอ: ภาวะสายตาเอียงที่เกิดจากจุดสูงสุดและต่ำสุขจองการหักเหแสงไม่อยู่ในแนวเดียวกัน ภาวะนี้มักเกิดขึ้นกับคนที่มีภาวะสายตาเอียงจากปัจจัยภายนอก
แนวทางการวินิจฉัยของภาวะสายตาเอียง
การวินิจฉัยภาวะและทดสอบสายตาเอียงสามารถทำได้หลากหลายรูปแบบ แต่วิธีการตรวจสายตาเอียงที่ได้รับความนิยมมากที่สุดจะมีด้วยกัน 3 รูปแบบ ได้แก่ การตรวจการมองเห็น (Visual Acuity Test) เป็นวิธีการตรวจสายตาเอียงผ่านการทดสอบการอ่านตัวอักษรและตัวเลข เหมือนการตรวจวัดค่าสายตาทั่วไป วิธีต่อมาจะเป็นการตรวจวัดสายตาเอียงผ่านค่าความโค้งของกระจกตา (Keratometer Test) เป็นวิธีที่จะตรวจวัดสายตาเอียงผ่านเครื่องมือทางการแพทย์ที่มีชื่อว่าเคอราโตมิเตอร์ (Keratometer) หรือเครื่องมือตรวจพื้นผิวกระจกตาผ่านแสงสะท้อนที่ตกกระทบกระจกตา
วิธีสุดท้ายจะเป็นการตรวจวัดความหักเหแสงสู่ดวงตา เป็นวิธีการวัดค่าสายตาเอียงผ่านเครื่องมือที่มีชื่อว่าโฟรอพเตอร์ (Phoropter) หรือเครื่องมือตรวจวัดความผิดพลาดด้านการหักเหแสงของกระจกตา นอกจากนี้วิธีการนี้ยังสามารถตรวจวัดการโฟกัส การตอบสอง และอื่น ๆ ที่จะนำไปสู่การตัดแว่นสายตาเอียงอีกด้วย
แนวทางการรักษาปัญหาสายตาเอียง
สำหรับท่านที่มีภาวะสายตาเอียงแล้วกำลังหาแนวทางการรักษาที่เหมาะกับตัวเองอยู่หัวข้อนี้สามารถช่วยคุณได้ โดยแนวทางการรักษายอดนิยมจะมีอยู่ทั้งหมด 3 รูปแบบ ได้แก่
ใส่แว่นสายตา
การตัดแว่นสายตาเอียงวิธีที่ง่ายและได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะมีราคาที่ไม่สูงมากและสามารถใช้งานได้ยาวนาน สำหรับท่านที่สงสัยว่าสายตาเอียงใช้เลนส์อะไรเราบอกเลยว่าเลนส์สายตาเอียงเป็นเลนส์ทรงกระบอกพิเศษที่แพทย์วัดและตัดขึ้นมาตามความเหมาะสมของความโค้งกระจกตา
ใส่คอนแทคเลนส์
คอนแทคเลนส์สายตาเอียงหนึ่งในวิธียอดนิยมสำหรับคนที่ไม่ชอบใส่แว่นตา วิธีนี้จะได้ผลลัพธ์คล้ายคลึงกับการใส่แว่นตาเพียงแต่จะสะดวกกว่าไม่จำเป็นต้องพกแว่น แต่ต้องรักษาความสะอาด เลือกความโค้งให้เหมาะกับกระจกตา และดูแลรักษาดวงตาไม่ให้แห้งระหว่างใส่
การทำเลสิกสายตา
สำหรับท่านที่สงสัยว่าสายตาเอียงทําเลสิกได้ไหม เราบอกเลยว่าผู้มีภาวะสายตาเอียงสามารถทำเลสิกได้เหมือนผู้ที่มีปัญหาทั่วไป โดยผู้ที่ต้องการรักษาภาวะสายตาเอียงถาวรด้วยการผ่าตัด สามารถเลือกแนวทางการรักษาได้ดังนี้
- Microkeratome LASIK: การผ่าตัดรักษาภาวะสายตาเอียงผ่านการเปิดชั้นกระจกตา
- Femto LASIK: แนวทางการรักษาที่เหมาะกับคนที่ค่าสายตาเอียงไม่เกิน 600
- PRK (Photorefractive Keratectomy): แนวทางการรักษาที่เหมาะกับคนที่ค่าสายตาเอียงไม่เกิน 200
- ReLEx SMILE: แนวทางการรักษาที่เหมาะกับคนที่ค่าสายตาเอียงไม่เกิน 500
- ICL: แนวทางการรักษาที่เหมาะกับคนที่ค่าสายตาเอียงไม่เกิน 600
แนวทางการป้องกันการเกิดภาวะสายตาเอียง
หลังจากทราบกันแล้วว่าสายตาเอียงรักษาอย่างไร หัวข้อนี้เราจะมาพูดถึงแนวทางการป้องกันตัวเองจากภาวะสายตาเอียงกันบ้าง อย่างที่เราทราบกันดีว่าถึงแม้การแก้สายตาเอียงจะสามารถทำได้ แต่ภาวะนี้ก็สามารถกลับมาเกิดซ้ำได้ เพราะฉะนั้นการดูแลตัวเองหลังการรักษาจึงเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งเราสามารถป้องกันการเกิดภาวะสายตาเอียงได้จากการดูแลรักษาดวงตาให้ดี ไม่ทำกิจกรรมในที่มืดอย่างการเล่นโทรศัพท์มือถือ ดูโทรทัศน์ หลีกเลี่ยงการใช้สายตานาน ๆ ไม่ทำร้ายดวงตาด้วยการทำรุนแรงกับดวงตาอย่างการขยี้ตา ปล่อยให้ตาแห้ง และบำรุงรักษาดวงตาด้วยการรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของวิตามินเอ วิตามินอี วิตามินซี และซีแซนทีนอย่างสม่ำเสมอ เพียงเท่านี้ดวงตาของเราก็ปลอดภัยห่างไกลภาวะสายตาเอียง
สรุปสาเหตุและแนวทางการรักษาภาวะสายตาเอียง
ภาวะสายตาเอียงภาวะที่เกิดขึ้นได้จากหลากหลายปัจจัยทั้งปัจจัยภายนอกอย่างการขยี้ตา การใช้สายตาหนักเกินไป อุบัติเหตุที่ส่งผลกระทบต่อดวงตา และปัจจัยภายในอย่างกรรมพันธุ์ ภาวะตาเหล่ และอื่น ๆ ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะมีวิธีแก้สายตาเอียงหลากหลายรูปแบบอย่างการทำเลสิกสายตาเอียง การตัดแว่น การใส่คอนแทคเลนส์ และอื่น ๆ แต่ภาวะนี้ก็ยังมีโอกาสที่จะกลับมาเป็นซ้ำได้ เพราะฉะนั้นเราจึงควรดูแลรักษาสายตาให้ดี ไม่ทำรุนแรงกับดวงตา และบำรุงสายตาด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์เสมอ เพราะตาของเรามีคู่เดียวการดูแลรักษาจึงดีกว่าการหาใหม่