ขยะอันตรายคืออะไร ตัวอย่างขยะอันตรายรอบตัวที่ควรรู้
ขยะอันตราย วัสดุหรือสิ่งของที่มีองค์ประกอบหรือปนเปื้อนด้วยสารเคมีที่มีคุณสมบัติเป็นพิษ เมื่อถูกทิ้งอย่างไม่ถูกวิธี จะทำให้เกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
ในปัจจุบันขยะอันตราย กลายเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ทวีความรุนแรงขึ้นในสังคมไทย เมื่อความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการบริโภคเพิ่มสูงขึ้น ขยะอันตรายจึงมากขึ้นตาม โดยประเภทขยะอันตรายมีอะไรบ้าง ที่พบได้ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นแบตเตอรี่ หลอดไฟ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ สารเคมี หรือภาชนะบรรจุสารพิษต่าง ๆ ล้วนส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและสุขภาพของมนุษย์เรา
เมื่อขยะอันตรายถูกทิ้งปะปนกับขยะทั่วไป จะก่อให้เกิดขยะปนเปื้อนที่ยากต่อการกำจัด สารพิษเหล่านี้สามารถรั่วไหลลงสู่แหล่งน้ำ ดิน และอากาศ ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อาหารและระบบนิเวศโดยตรง การจัดการขยะอันตรายควรเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของทุกภาคส่วนในสังคม ตั้งแต่ผู้ผลิต ผู้บริโภค และภาครัฐ เพื่อสร้างระบบการจัดการอย่างถูกต้อง มาทำความรู้จักขยะอันตรายให้มากยิ่งขึ้นได้ในบทความนี้
ขยะอันตราย คืออะไร
ขยะอันตราย คือวัสดุหรือสิ่งของที่มีองค์ประกอบหรือปนเปื้อนด้วยสารเคมีที่มีคุณสมบัติเป็นพิษ กัดกร่อน ติดไฟง่าย หรือมีปฏิกิริยาเคมีที่รุนแรง เมื่อถูกทิ้งรวมกับขยะทั่วไปหรือถูกกำจัดอย่างไม่ถูกวิธี จะทำให้เกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ขยะมีพิษเหล่านี้มักมีสารอันตรายเช่น โลหะหนัก (ตะกั่ว ปรอท แคดเมียม) สารเคมีกำจัดศัตรูพืช หรือสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่ายที่สามารถแพร่กระจายสู่ดิน น้ำ และอากาศ
ตัวอย่างขยะอันตราย มีอะไรบ้าง
ขยะอันตรายสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่ สารแมงกานีส สารปรอท สารตะกั่ว และสารพิษอื่น ๆ ซึ่งล้วนเป็น ขยะปนเปื้อนสารเคมี ที่ส่งผลร้ายต่อสุขภาพมนุษย์และสิ่งแวดล้อมโดยตรง รายละเอียดว่าขยะ 4 ประเภทมีอะไรบ้าง และอยู่ในผลิตภัณฑ์แบบไหน มีดังนี้
แบตเตอรี่
แบตเตอรี่และถ่านไฟฉายทุกชนิดมีส่วนประกอบของสารตะกั่ว แคดเมียม และสารเคมีอันตรายที่สามารถรั่วไหลออกมาเมื่อถูกทิ้งในสภาพแวดล้อม เมื่อเกิดการปนเปื้อนในดินและแหล่งน้ำ สารพิษเหล่านี้จะเข้าสู่ห่วงโซ่อาหารและสะสมในร่างกายสิ่งมีชีวิต ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรง เช่น ความผิดปกติของระบบประสาท ไตวาย และมะเร็ง
กระป๋องสี
กระป๋องสีส่วนใหญ่มีสารตะกั่ว ปรอท และสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย ที่เป็นอันตรายต่อระบบหายใจและระบบประสาท ถ้าสัมผัสกับสารเหล่านี้เป็นเวลานานอาจทำให้เกิดอาการวิงเวียน ปวดศีรษะ คลื่นไส้ และในกรณีรุนแรงอาจส่งผลต่อการทำงานของตับและไต
หลอดไฟ
หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ หลอดตะเกียบ และหลอดไฟประเภทอื่น ๆ มีสารปรอทเป็นส่วนประกอบซึ่งเป็นพิษร้ายแรงต่อระบบประสาทและสมอง เมื่อหลอดไฟแตกหัก สารปรอทจะระเหยเข้าสู่อากาศหรือปนเปื้อนในดินและน้ำ ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและสุขภาพมนุษย์ โดยเฉพาะในเด็กและสตรีมีครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูงต่อพิษของสารปรอท
เครื่องสำอาง
เครื่องสำอางหมดอายุหรือเสื่อมสภาพจะมีสารเคมีและวัตถุกันเสียที่สามารถก่อให้เกิดการระคายเคืองผิวหนัง การแพ้ และปัญหาสุขภาพอื่น ๆ บางผลิตภัณฑ์อาจมีโลหะหนัก เช่นตะกั่วและปรอทเป็นส่วนผสม การทิ้งเครื่องสำอางปนกับขยะทั่วไปทำให้สารเคมีรั่วไหลสู่สิ่งแวดล้อม นำไปสู่การปนเปื้อนในแหล่งน้ำและดิน
ยาฆ่าแมลง
ผลิตภัณฑ์กำจัดแมลงมีส่วนประกอบของสารเคมีที่เป็นพิษสูงต่อระบบประสาทและอวัยวะภายใน ทั้งภาชนะบรรจุและสารตกค้างสามารถปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมได้เป็นเวลานาน ส่งผลกระทบต่อแมลงที่มีประโยชน์ สัตว์น้ำ และระบบนิเวศโดยรวม ถ้าสัมผัสกับสารเหล่านี้อาจทำให้เกิดอาการแสบร้อน ระคายเคือง หายใจลำบาก และในบางกรณีที่รุนแรงอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต
ขยะอันตรายมีจุดสังเกตอย่างไร
เราจะรู้ได้ไงว่าขยะอันตรายยังไง และขยะมีพิษมีอะไรบ้างที่อยู่รอบ ๆ ตัวเรา? แนะนำการสังเกตสัญลักษณ์ขยะอันตรายที่พบได้บนผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อให้สามารถแยกทิ้งได้อย่างปลอดภัยดังนี้
- ดูสัญลักษณ์บนบรรจุภัณฑ์ ขยะอันตรายส่วนมากจะมีสัญลักษณ์เตือน เช่น รูปเปลวไฟเป็นสารไวไฟ รูปหัวกะโหลกไขว้เป็นสารพิษ รูประเบิด หรือรูปมือโดนน้ำกรด ซึ่งบ่งบอกถึงอันตรายของสารที่อยู่ภายใน
- อ่านคำเตือนหรือข้อความกำกับ บนฉลากมีคำเหล่านี้อยู่บนผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์อย่างชัดเจน ได้แก่คำว่า DANGER TOXIC CORROSIVE หรือ FLAMMABLE ซึ่งช่วยให้รู้ว่าสารในผลิตภัณฑ์นั้นจัดอยู่ในกลุ่มขยะอันตรายหรือไม่
ขยะอันตราย อย่าลืมแยกขยะกันก่อนทิ้ง
ขยะอันตรายเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ทุกคนต้องตระหนักและให้ความสำคัญ เพราะสารพิษในขยะเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและสุขภาพของมนุษย์เรา การคัดแยกขยะอันตรายออกจากขยะทั่วไปจึงเป็นขั้นตอนสำคัญในการลดมลพิษและป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น
ขยะอันตราย กำจัดอย่างไรให้ถูกต้อง? โดยเราควรนำไปทิ้งที่จุดรวบรวมขยะอันตรายที่หน่วยงานท้องถิ่นจัดไว้ หรือนำส่งในโครงการรับคืนผลิตภัณฑ์ของผู้ผลิต นอกจากนี้ ในชีวิตประจำวันเราสามารถลดการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสารอันตรายโดยเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้ด้วยเช่นกัน

