ฝ้า ปัญหาบนใบหน้า เผยวิธี "ดูแล" ให้ผิวหน้ากลับมากระจ่างใส
ฝ้าคืออะไร มีกี่ชนิด ฝ้าเกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง มีวิธีป้องกันและรักษาฝ้าอย่างไรให้ได้ตรงจุด ทำให้ใบหน้ากลับมากระจ่างใสดั่งเดิม และวิธีดูแลไม่ให้ฝ้ากล้บมาใหม่
เคยไหม? ที่มองกระจกแล้วรู้สึกหน้าหมองคล้ำ รู้สึกไม่มั่นใจ แต่งหน้าแล้วปิดฝ้าไม่มิด กลัวแดด
ลองรักษามาหลายวิธีแต่ไม่ดีขึ้น! ฝ้าเป็นปัญหาผิวหน้าที่หลายคนต้องเผชิญ โดยเฉพาะในผู้หญิงที่ต้องการผิวหน้าเรียบเนียนกระจ่างใส หน้าเป็นฝ้าทำให้ความมั่นใจลดลง รู้สึกไม่สบายใจในการพบปะผู้คน แต่รู้หรือไม่ว่ามีวิธีรักษาฝ้ามากมาย สามารถช่วยให้ผิวของคุณกลับมาเปล่งประกายได้อีกครั้ง?
บทความนี้ จะพาไปรู้จักกับฝ้า สาเหตุ วิธีรักษา วิธีป้องกัน รวมทั้งข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ทุกท่านสามารถ ดูแล รักษา ป้องกันฝ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ มาร่วมค้นหาวิธีที่ดีที่สุด เพื่อคืนความมั่นใจและความงามให้กับผิวหน้าของคุณกันเถอะ! พร้อมแล้วไปดูกันเลย
ฝ้าคืออะไร มีลักษณะอย่างไร
ฝ้า คือ ภาวะที่เซลล์สร้างเม็ดสีใต้ผิวหนังทำงานมากขึ้น จึงมีเม็ดสีหรือเมลานินมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้เกิดจุดหรือเกิดแผ่นสีเข้มบริเวณผิวหนังบนใบหน้าเรียกว่า "ฝ้า"
ลักษณะของฝ้า (Melasma)
- เป็นปื้นสีเข้มกว่าผิว เฉดสีไล่ตั้งแต่สีน้ำตาลอ่อนไปจนถึงสีน้ำตาลเข้ม หรือดำ
- มักพบฝ้าบริเวณที่ร่างกายสัมผัสแสงแดด เช่น ใบหน้า หน้าผาก โหนกแก้ม จมูก เหนือริมฝีปากบน หรือคาง เป็นต้น
- ฝ้ามักเริ่มเป็นเมื่ออายุ 30 ปี ขึ้นไป
- พบได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย แต่ส่วนใหญ่พบในวัยกลางคน อายุประมาณ 30-40 ปี
ฝ้าเกิดจากปัจจัยอะไรได้บ้าง
ฝ้า เป็นปัญหาผิวหน้าพบได้บ่อยและสามารถเกิดจากหลายปัจจัย การเข้าใจสาเหตุทำให้เกิดฝ้าจะช่วยให้สามารถป้องกัน หรือรักษาได้อย่างถูกวิธี ลองมาดูกันว่ามีปัจจัยใดบ้างกระตุ้นให้เกิดฝ้าได้บ้าง
- แสงแดด: แสงแดดเป็นปัจจัยหลักกระตุ้นให้เกิดฝ้า โดยเฉพาะรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) สามารถกระตุ้นการผลิตเมลานินในผิวหนัง
- ฮอร์โมน: การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เช่น ตั้งครรภ์ ใช้ยาคุมกำเนิด หรือใช้ฮอร์โมนทดแทน
- พันธุกรรม: บุคคลมีประวัติครอบครัวเป็นฝ้า สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดฝ้าได้
- ยาบางชนิด: ใช้ยาบางประเภท เช่น ยาปฏิชีวนะบางชนิด ยารักษาโรคจิต หรือยากันชัก
- ใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่ระคายเคือง: สารเคมีในผลิตภัณฑ์บางชนิดอาจทำให้ผิวเกิดการระคายเคืองหรือกระตุ้นการเกิดฝ้า
- โรคบางชนิด: โรคแอดดิสัน โรคไตเรื้อรัง โรคต่อมไทรอยด์
- การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ: เช่น ทำงานกลางแจ้งต้องสัมผัสแสงแดดเป็นเวลานานทำให้เกิดฝ้าแดดได้
- ปัจจัยอื่นๆ: ความเครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ หรือสูบบุหรี่
การทราบและหลีกเลี่ยงปัจจัยเหล่านี้สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดฝ้าได้
ฝ้าแบ่งออกเป็นกี่ชนิด อะไรบ้าง
ฝ้ามีหลายชนิดสามารถแบ่งตามลักษณะ ความลึกของเม็ดสีที่สะสมในผิวหนัง การรู้จัก เข้าใจชนิดของฝ้าเป็นสิ่งสำคัญในการเลือกวิธีการรักษาได้เหมาะสม รวมทั้งมีประสิทธิภาพมากที่สุด เพื่อให้คุณได้รู้จักฝ้าในมุมมองที่ลึกขึ้น ในหัวข้อนี้จะแบ่งฝ้าแดดออกเป็น 3 ชนิดหลักและลักษณะเฉพาะของแต่ละชนิดได้ดังนี้
ฝ้าลึก (Dermal melasma)
- ลักษณะ:เกิดขึ้นบริเวณชั้นหนังแท้ (dermis) ใต้หนังกำพร้าชั้นลึกลงไปของผิวหนัง ทำให้สีของฝ้าดูจางกว่าและขอบเขตไม่ชัดเจน สังเกตได้ว่าฝ้าชนิดนี้จะกลืนไปกับผิวหน้าเป็นบริเวณกว้าง
- สี: มักมีสีน้ำตาลอ่อน สีเทา สีเทาอมฟ้า
- การตอบสนองต่อวิธีรักษา: รักษาได้ยากกว่าฝ้าตื้น ใช้เวลารักษานานกว่า ไม่ค่อยหายขาด
- พบได้บ่อยฝ้าตรงโหนกแก้ม ฝ้าที่หน้าผาก จมูก และคาง
ฝ้าตื้น (Epidermal melasma)
- ลักษณะ: เกิดขึ้นบริเวณชั้นหนังกำพร้า (epidermis) ชั้นนอกสุดของผิวหนัง ทำให้มองเห็นเป็นสีเข้ม ชัดเจน เป็นฝ้าชนิดพบได้บ่อย เกิดขึ้นได้ง่าย
- สี: มักมีสีน้ำตาลเข้ม ขอบเขตชัดเจน
- การตอบสนองต่อวิธีรักษา: รักษาให้จางลงได้ง่าย ตอบสนองดีต่อการรักษาด้วยครีมทาฝ้า หรือการทำเลเซอร์
- พบได้บ่อยฝ้าตรงโหนกแก้ม ฝ้าที่หน้าผาก จมูก เหนือริมฝีปากบน และคาง
ฝ้าผสม (Mixed melasma)
- ลักษณะ: มีเม็ดสีสะสมทั้งในชั้นหนังกำพร้าและชั้นหนังแท้ เป็นการผสมของฝ้าทั้งสองแบบ ทำให้มีลักษณะของทั้งฝ้าตื้น ฝ้าลึก ลักษณะจะเป็นสีเข้ม แต่ขอบจาง
- สี: มีทั้งสีน้ำตาลเข้ม สีน้ำตาลเทาหรือฟ้าเทาปะปนกัน
- การตอบสนองต่อวิธีรักษา: ต้องใช้การรักษาหลายวิธีร่วมกันทั้งฝ้าลึก และฝ้าตื้น เพื่อให้ได้ผลดีที่สุด
- พบได้บ่อยฝ้าตรงโหนกแก้ม ฝ้าที่หน้าผาก จมูก และคาง
นอกจากนี้ ยังมีฝ้าชนิดต่าง ๆ เช่น
- ฝ้าฮอร์โมน (Hormonal Melasma) เกิดจากเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย เช่น ระหว่างตั้งครรภ์ หรือใช้ยาคุมกำเนิด มีสีน้ำตาลอ่อนถึงน้ำตาลเข้ม การตอบสนองต่อวิธีรักษาคือปรับฮอร์โมนในร่างกายร่วมกับการใช้ผลิตภัณฑ์ทาฝ้าสามารถช่วยได้
- ฝ้าเทียม (Confluent reticular melasma) ฝ้าชนิดนี้พบได้น้อย มีลักษณะเป็นรอยเส้นสีน้ำตาลหรือสีเทา กระจายอยู่ทั่วใบหน้า
- ฝ้าเลือด (Vascular melasma) เกิดจากความผิดปกติของเส้นเลือดฝอยบนใบหน้า มักมีสีแดง ชมพู หรือสีแดงปนน้ำตาล ขอบเขตชัดเจน พบได้บ่อยบริเวณโหนกแก้ม จมูก และเป็นฝ้าที่แก้ม
วิธีป้องกันฝ้า ให้ได้ผล
การป้องกันฝ้าเป็นเรื่องสำคัญที่สามารถทำได้ง่ายและช่วยลดโอกาสในการเกิดฝ้าใหม่ การดูแลผิวอย่างถูกต้องและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเล็กๆ น้อยๆ ในชีวิตประจำวัน สามารถช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงเกิดฝ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ วิธีป้องกันฝ้า ทำได้ดังนี้
- ใช้ครีมกันแดดทุกวัน: เลือกครีมกันแดดที่มี SPF สูง ป้องกันได้ทั้ง UVA และ UVB ควรทาครีมกันแดดอย่างน้อย 15-30 นาทีก่อนออกแดดและทาซ้ำทุก 2 ชั่วโมง
- หลีกเลี่ยงสัมผัสแสงแดดโดยตรง: โดยเฉพาะช่วงเวลา 10.00 น. ถึง 16.00 น. แสงแดดแรงที่สุด หากจำเป็นต้องออกแดด ควรใส่หมวกปีกกว้าง หรือใช้ร่ม ป้องกันหน้าเป็นฝ้า
- ใส่เสื้อผ้าป้องกันแสงแดด: เลือกใส่เสื้อผ้ามีเนื้อผ้าทึบ ปกปิดผิวหนังเพื่อป้องกันแสงแดด
- หลีกเลี่ยงใช้เครื่องสำอางที่ระคายเคือง: เลือกใช้ผลิตภัณฑ์อ่อนโยนต่อผิว ปราศจากสารที่ก่อให้เกิดระคายเคือง เช่น แอลกอฮอล์ น้ำหอม และงดสูบบุหรี่กระตุ้นให้เกิดฝ้า
- รับประทานอาหารมีประโยชน์: อาหารมีวิตามินซี วิตามินอี เบต้าแคโรทีน สารต้านอนุมูลอิสระ เช่น ผักและผลไม้ ดื่มน้ำให้เพียงพอ ช่วยให้ผิวแข็งแรง ทนทานต่อแสงแดด เป็นการรักษาฝ้าด้วยตัวเอง
- หลีกเลี่ยงความเครียด: ความเครียดสามารถกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนทำให้เกิดฝ้า ควรหากิจกรรมผ่อนคลาย เช่น ออกกำลังกาย นั่งสมาธิ ทำโยคะ หรือพักผ่อนให้เพียงพอ
- ปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ฮอร์โมน: หากต้องใช้ยาฮอร์โมนหรือยาคุมกำเนิด ควรปรึกษาแพทย์เพื่อเลือกวิธีเหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดฝ้า
- ดูแลผิวด้วยผลิตภัณฑ์บำรุงที่เหมาะสม: ใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่ช่วยเสริมสร้างเกราะป้องกันผิว เช่น มอยส์เจอไรเซอร์ เซรั่มมีส่วนผสมของสารต้านอนุมูลอิสระ หรือเซรั่มลดฝ้า
การปฏิบัติตามวิธีเหล่านี้จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดฝ้าและรักษาสภาพผิวที่ดีได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วิธีดูแลรักษาฝ้าให้ตรงจุด
ฝ้าเป็นปัญหาผิวหนังพบได้บ่อย การรักษาฝ้าจึงเป็นเรื่องสำคัญมีหลายคนต้องการหาวิธีเหมาะสม เพื่อลดเลือนรอยฝ้าและคืนความกระจ่างใสให้กับผิวหน้า ปัจจุบันมีวิธีรักษาฝ้าหลากหลายรูปแบบ ซึ่งสามารถเลือกใช้ตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล ดังนี้
ลอกผิว (Chemical Peeling)
การลอกผิว เป็นวิธีการใช้สารเคมี เช่น กรดไกลโคลิก กรดซาลิไซลิก หรือกรดไตรคลอโรอะซิติก (TCA) เพื่อทำการลอกผิวหนังชั้นนอกที่มีเม็ดสีสะสมอยู่ วิธีนี้ช่วยผลัดเซลล์ผิวเก่ากระตุ้นสร้างเซลล์ผิวใหม่ ลดเลือนฝ้า กระ จุดด่างดำ เหมาะกับฝ้าตื้น ผิวมัน ต้องการผลัดเซลล์ผิว ทำให้ผิวดูเรียบเนียนและสีผิวสม่ำเสมอมากขึ้น ควรทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ อาจทำให้ผิวไวต่อแสงแดด ระคายเคือง
เลเซอร์ (Laser Therapy)
การทำเลเซอร์ เป็นวิธีใช้แสงเลเซอร์ทำลายเม็ดสีเมลานินในผิวหนัง มีหลายประเภทของเลเซอร์ที่ใช้รักษาฝ้า เช่น Q-switched Nd, Fractional CO2 Laser หรือ Intense Pulsed Light (IPL) วิธีนี้ช่วยลดเลือนรอยฝ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ กระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ทำให้ผิวเรียบเนียน กระจ่างใส เหมาะกับฝ้าทุกชนิด เห็นผลเร็ว แต่ต้องทำหลายครั้ง ค่าใช้จ่ายสูง ควรทำโดยผู้เชี่ยวชาญเพื่อป้องกันผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
ฉีดเมโส (Mesotherapy)
การฉีดเมโส เป็นวิธีการฉีดสารต่างๆ เช่น วิตามินแร่ธาตุ กรดไฮยาลูโรนิก และสารลดเม็ดสี เข้าสู่ชั้นผิวหนัง วิธีนี้ช่วยบำรุงผิวลดเลือนรอยฝ้า กระ จุดด่างดำและปรับสีผิวให้สม่ำเสมอ เมโสจะช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิว เหมาะกับฝ้าตื้น ผิวแห้ง ต้องการบำรุงผิว เห็นผลช้า ต้องฉีดหลายครั้ง ค่าใช้จ่ายสูง อาจทำให้ผิวระคายเคือง
ยาทาและยารับประทาน
ยาทา: ยาทาที่มีสารลดเม็ดสี เช่น ยากลุ่มไฮโดรควิโนน, กรดโคจิก, กรดทรานเนซามิก และเรตินอยด์ ใช้ยาทาช่วยลดการสร้างเมลานิน ลดเลือนฝ้า กระ จุดด่างดำ ช่วยให้ผิวหน้าดูกระจ่างใสขึ้น
ยารับประทาน: ยารับประทานเช่น ยาต้านฮิสตามีน ยาแก้อักเสบ กลูตาไธโอน, วิตามินซี, กรดทรานเนซามิก เหมาะกับฝ้าตื้น ช่วยลดการสร้างเมลานินและช่วยให้ผิวดูสว่างใสขึ้น
สกินแคร์ (Skincare)
การใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว (Skincare) ที่มีส่วนผสมของสารลดเม็ดสี หรือสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น วิตามินซี, วิตามินอี, และสารสกัดจากพืช สามารถช่วยบำรุงผิว เพิ่มความชุ่มชื้น ปรับสีผิวให้สม่ำเสมอ ลดเลือนรอยฝ้า กระ จุดด่างดำได้ ใช้สกินแคร์อย่างต่อเนื่องเป็นวิธีที่อ่อนโยน ปลอดภัยในการรักษาฝ้า
วิธีสกินแคร์เหมาะกับทุกสภาพผิว
การรักษาฝ้าควรได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังเพื่อเลือกวิธีที่เหมาะสมที่สุดสำหรับแต่ละบุคคล ทั้งนี้ การดูแลผิวและป้องกันฝ้าในชีวิตประจำวันก็เป็นสิ่งสำคัญในการรักษาผิวให้อยู่ในสภาพดีและลดโอกาสในการเกิดฝ้าใหม่