อาหารเสริมผู้สูงอายุ ในยุค 2024 เป็นสิ่งจำเป็น ช่วยดูแลและป้องกันสุขภาพในวัยชรา
อาหารเสริมผู้สูงอายุ เป็นสิ่งจำเป็นในสังคมยุค 2024 เพราะช่วยดูแล ป้องกันและลดโอกาสการเป็นภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยในผู้สูงอายุ ทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพแข็งแรง
ด้วยในปัจจุบันเป็นสังคมผู้สูงอายุ โดยผู้สูงอายุจำนวนมากกำลังเผชิญปัญหากล้ามเนื้อลีบ หรือภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย ส่งผลต่อการใช้ชีวิต เกิดอุบัติเหตุหกล้มง่าย และกระดูกหักได้ ด้วยหลากหลายสาเหตุ ทั้งอายุที่มากขึ้น ไม่ออกกำลังกาย และทานอาหารไม่ครบ ซึ่งสามารถป้องกันได้ด้วยการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ หรือทานอาหารเสริมผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับสารอาหารและวิตามินสำหรับผู้สูงอายุอย่างครบถ้วน
แล้วภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยในผู้สูงอายุ คืออะไร เกิดจากสาเหตุอะไร มีอาการอย่างไร สามารถป้องกันภาวะดังกล่าวได้อย่างไร สามารถทานอาหารเสริมผู้สูงอายุ อ่อนเพลีย ไม่มีแรงได้หรือไม่ บทความนี้ มีคำตอบ
สาเหตุของภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยในผู้สูงอายุ
ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยในผู้สูงอายุ (Sarcopenia) เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ เกิดจากการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อและความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออย่างผิดปกติ ส่งผลต่อการทรงตัว การลุกนั่ง การเดิน การทำงานประจำวัน และเพิ่มความเสี่ยงต่อการหกล้ม ทำให้กระดูกหักได้ จึงจำเป็นต้องให้การดูแล พร้อมบำรุงร่างกายให้แข็งแรงด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การออกกำลังกาย, การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์, การทานอาหารเสริมผู้สูงอายุ เป็นต้น
หากต้องการรับประทานอาหารเสริมผู้สูงอายุ เพื่อป้องกันภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยในผู้สูงอายุ จำเป็นต้องทราบสาเหตุของภาวะดังกล่าวเสียก่อน โดยภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยในผู้สูงอายุ เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่
- อายุ โดยมวลกล้ามเนื้อจะเริ่มลดลงเมื่ออายุ 40 ปี และลดลงอย่างรวดเร็วหลังอายุ 60 ปี เนื่องจากการลดลงของฮอร์โมน เช่น Testosterone, Estrogen, Growth Hormone เป็นต้น
- เซลล์กล้ามเนื้อมีจำนวนน้อยลงและมีขนาดเล็กลง รวมถึงเซลล์ประสาทที่ทำหน้าที่ส่งสัญญาณให้กล้ามเนื้อเคลื่อนไหวเริ่มทำงานลดลง
- การไม่ออกกำลังกาย เคลื่อนที่น้อยลง ส่งผลให้กล้ามเนื้อที่ไม่ได้ใช้งานจะค่อย ๆ ฝ่อลีบลง การออกกำลังกายแบบฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเป็นสิ่งสำคัญในการรักษามวลกล้ามเนื้อ
- การได้รับโปรตีนไม่เพียงพอ เพราะโปรตีนเป็นสารอาหารสำคัญสำหรับการสร้างและซ่อมแซมกล้ามเนื้อ ผู้สูงอายุควรได้รับโปรตีนอย่างน้อย 1 - 1.2 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน
- การลดลงของประสิทธิภาพในการสังเคราะห์โปรตีน ร่างกายมีกระบวนการสร้างโปรตีนลดลง ในขณะที่มีการสลายโปรตีนมากขึ้น ทำให้ได้รับโปรตีนไม่เพียงพอ โดยอาจจะใช้อาหารเสริมผู้สูงอายุ อ่อนเพลีย ไม่มีแรงเข้าช่วย
- โรคเรื้อรังหลายชนิด เช่น โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคไต โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ส่งผลต่อมวลกล้ามเนื้อ
- ยาบางชนิด เช่น ยาสเตียรอยด์ ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาขับปัสสาวะ ส่งผลต่อมวลกล้ามเนื้อ
- ปัจจัยทางพันธุกรรม ส่งผลให้บางคนมีความเสี่ยงต่อภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยมากกว่าคนอื่น ๆ เนื่องจากพันธุกรรม
- ปัจจัยอื่น ๆ เช่น ภาวะทุพโภชนาการ การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ การนอนหลับไม่เพียงพอ ภาวะซึมเศร้า
อาการของภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย
สำหรับผู้สูงอายุที่ประสบภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย โดยทั่วไปแล้ว สามารถรับประทานอาหารเสริมผู้สูงอายุ เพื่อช่วยสร้างมวลกล้ามเนื้อได้ โดยอาการของภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย ได้แก่
- รู้สึกอ่อนแรง หมดแรง อ่อนเพลีย
- เหนื่อยง่ายกว่าปกติ แม้จะทำกิจกรรมเบา ๆ
- เคลื่อนไหวลำบาก ทั้งลุกนั่ง ลุกขึ้นยืน เดิน ขึ้นลงบันได ลำบาก
- มีปัญหาในการทรงตัว ทำให้เสียการทรงตัว ทรงตัวไม่ดี โยกเยก หกล้มง่าย
- กล้ามเนื้อลีบลง ไม่ว่าจะเป็นแขน ขา หรือสะโพก
- ความเร็วในการเดินลดลง
- น้ำหนักลดลงโดยไม่ได้ตั้งใจ
- มีปัญหาในการหยิบจับสิ่งของ หยิบจับไม่สะดวก
- มีปัญหาในการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น อาบน้ำ แต่งตัว ทานอาหาร ลำบาก
อาการเหล่านี้ มักเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป ทำให้ผู้สูงอายุอาจไม่ทันสังเกต อีกทั้งยังมีความคล้ายคลึงกับโรคอื่น ๆ จึงส่งผลให้ตรวจพบช้า ดังนั้น หากมีอาการของภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยดังกล่าว ก็ควรเข้าไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง หรือจะลองรับประทานอาหารเสริมผู้สูงอายุ เพื่อดูแลสุขภาพในเบื้องต้น
การป้องกันภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย
ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยในผู้สูงอายุสามารถป้องกันได้ ด้วยวิธีการต่าง ๆ ซึ่งสามารถปฏิบัติตามได้อย่างง่าย ดังต่อไปนี้
1. การออกกำลังกาย
- ออกกำลังกายแบบฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออย่างน้อย 2 - 3 ครั้งต่อสัปดาห์
- ท่าออกกำลังกายที่แนะนำ เช่น ยกน้ำหนัก ดึงข้อ ยืดเส้น ยกตัว Squat Lunges Push-up
- เลือกท่าออกกำลังกายที่เหมาะสมกับสภาพร่างกาย
- เริ่มต้นจากท่าง่าย ๆ ค่อย ๆ เพิ่มความยากขึ้น
- ปรึกษานักกายภาพบำบัดเพื่อเลือกท่าออกกำลังกายที่เหมาะสม
2. การรับประทานอาหาร
- ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นโปรตีน
- แหล่งโปรตีนที่ดี เช่น เนื้อสัตว์ ปลา ไข่ นม ถั่ว เต้าหู้
- ทานโปรตีนอย่างน้อย 1 - 1.2 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน
- ทานอาหารที่มีแคลเซียมและวิตามินดี
- แหล่งแคลเซียมที่ดี เช่น นม โยเกิร์ต ชีส ผักใบเขียว
- แหล่งวิตามินดีที่ดี เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ไข่แดง แสงแดด
3. การรับประทานอาหารเสริมผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยเสริมสารอาหารและวิตามินผู้สูงอายุให้กับร่างกาย เหมาะกับผู้สูงอายุที่อาจได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจากอาหารปกติ แต่ควรทานอาหารเสริมสำหรับผู้สูงอายุในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ควรทานเกินขนาดและทานแทนอาหารปกติ
4. การควบคุมโรคเรื้อรัง เช่น โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคไต โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
5. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ทั้งเลิกสูบบุหรี่, งดดื่มแอลกอฮอล์, นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และรักษาสุขภาพจิต
6. ตรวจสุขภาพเป็นประจำ เพื่อติดตามมวลกล้ามเนื้อและสุขภาพโดยรวม
การป้องกันภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการหกล้ม กระดูกหัก ภาวะพึ่งพิง และช่วยให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี แต่อย่างไรก็ตาม ควรเริ่มทำตั้งแต่เนิ่น ๆ โดยเฉพาะการออกกำลังกาย รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ และการเริ่มทานอาหารเสริมผู้สูงอายุ
สรุปเกี่ยวกับอาหารเสริมผู้สูงอายุ
อาหารเสริมผู้สูงอายุเป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยเสริมสารอาหารและวิตามินผู้สูงอายุให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่เพียงพอ ทั้งนี้ ควรเลือกอาหารเสริมผู้สูงอายุ อ่อนเพลีย ไม่มีแรงให้เหมาะสมกับความต้องการของแต่ละคน แต่อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนรับประทาน เลือกซื้อจากแหล่งที่เชื่อถือได้ และศึกษาข้อมูลของอาหารเสริมสำหรับผู้สูงอายุอย่างละเอียด เพื่อให้ได้สารอาหารอย่างครบถ้วน ตรงกับความต้องการ