VPS Hosting คืออะไร? ต่างจาก Shared Hosting ยังไง
VPS Hosting คืออะไร?
VPS ย่อมาจาก Virtual Private Server (ภาษาไทย: เซิร์ฟเวอร์ส่วนตัวเสมือน) คือเซิร์ฟเวอร์จำลอง เสมือนคุณมีเซิร์ฟเวอร์จริงๆ 1 เครื่อง ซึ่ง VPS Hosting จะรันอยู่บนเซิร์ฟเวอร์เสมือนนั้น ซึ่ง แตกต่างจาก Shared Hosting ที่ทุกคนต้องแบ่งปันทรัพยากรกับผู้ใช้คนอื่นด้วย โดยใน VPS คุณจะมี RAM, CPU ฯลฯ ที่ไว้สำหรับคุณเท่านั้น ไม่แชร์กับคนอื่น จึงได้ประสิทธิภาพที่แน่นอนตามสเป็ค VPS Hosting ที่คุณเลือก
VPS Hosting ทำงานอย่างไร?
การใช้ VPS Hosting คือการแบ่งเซิร์ฟเวอร์จริงออกเป็นหลายเครื่องเสมือน (Virtual Machines) ซึ่งแต่ละ VPS จะทำงานแยกจากกัน VPS Hosting คล้ายกับ Dedicated Hosting(แบบใช้คนเดียวทั้งเครื่อง) แต่ราคาถูกกว่า
ประเภทของ VPS
มีสองประเภทของ VPS คือ VPS ที่มีเซิร์ฟเวอร์เดียว และประเภทที่สองคือ Cloud VPS
ในประเภทแรก VPS จะแชร์บนเซิร์ฟเวอร์จริงเดียว ถ้าเครื่องเซิร์ฟเวอร์ดับ VPS ก็จะดับหมดเลย ส่วน Cloud VPS จะโฮสต์บนเซิร์ฟเวอร์จริงหลายตัวซึ่งถ้าล่ม 1 ตัว VPS ก็ยังสามารถทำงานต่อไปได้ และเครื่องหลายตัวยังช่วยกันประมวลผลได้ด้วย
ลักษณะของแพ็กเกจ VPS Hosting
- ทรัพยากรของคุณ (RAM และฮาร์ดดิสก์) สำหรับ VPS ของคุณเท่านั้นและไม่มีใครสามารถใช้ได้
- คุณจะได้รับ Root Access ปรับแต่งเซิร์ฟเวอร์ได้ตามใจชอบ
- ระบบปฏิบัติการสามารถเลือกได้ตามที่คุณต้องการ
- คุณสามารถอัพเกรดได้ตลอดเวลา
ข้อดีของ VPS Hosting
VPS Hosting สามารถทำให้ชีวิตคุณง่ายขึ้นและส่งเสริมธุรกิจออนไลน์ของคุณ โฮสต์เว็บไซต์ของคุณที่เสถียรกว่าบริการ Shared Hosting การตั้งค่า VPS สามารถทำได้ภายในไม่กี่นาทีและราคาถูก นอกจากนี้ยังมีแง่มุมอื่น ๆ ที่ทำให้ VPS น่าสนใจ
ความปลอดภัย
ด้วย VPS Hosting หากมี VPS หนึ่งถูกแฮ็กขึ้น ก็จะไม่ส่งผลต่อ VPS เครื่องอื่นๆภายในเซิร์ฟเวอร์นั้น
การปรับแต่ง
ด้วย VPS คุณสามารถทำอะไรก็ได้ที่คุณต้องการ เนื่องจากคุณไม่ต้องกังวลเรื่องทรัพยากร คุณสามารถโฮสต์เว็บไซต์ได้ไม่จำกัด
ผู้ให้บริการในประเทศไทย
ในประเทศไทยมีผู้ให้บริการ VPS มากมาย และนี่คือตัวอย่างผู้ให้บริการชั้นนำในไทย
- ReadyIDC
- HostNeverDie
- HostAtom
- Hosting Lotus
- Metrabyte Cloud
- SiamVM
- VisperHost
- VPSHiSpeed
VPS เหมาะสำหรับคุณหากคุณต้องการเซิร์ฟเวอร์ส่วนตัวที่มีทรัพยากรไว้ใช้มาก แต่ VPS ก็อาจซับซ้อนสำหรับผู้ที่ไม่มีพื้นฐานด้วยเทคนิคเพราะผู้ใช้ต้องเซ็ตการตั้งค่าต่างๆเองภายใน VPS