Carbon Footprint คืออะไร? ความเชื่อมโยงระหว่างก๊าซคาร์บอนกับการทำธุรกิจ
ในปัจจุบันการดำเนินธุรกิจต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หนึ่งในนั้นคือเรื่องของการปล่อยก็าซคาร์บอนขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่ง Carbon Footprint คือค่าปริมาณของก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปล่อยออกมาสู่ชั้นบรรยากาศจากการกระทำของมนุษย์ ซึ่ง Carbon Footprint สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยทั้งการใช้ชีวิตประจำวัน และการทำธุรกิจในรูปแบบอุตสาหกรรม บทความนี้เราจะมาพูดถึงความหมายและความสำคัญของ Carbon Footprint ทำไมองค์กรถึงต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ ถ้าอยากรู้กันแล้วว่า Carbon Footprint คืออะไร สามารถติดตามต่อได้ในเนื้อหาด้านล่าง
Carbon Footprint คืออะไร? เกิดขึ้นจากอะไร
รอยเท้าคาร์บอน หรือ Carbon Footprint คือก๊าซเรือนกระจกที่ถูกผลิตขึ้นมาจากการกระทำของมนุษย์ ทั้งจากการใช้ชีวิตประจำวันอย่างการเดินทาง การอยู่อาศัย การทานอาหาร และการประกอบธุรกิจทั้งประเภทการขายสินค้าและการให้บริการ สิ่งนี้ส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อน อากาศผันผวน ความสมดุลของธรรมชาติที่ขาดหาย และอื่น ๆ อีกมากมาย
หลายท่านอาจคิดว่าก๊าซเรือนกระจกจากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ หมายถึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซน์อย่างเดียวเท่านั้น แต่ความจริงแล้วคาร์บอนฟุตพริ้นท์ คือก๊าซที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน 7 ชนิดได้แก่ ก๊าซซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์, ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์, ก๊าซมีเทน, กลุ่มก๊าซไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน, ก๊าซไนตรัสออกไซด์, ก๊าซไนโตรเจนไตรฟลูออไรด์ และกลุ่มก๊าซเปอร์ฟลูออโรคาร์บอน เราจึงสรุปได้ว่า Carbon Footprint คือก๊าซที่เป็นสาเหตุหลักของปัญหาภาวะโลกร้อน
การแบ่งประเภทของ Carbon Footprint
หลังจากทราบกันแล้วว่าคาร์บอนฟรุตปริ้นคืออะไร หัวข้อนี้เราจะมาอธิบายวิธีการแบ่งประเภทของ Carbon Footprint กันบ้าง Carbon Footprint คืออะไร มีแนวทางการแบ่งประเภทอย่างไร มาดูกัน
คาร์บอนฟรุตปริ้นขององค์กร (Carbon Footprint For Organization)
Carbon Footprint Organization คืออัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กรผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ในธุรกิจ เช่น การใช้ความร้อน การใช้ไฟฟ้า การเผาไหม้ การใช้วัสดุอุปกรณ์สำนักงาน และอื่น ๆ ซึ่ง Carbon Footprint ขององค์กรจะสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทผ่านการทำ Carbon Emission คือการประเมินการปล่อยก๊าซโดยใช้ Score ในการวัด
คาร์บอนฟรุตปริ้นของการบริการ (Carbon Footprint Of Service)
Carbon Footprint of Services หรือ Service Carbon Footprint คือ ก๊าซคาร์บอนที่ถูกปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศจากธุรกิจการบริการ เช่น การเดินทาง การขนส่ง การก่อสร้าง และอื่น ๆ
คาร์บอนฟรุตปริ้นของผลิตภัณฑ์ (Carbon Footprint Of Product)
Carbon Footprint of Product คือ ก๊าซที่เกิดขึ้นจากธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์ คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ คือก๊าซที่เกิดขึ้นจากการผลิตทั้งหมด เช่น คาร์บอนฟุตพริ้นท์อาหาร คาร์บอนฟุตพริ้นท์เสื้อผ้า คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของใช้ส่วนตัว และอื่น ๆ อย่างที่เราบอกไปว่า Carbon Footprint คือสิ่งที่วัดค่าได้ ค่าของ Carbon Footprint Of Product จึงมักจะถูกกำกับอยู่บนสินค้าเป็นฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นต์
ความสำคัญของ Carbon Footprint คืออะไร ทำไมผู้ทำธุรกิจต้องให้ความสำคัญ
หลังจากทราบกันแล้วว่า Carbon Footprint คืออะไร Carbon Footprint แปลว่าอะไร มีเกณฑ์การแบ่งประเภทอย่างไร หลายท่านคงมีคำถามว่าประโยชน์ของคาร์บอนฟุตพริ้นท์คืออะไร หน่วยของ Carbon Footprint คืออะไรวัดอย่างไร แล้วคาร์บอนฟุตพริ้นท์ประโยชน์มีอะไรบ้าง เราจะมาตอบทุกข้อสงสัยของทุกท่านกันในหัวข้อนี้
- ทำให้ภาพลักษณ์องค์กรณ์ดีขึ้น ช่วยเพิ่มความมั่นใจให้ผู้บริโภค: CFV คือการทดสอบด้านความโปร่งใสขององค์กรผ่าน Carbon Footprint Scope ซึ่ง Carbon Footprint Scope 1 2 3 คือเกณฑ์การคำนวณค่าการปล่อย Carbon Footprint ของธุรกิจ การที่ธุรกิจมีการคำนวณ Carbon Footprint Scope อย่างชัดเจนนั้น สามารถเพิ่มภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร และยังช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้บริโภคได้อีกด้วย
- ลดการทำลายสิ่งแวดล้อม: Carbon Footprint คือเกณฑ์การวัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การที่องค์กรมีการวัดค่าการปล่อยก๊าซจะช่วยให้องค์กรสามารถควบคุมการปล่อยก๊าซในปริมาณที่เหมาะสมได้
สรุปแล้ว Carbon Footprint คืออะไร?
หลังจากอ่านบทความนี้จนจบทุกท่านคงทราบกันแล้วว่า Carbon Footprint คืออะไร แต่สำหรับท่านที่ยังรู้สึกงุนงงกับข้อมูลเราจะมาสรุปให้ Carbon Footprint คือก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์ที่แบ่งประเภทได้ตามสาเหตุของการเกิด ซึ่ง Carbon Footprint คือหนึ่งในสิ่งสำคัญที่องค์กรควรคำนึงถึง
จากปัญหาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันที่ทำให้ผู้คนมากมาย เริ่มคำนึงถึงปัญหาที่ตามมากับภาวะโลกร้อน องค์กรที่มีฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นต์และสินค้าที่มีฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ จึงเป็นที่ยอมรับในหมู่ผู้บริโภคในยุคนี้ เพราะฉะนั้นเราจึงสรุปได้ว่า Carbon Footprint for Organization คือสิ่งที่องค์กรไม่ควรมองข้าม