หัวใจเต้นผิดจังหวะอย่ามองข้าม! เช็กโรคเสี่ยง และวิธีการรักษาที่นี่
เพราะภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะนั้นอาจเป็นอันตรายมากกว่าที่คุณคิด! ดังนั้นคุณจึงไม่ควรมองข้ามอย่างเด็ดขาด โดยบทความนี้เราจะพาคุณไปเช็กโรคเสี่ยงที่อาจทำให้คุณมีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ รวมถึงแนะนำวิธีการรักษา ที่อาจทำให้คุณมีโอกาสหายขาดจากโรคได้มากถึง 98% เลยทีเดียว ไปดูกันเลยว่าหัวใจเต้นผิดจังหวะจะเป็นโรคอะไร อันตรายแค่ไหน และจะมีวิธีการรักษาอย่างไรได้บ้าง
หัวใจเต้นผิดจังหวะเป็นโรคอะไร?
ต้องบอกก่อนว่าประเภทของหัวใจเต้นผิดจังหวะนั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท นั่นก็คือการเต้นผิดจังหวะชนิดช้า และการติดผิดจังหวะชนิดเร็ว ซึ่งโดยปกติแล้วแพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยว่าคุณเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะประเภทไหน โดยแพทย์จะทำการหาจุดกำเนิดไฟฟ้าที่ทำให้เกิดอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะนั้นๆ
หัวใจเต้นผิดจังหวะอันตรายไหม?
อาการเหล่านี้อันตรายถึงชีวิตเลยทีเดียว เพราะโรคที่มาพร้อมกับหัวใจเต้นผิดจังหวะก็คือโรคที่เรียกว่าโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะนี่แหละ ทั้งนี้ทั้งนั้น การได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วก็มีโอกาสทำให้คุณหายขาดได้ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเต้นผิดจังหวะนั้นเกิดจากการที่การสูบฉีดเลือดจากหัวใจไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้คนที่มีอาการเหล่านี้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว หลอดเลือดสมองอุดตัน และอาจทำให้เสียชีวิตได้
วิธีการรักษา
ปัจจุบันมีวิธีการรักษาโรคที่ทำให้คุณมีโอกาสหายขาดได้มากถึง 98% โดยจะเป็นการใช้เทคโนโลยีจี้ไฟฟ้าหัวใจ หรือ 2D Electrophysiology Study ซึ่งเป็นการตรวจประเมินสัญญาณไฟฟ้าหัวใจเพื่อหาสาเหตุ และมีข้อดีตรงที่การรักษาแบบนี้นั้นได้ผลเลยทันที และอีกวิธีก็คือ 3D System ซึ่งจะเป็นการแสดงผลแบบ 3D หรือเรียลไทม์ หรือที่ทางการแพทย์เรียกว่าเป็นการจี้ไฟฟ้าหัวใจนั่นเอง
ถึงแม้ว่าโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะนั้นจะเป็นโรคที่ค่อนข้างมีความอันตรายมากเลยทีเดียว แต่ด้วยวิวัฒนาการ และความก้าวหน้าในด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ ก็ทำให้การรักษานั้นมีความแม่นยำ และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่วนใครที่ยังไม่มีอาการ ก็แนะนำว่าให้หมั่นออกกำลังกาย ทำกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย หรือกิจกรรมที่ช่วยคลายความเครียด รวมถึงหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์ เพียงเท่านี้ก็จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้มากเลยล่ะ