หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
รวมข่าว บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

การตรวจโครโมโซมตัวอ่อนสำคัญอย่างไร ทำไมถึงควรคัดกรอง

โพสท์โดย tothemoon555

เลือกตรวจโครโมโซมตัวอ่อนเพื่อการตั้งครรภ์ที่สมบูรณ์ ลดเสี่ยงความผปิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกับลูกน้อย การตรวจแบบ PGT-A ดีหรือไม่ และใช้ระยะเวลาเท่าไหร่ เรามีคำตอบ


การตรวจโครโมโซมตัวอ่อนคืออะไร 

การตรวจโครโมโซมตัวอ่อนหรือการตรวจพันธุกรรมตัวอ่อนก่อนการฝังตัว (PGS หรือ PGT-A) คือการตรวจวินิจฉัยทางพันธุกรรมของตัวอ่อนเพื่อหาความผิดปกติหรือภาวะผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นเป็นการลดความเสี่ยง ลดอัตราการแท้งบุตร และคัดกรองตัวอ่อนที่สมบูรณ์ที่สุด เพิ่มโอกาสแก่การตั้งครรภ์ได้มากที่สุดย้ายกลับสู่มดลูกของมารดา เป็นกรรมวิธีเทคโนโลยีทางการแพทย์ในการพิจารณาคุณภาพของตัวอ่อนในการทำเด็กหลอดแก้วโดยเฉพาะ ซึ่งการตรวจโครโมโซมตัวอ่อนนั้นมีอยู่หลายแบบด้วยกัน

การตรวจประเภทนี้ช่วยให้รู้ผลได้ว่าโครโมโซมตัวอ่อนผิดปกติเกิดจากอะไร โดยการตรวจแบบ PGS จะเป็นการตรวจคัดกรองสำหรับคู่สมรสที่ไม่เคยมีประวัติโรคทางพันธุกรรมใดมาก่อนเพื่อเลือกตัวอ่อนที่ดี มีโอกาสตั้งครรภ์สำเร็จสูง การตรวจโครโมโซมตัวอ่อนแบบ PGT-A จะวิเคราะห์ความผิดปกติทางพันธุกรรมเพื่อหาตัวอ่อนที่มีความแข็งแรง ไม่มีความผิดปกติด้านโครโมโซม ส่วนการตรวจแบบ PGT-M จะเป็นการวินิจฉัยการกลายพันธุ์ของยีนเดี่ยวตัวอ่อน ตรวจหาความผิดปกติที่อาจถ่ายทอดสู่ลูกเพื่อลดความเสี่ยงในการให้กำเนิดบุตร


ใครบ้างที่ควรตรวจโครโมโซมตัวอ่อน

การตรวจโครโมโซมตัวอ่อนมีประโยชน์อย่างมากสำหรับครอบครัวหรือคู่สมรสที่กำลังวางแผนมีบุตร การปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญจะช่วยเพิ่มโอกาสให้การตั้งครรภ์นั้นสมบูรณ์ และป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับทารกในครรภ์ได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ การตรวจโครโมโซมตัวอ่อนยังเหมาะสำหรับ


ขั้นตอนการตรวจโครโมโซมตัวอ่อน

1. ขั้นตอนตรวจตัวอ่อนหลังปฏิสนธิ

ในขั้นตอนเริ่มแรกของการตรวจโครโมโซมตัวอ่อนนี้ จะเป็นการเลี้ยงตัวอ่อนหลอดแก้วที่เกิดหลังไข่กับอสุจิปฏิสนธิแล้วในห้องปฏิบัติการ โดยจะใช้ระยะเวลาประมาณ 5-6 วันหลังจากการปฏิสนธิในการเลี้ยงตัวอ่อนให้เจริญเติบโตจนถึงระยะที่เรียกว่า บลาสโตซิส (Blastocyst) ซึ่งเป็นระยะที่เหมาะสมในการเก็บเซลล์ไปตรวจ และมีเพียง 30-70% เท่านั้นที่สามารถเจริญเติบโตได้

2. ขั้นตอนเก็บเซลล์เพื่อทำการวินิจฉัย

หลังจากตัวอ่อนเติบโตจนถึงระยะ Blastocyst ซึ่งเป็นการฟักตัวจากเปลือกหุ้มแล้ว ในขั้นตอนถัดมาของการตรวจโครโมโซมตัวอ่อนจะเป็นการเก็บเซลล์ตัวอย่างของทุกตัวอ่อนนำไปตรวจวินิจฉัยทางพันธุกรรม โดยจะเลือกสุ่มตัดเซลล์ออกเพียงบางส่วนจากเซลล์ระยะตัวอ่อนที่กำลังพัฒนาไปเป็นรก

3. ขั้นตอนการตรวจเพื่อหาสารพันธุกรรม

เมื่อได้เซลล์บางส่วนมาตรวจวินิจฉัยแล้ว ขั้นตอนต่อมาคือกระบวนการเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมของตัวอ่อน หรือที่เรียกว่า Whole Genome Amplification (WGA) เป็นขั้นตอนตรวจโครโมโซมตัวอ่อนเพื่อศึกษาสารพันธุกรรมก่อนที่จะนำไปตรวจหาสารทางพันธุกรรมต่อไป

4. ขั้นตอนวิเคราะห์รหัสทางพันธุกรรม

สำหรับในขั้นตอนตรวจโครโมโซมตัวอ่อนนี้ จะเป็นการตรวจวิเคราะห์ศึกษาความผันแปรทางพันธุกรรมซึ่งต้องอาศัยความแม่นยำและความละเอียดสูง โดยจะเป็นการอ่านลำดับนิวคลีโอไทด์ หรือรหัสพันธุกรรมใน DNA ครบทุก 23 คู่รวมถึงโครโมโซมเพศ ซึ่งเรียกว่า Next Generation Sequencing (NGS) เพื่อคัดเลือกตัวอ่อนที่เหมาะสมเตรียมแช่แข็งสำหรับย้ายกลับตัวอ่อนสู่มดลูก

5. ขั้นตอนรายงานผลการตรวจ

เมื่อขั้นตอนตรวจคัดกรองโครโมโซมจบลง ทางผู้เชี่ยวชาญจะทำการวิเคราะห์ข้อมูลและรายงานผลตรวจอย่างชัดเจนให้แก่ผู้ตรวจ โดยระยะเวลาตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงจนจบกระบวนการตรวจโครโมโซมตัวอ่อน ทางผู้ตรวจจะได้รับผลภายใน 5-9 วันทำการ


ใช้ระยะเวลากี่วันจึงจะรู้ผลการตรวจโครโมโซมตัวอ่อน

โดยปกติแล้วในการตรวจโครโมโซมตัวอ่อน ผู้ตรวจจะได้รับผลการตรวจคัดกรองอยู่ที่ประมาณ 5-9 วันทำการ โดยอัตราความแม่นยำของผลการตรวจวิเคราะห์นั้นสูงมากกว่า 98% ทั้งนี้ทั้งนั้น หากตัวอ่อนที่ได้รับการเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการนั้นเติบโตถึงระยะ บลาสโตซิส (Blastocyst) ได้น้อย หรือผลการศึกษาตัวอ่อนที่ได้นั้นมีคุณภาพต่ำจนไม่มีตัวอ่อนที่เหมาะสมหรือผ่านการคัดเลือกสำหรับย้ายกลับสู่มดลูก ระยะเวลาในการตรวจทั้งหมดอาจจะนานขึ้นเพราะต้องเริ่มกระบวนการรอบใหม่ทั้งหมดนั่นเอง


สรุปตรวจโครโมโซมตัวอ่อนป้องกันความเสี่ยง

การตรวจโครโมโซมตัวอ่อนจึงถือเป็นวิธีการที่จะช่วยคัดกรองเกรดตัวอ่อนทั้งหมดในการทำหลอดแก้วเพื่อหาตัวอ่อนที่มีคุณภาพและเหมาะสมต่อการตั้งครรภ์ เพิ่มโอกาสสำเร็จ รวมทั้งป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นแก่ลูกน้อยในครรภ์ได้มากที่สุด ซึ่งคู่สมรสหรือครอบครัวที่มีความกังวลเกี่ยวกับโรคทางพันธุกรรมหรืออยู่ในภาวะมีบุตรยาก การปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญโดยวิธีการตรวจโครโมโซมตัวอ่อนจะช่วยให้การตั้งครรภ์และทารกที่เกิดนั้นมีสุขภาพแข็งแรง สมบูรณ์


เนื้อหาโดย: tothemoon555
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
tothemoon555's profile


โพสท์โดย: tothemoon555
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
รอยแยก "ลานหินแตก" ผาแต้ม – มหัศจรรย์ธรรมชาติแห่งอุบลราชธานี"รอยเลื่อน ในไทย" ที่อาจเกิดแผ่นดินไหวได้ในอนาคต"เชฟกระทะฮ้าง" เดือด! ผ่อนมือถือไม่ได้ ติดเครดิตบูโร ลั่น! ชี้นิ้วถึงผู้บริหารบริษัทมือถือ?ทึ่งทั่วไทย : คูเมืองเชียงใหม่ หนึ่งในสัญลักษณ์สำคัญของเมืองเชียงใหม่เพจ The Phnom Penh Post สรุปยอดนักท่องเที่ยวที่ไปประเทศกัมพูชา ในช่วงไตรมาศแรกของปีนี้ ว่ามีนักท่องเที่ยวไปกันอย่างคึกคักมาแล้ว! อาหารแปลกอาหารแพง กิโลละ 3,000 บาท "แมงมัน" (มีคลิป)รัฐบาลเมียนมาสั่งหยุดยิงชั่วคราว จนถึง 22 เม.ย เปิดทางให้หน่วยกู้ภัยเข้าช่วยผู้ประสบภัยแผ่นดินไหว 😏“แผนที่สมบัติปลอม” ต้มตุ๋นเหยื่อหลายสิบราย สูญเงินกว่า 40 ล้านบาทความในใจของผู้หญิงอย่างเราๆ ที่อยากจะบอกคุณผู้ชายทุกคนรวมภาพตลก ฮาเฮ น่ารัก ประจำวันนี้ 04/04/68 เลขสวยอยู่นะเนี่ย วันนี้หนุ่ม 18 ดวงดีเจอของโบราณ ขณะเที่ยวกับครอบครัวเกิดอะไรขึ้น? ครูไพบูลย์ ไลฟ์เครียด ประกาศขายบ้าน-ที่ดินด่วน!
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
ความในใจของผู้หญิงอย่างเราๆ ที่อยากจะบอกคุณผู้ชายทุกคนdifficulty: ความยากลำบาก อุปสรรคสายการบินมะกัน เปิดเส้นทางบินใหม่มากรุงเทพสุดยอดเห็ดหายาก! ทรัฟเฟิลดำยักษ์หนัก 1.71 กก. ค้นพบในอวิ๋นหนาน มูลค่าทะลุเฉียดแสนบาท"เชฟกระทะฮ้าง" เดือด! ผ่อนมือถือไม่ได้ ติดเครดิตบูโร ลั่น! ชี้นิ้วถึงผู้บริหารบริษัทมือถือ?
กระทู้อื่นๆในบอร์ด โฆษณา ประชาสัมพันธ์
แอร์เคลื่อนที่ยี่ห้อไหนดี คู่มือเลือกซื้อ ข้อดี-ข้อเสีย และการบำรุงรักษาแอร์ 12000 BTU กินไฟไหม พร้อมแนะวิธีเปิดแอร์ให้ประหยัดไฟก้านไม้กอล์ฟคืออะไร พร้อมแนะนำวิธีเลือกก้านไม้กอล์ฟให้ดีวิตามินบีรวมคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร กินแล้วช่วยอะไรได้บ้าง
ตั้งกระทู้ใหม่