อาการปวดท้องบิด ตรงกลาง เป็นๆหายๆ เรื่องไม่เล็กที่ควรใส่ใจ!
อาการปวดท้องบิดตรงกลางเป็นๆหายๆ มักจะเป็นอาการที่พบได้ค่อนข้างบ่อย บทความแนะนำอาการแบบแยกเฉพาะจุด และวิธีการแก้ไขอาการในเบื้องต้นที่ทำได้
แน่นอนว่าหลาย ๆ คนคงเคยเจออาการปวดท้องหนักปวดท้องเบากันมาบ้าง แต่มีอีกอาการยอดฮิตที่เป็นกันบ่อยเช่นกันคืออาการปวดท้องบิดตรงกลาง เป็น ๆ หาย ๆ ที่เกิดขึ้นซ้ำจนเริ่มสงสัยว่าเกิดจากอะไรแล้วบางครั้งก็ดูเหมือนไม่มีสาเหตุชัดเจน ไม่ได้กินอะไรแปลก ๆ ไม่ได้เป็นอาหารเป็นพิษ แต่ก็ยังปวดจุก ๆ แน่น ๆ เหมือนลำไส้บีบตัว
โดยอาการแบบนี้อาจเป็นสัญญาณของโรคหรือภาวะผิดปกติหลายอย่าง ตั้งแต่เรื่องเล็ก ๆ อย่างอาหารไม่ย่อย ไปจนถึงโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหารที่ต้องให้ความสนใจโดยในบทความนี้จะชวนผู้อ่านมาร่วมกันหาคำตอบว่าท้องเสียหรือปวดท้องบิดบ่อย ๆ อาจเกี่ยวข้องกับโรคอะไรบ้างและเมื่อไหร่ที่ควรพบแพทย์!
ปวดท้องบิด ตรงกลาง เป็น ๆ หาย ๆ เกิดจากอะไร
สำหรับอาการปวดท้องบิด ๆ เป็น ๆ หาย ๆ ตรงกลางหน้าท้อง อาจจะกลายเป็นสัญญาณของปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารหรือภาวะอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อการทำงานของลำไส้,กระเพาะอาหาร หรืออวัยวะในช่องท้องได้ ซึ่งอาการแบบนี้สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ยกตัวอย่างเช่น
- การบีบตัวของลำไส้ผิดปกติ จะเกิดจากการทำงานของลำไส้ผิดปกติ ทำให้เกิดอาการปวดท้องบิด ๆ ท้องเสีย หรือท้องผูกสลับกันอาการเกิดขึ้นหลังรับประทานอาหารหรือเมื่อมีความเครียด
- อาหารไม่ย่อย หรือ กรดไหลย้อน กระเพาะอาหารหลั่งกรดออกมามากเกินไปหรือการย่อยอาหารทำงานไม่เต็มที่อาจจะทำให้ปวดท้องบิด ตรงกลาง เป็นๆหายๆหรือมีอาการแสบร้อนกลางอกร่วมด้วย
- ท้องอืด ท้องเฟ้อ หรือแก๊สในกระเพาะอาหารมากเกินไป เกิดจากการกินอาหารเร็วเกินไป เคี้ยวไม่ละเอียด หรือกินอาหารที่ทำให้เกิดแก๊สมาก (เช่น น้ำอัดลม ถั่ว ของทอด) อาการปวดท้องบิดเกร็ง เป็นพัก ๆ มักมาพร้อมกับแน่นท้อง เรอบ่อย หรือมีลมในท้อง
- การติดเชื้อในลำไส้ หรืออาหารเป็นพิษ เกิดจากการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรคหรือสารพิษ มีอาการปวดท้องบิดเกร็ง เป็นพัก ๆ ท้องเสียร่วมกับถ่ายเหลว คลื่นไส้ อาเจียน
- ลำไส้อักเสบเรื้อรัง เป็นโรคเรื้อรังที่ส่งผลต่อระบบทางเดินอาหารทำให้มีอาการปวดท้องบิดตรงกลางเป็น ๆ หาย ๆ อาจมีอาการถ่ายเป็นมูกเลือดน้ำหนักลดหรืออ่อนเพลียร่วมด้วย
อาการปวดท้องบิดตรงกลาง เสี่ยงโรคอะไรบ้าง?
การปวดท้องบิด ตรงกลาง เป็น ๆ หาย ๆ ต่ละตำแหน่งสามารถบอกถึงปัญหาสุขภาพที่แตกต่างกันได้มาดูกันว่า ปวดตรงไหน เสี่ยงเป็นโรคอะไร? ได้บ้าง
ปวดท้องบริเวณสะดือ
ปวดท้องบิด ๆ บริเวณรอบสะดือสามารถเป็นโรคเหล่านี้ได้เช่นกัน
- ลำไส้อักเสบมักเกิดจากการติดเชื้อ อาหารเป็นพิษ ท้องเสีย หรือถ่ายเหลว
- ลำไส้แปรปรวน ปวดบิด ๆ เป็น ๆ หาย ๆ อาจมีท้องเสียหรือท้องผูกร่วม
- ไส้ติ่งอักเสบเริ่มปวดรอบสะดือก่อน แล้วค่อยย้ายไปปวดข้างขวาล่าง
- ลำไส้กลืนกันมักพบในเด็ก มีอาการปวดเกร็งเป็นช่วง ๆ อาเจียน และถ่ายเป็นเลือด
ปวดท้องตรงกลาง ช่วงเหนือหัวหน่าว
การปวดท้องบิด ตรงกลาง เป็น ๆ หาย ๆ บริเวณตรงกลางเหนือหัวหน่าวอาจจะเกี่ยวข้องกับโรคเหล่านี้ได้
- กระเพาะปัสสาวะอักเสบปวดแสบปัสสาวะ ปัสสาวะบ่อย อาจมีเลือดปน
- นิ่วในกระเพาะปัสสาวะปวดหน่วง ๆ ปัสสาวะติดขัด หรือปัสสาวะขุ่น
- ปวดประจำเดือน หรือเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ปวดหน่วง ๆ รอบ ๆ อุ้งเชิงกราน ปวดมากช่วงมีประจำเดือน
- ต่อมลูกหมากอักเสบปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน ปัสสาวะขัด เจ็บเวลาถ่ายปัสสาวะ
- ไส้เลื่อน ปวดเมื่อออกแรงยกของหนัก หรือมีตุ่มนูนออกมาบริเวณขาหนีบ
- โรคลำไส้แปรปรวนปวดบิด ๆ เป็น ๆ หาย ๆ ท้องเสียหรือท้องผูกสลับกัน
ปวดท้องใต้ลิ้นปี่ (เหนือสะดือ)
สำหรับอาการปวดท้องจี๊ดๆ เป็นๆหาย ๆ ตรงกลางใต้ลิ้นปี่ หรือบริเวณเหนือสะดืออาจจะเกี่ยวข้องกับโรคดังนี้ได้
- กรดไหลย้อน แสบร้อนกลางอก จุกแน่น เรอเปรี้ยว โดยเฉพาะหลังอาหาร
- กระเพาะอาหารอักเสบ หรือแผลในกระเพาะปวดจี๊ด ๆ หรือจุกแน่น โดยเฉพาะเวลาหิวหรือหลังอาหาร
- ตับอ่อนอักเสบปวดรุนแรงลามไปด้านหลัง คลื่นไส้อาเจียน
- นิ่วในถุงน้ำดี หรือถุงน้ำดีอักเสบปวดแน่นใต้ลิ้นปี่หรือชายโครงขวา หลังกินอาหารมัน
- หัวใจขาดเลือดเฉียบพลันปวดแน่นลิ้นปี่ คล้ายอาหารไม่ย่อย แต่มักมีอาการแน่นหน้าอก เหงื่อออก ใจสั่นร่วมด้วย
ปวดท้องบิด วิธีการดูแลรักษาเบื้องต้น
สำหรับการดูแลตัวเองเบื้องต้นสำหรับอาการปวดท้องบิด ตรงกลาง เป็น ๆ หาย ๆ หากอาการไม่ได้รุนแรงจะแนะนำให้ดูแลเบื้องต้นที่บ้านหรือปรึกษาเภสัชกรเพื่อจ่ายยาเพื่อแก้อาการปวดท้องบิด หรือหากมีอาการรุนแรงแนะนำให้รีบไปพบแพทย์โดยด่วนโดยการดูแลตัวเองที่บ้านสามารถทำได้โดย
- พักผ่อนให้เพียงพอต้องหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่กระตุ้นอาการปวด
- ดื่มน้ำอุ่น เพราะจะช่วยลดอาการเกร็งของลำไส้และป้องกันภาวะขาดน้ำได้ดี
- หลีกเลี่ยงอาหารที่กระตุ้นอาการ เช่น อาหารรสจัด มัน ทอด นม หรืออาหารที่ทำให้เกิดแก๊ส
- ทานอาหารที่ย่อยง่ายเช่นข้าวต้ม โจ๊ก ซุปผัก อาหารอ่อน ๆ
- ประคบร้อนบริเวณท้องเพื่อลดอาการปวดเกร็งของกล้ามเนื้อและลำไส้
- ขยับร่างกายเบา ๆ ซึ่งจะช่วยให้ลำไส้ทำงานดีขึ้น ลดอาการแน่นท้อง
ส่วนของการใช้ยาแก้ปวดท้องบิด เพื่อบรรเทาอาการ ต้องได้รับการติดต่อจากทางเภสัชกรร่วมด้วย ยกตัวอย่างยาที่สามารถใช้ได้ เช่น
- ยาแก้ปวดเกร็งลำไส้จะสามารถลดการบีบตัวของลำไส้ได้
- ยาลดกรดในกระเพาะช่วยในกรณีที่ปวดจากกรดไหลย้อนหรือกระเพาะอาหารอักเสบ
- ยาขับลมที่จะช่วยลดแก๊สในกระเพาะอาหาร แก้อาการท้องอืด
- ยาแก้ท้องเสียหรือใช้เมื่อมีท้องเสียร่วมกับอาการปวดบิดควบคู่กับเกลือแร่ ORS หากมีอาการท้องเสียดื่มเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ
นอกจากนี้หากผู้ป่วยมีอาการปวดท้องรุนแรง จนขยับตัวไม่ได้ ปวดท้องบิดต่อเนื่องเกิน 24 ชั่วโมง, อาเจียนหรือถ่ายเป็นเลือด อุจจาระสีดำ, มีไข้สูง หน้ามืด ใจสั่น หรือเหงื่อออกมากผิดปกติ, ปัสสาวะขัด มีเลือดปน หรือปัสสาวะสีเข้มผิดปกติควรรีบพบแพทย์ทันที
ปวดท้องบิดตรงกลาง เป็น ๆ หาย ๆ สัญญาณเตือนที่ไม่ควรมองข้าม
สรุปแล้วอาการปวดท้องบิดตรงกลาง เป็น ๆ หาย ๆ อาจดูเหมือนเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ในบางกรณีอาจเป็นสัญญาณของโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารที่ต้องให้ความสำคัญ สาเหตุของอาการนี้มีหลายปัจจัย ตั้งแต่ ภาวะลำไส้แปรปรวน , กรดไหลย้อน, อาหารไม่ย่อย, ไปจนถึงลำไส้อักเสบ หรือโรคร้ายแรง เช่น ไส้ติ่งอักเสบ และนิ่วในไต
วิธีการดูแลเบื้องต้นที่สามารถช่วยบรรเทาอาการได้เช่นการดื่มน้ำอุ่น, รับประทานอาหารที่ย่อยง่าย, หลีกเลี่ยงอาหารมันและรสจัด, รวมถึงการใช้ยาแก้ปวดเกร็งลำไส้หรือยาลดกรดเมื่อจำเป็น อย่างไรก็ตาม หากมีอาการ ปวดรุนแรง, ท้องเสียเรื้อรัง, ถ่ายเป็นเลือด หรือมีไข้สูง ควรรีบพบแพทย์ทันทีเพื่อการตรวจวินิจฉัยที่ถูกต้องแม้อาการปวดท้องบิดอาจดูเหมือนไม่มีอันตรายแต่การสังเกตตัวเองให้ดีเป็นสิ่งสำคัญ

















