Continuous Emission Monitoring System หรือ CEMs
Cems ย่อมาจาก Continuous Emission Monitoring System เป็นสิ่งที่โรงงานอุตสาหกรรมต้องมี เพราะช่วยติดตามผลการตรวจวัดมลพิษทางอากาศ เพื่อที่จะสามารถดูแลและควบคุมการปลดปล่อยมลพิษทางอากาศ
จากที่กล่าวไป Cems จึงมีความสำคัญกับโรงงานอย่างมาก ดังนั้นในบทความนี้จะพามาทำความรู้จักเรื่อง cems กันว่าอะไรคือ Cems มีกี่ประเภท และประกอบด้วยอะไรบ้าง มาดูกันเลย
CEMs คือ
หลายคนอาจไม่ทราบว่า cems คืออะไร ? continuous emission monitoring system คือระบบซึ่งถูกติดตั้งไว้เพื่อตรวจสอบมลพิษทางอากาศ การเก็บบันทึกข้อมูล และการรายงานผลการตรวจวัดการปลดปล่อยมลพิษทางอากาศ ดังนั้น cems จึงทำให้ทราบว่าโรงงานนั้น ๆ มีการได้ปล่อยมลพิษทางอากาศมากน้อยแค่ไหน เพื่อที่แต่ละโรงงานจะได้มีการกำกับและควบคุมการปล่อยมลพิษทางอากาศอย่างถูกต้อง โดยโรงงานที่ต้องติดตั้ง cems มีดังนี้
- โรงงานที่มีหน่วยผลิตพลังงานไฟฟ้าต่อหน่วยตั้งแต่ 29 เมกกะวัตต์ (MW) ขึ้นไป
- โรงงานที่มีหม้อน้ำหรือแหล่งกำเนิดความร้อนขนาด 30ตันไอน้ำต่อชั่วโมง
- โรงงานที่มีหน่วยผลิตซีเมนต์ ปูนขาว หรือปูนปลาสเตอร์อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นต้น
CEMs ประกอบไปด้วย
CEMs มีส่วนประกอบหลัก ๆ 3 ส่วน คือ
1.ส่วนการเก็บและส่งตัวอย่าง (Sampling Interface/Sampling Delivery System)
2.ส่วนการวิเคราะห์ (Analyzer)
3.ส่วนการจัดการข้อมูล (Data Acquisition System)
ส่วนการเก็บและส่งตัวอย่าง (Sampling Interface/Sampling Delivery System)
ส่วนการเก็บและส่งตัวอย่าง หรือ Sampling Interface/Sampling Delivery System เป็นเครื่องมือที่ใช้เพื่อเก็บก๊าซและส่งไปวิเคราะห์ ซึ่งเครื่องมือนี้มีอยู่หลายชนิด เช่น ท่อนำก๊าซเข้าสู่ระบบทำความเย็นจะมีหน้าที่นำก๊าซที่ถูกปรับอุณหภูมิแล้ว ส่งเข้าไปที่เครื่องวิเคราะห์ก๊าซต่อไป โดยท่อนำก๊าซนี้สามารถทำอุณหภูมิมากถึง 180°C มีผนังหนา และมีความทนทานต่อสภาวะอากาศอีกด้วย
ส่วนการวิเคราะห์ (Analyzer)
ส่วนการวิเคราะห์ (Analyzer) คือเครื่องมือที่มีไว้เพื่อวิเคราะห์ก๊าซ โดยตัวอย่างเครื่องมือมีดังนี้ เครื่องวิเคราะห์ก๊าซสำหรับการติดตั้งกับปล่องระบายซึ่งมี Laser Diode ที่จะวัดก๊าซได้มากถึง 2 ชนิด ได้แก่ O2, NH3, HF, H2O, CO2, CO หรือ HCl และสามารถเลือกช่วงการวัดได้ตั้งแต่สูงถึงต่ำเพื่อตั้งค่าให้เหมาะกับการใช้งาน อีกทั้งเครื่องมือนี้มีความทนทานสูง ติดตั้งและดูแลง่าย
ส่วนการจัดการข้อมูล (Data Acquisition System)
ส่วนการจัดการข้อมูล (Data Acquisition System) คือระบบซึ่งใช้เฝ้าระวังและเตือนภัยมลพิษระยะไกล โดยมีตัวอย่างระบบดังนี้ POMS (Pollution Online Monitoring System) คือระบบที่ถูกนำมาใช้แทนระบบ CEMS/OPMS แบบเดิม ระบบนี้ช่วยให้โรงงานสามารถเชื่อมข้อมูลเข้าระบบ POMS ได้ เพื่อดูผลการตรวจวัดจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เช่น CEMs, COD/BOD หากอยากใช้งานกับ Website และ Mobile Application ก็ทำได้เช่นกัน
CEMs มีกี่ประเภท
- ระบบดึงก๊าซไปวิเคราะห์ (Extractive System) มีหน้าที่ดึงตัวอย่างออกจากปล่องเพื่อนำไปวิเคราะห์
- ระบบวิเคราะห์ที่จุดเก็บตัวอย่าง (In-Situ System) มีหน้าที่วิเคราะห์ตัวอย่างจากปล่องโดยตรง
ระบบดึงก๊าซไปวิเคราะห์ (Extractive System)
ระบบดึงก๊าซไปวิเคราะห์ (Extractive System) คือหนึ่งในอุปกรณ์cems ที่ใช้ตรวจวัดที่ได้รับความนิยมอย่างมาก สำหรับระบบนี้ก๊าซจากปล่องจะโดนถึงจากภายในปล่อง และส่งไปที่เครื่องมือวิเคราะห์เพื่อวัดความเข้มข้นของมลพิษ
ระบบวิเคราะห์ที่จุดเก็บตัวอย่าง (In-Situ System)
In-Situ System คืออุปกรณ์ cems ที่ใช้ตรวจวัดมลพิษทางอากาศ โดยมักจะถูกนำไปติดตั้งในสภาพบรรยากาศทั่วไปด้วยเหตุนี้อุปกรณ์จึงชำรุดได้ง่ายและซ่อมแซมยาก แต่ถ้าเป็นในเรื่องของการบำรุงรักษาจะทำได้ง่ายกว่าแบบระบบดึงก๊าซไปวิเคราะห์ เพราะส่วนประกอบน้อยทำให้ราคาซ่อมไม่แพง
กฎหมายไทยและ CEMs
ในด้านกฎหมาย cems มีประกาศของกระทรวงอุตสาหกรรมจะมีการกำหนดให้โรงงานประเภทต่าง ๆ ต้องติดตั้งเครื่องมือหรือเครื่องอุปกรณ์พิเศษเพื่อตรวจสอบคุณภาพอากาศจากปล่องแบบอัตโนมัติ หรือ cems เพื่อใช้ตรวจติดตามผลการตรวจสอบมลพิษทางอากาศ การเก็บบันทึกข้อมูล และการรายงานผลการตรวจวัด
ในพารามิเตอร์ต่าง ๆ ได้แก่ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx as NO2) ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์(CO), ก๊าซออกซิเจน (O2) และค่าความทึบแสง (Opacity) โดย cems จะช่วยให้โรงงานมีการกำกับดูแลและควบคุมให้มีการปลดปล่อยมลพิษทางอากาศอย่างเหมาะสม เพื่อลดมลพิษทางอากาศและฝุ่นpm 2.5
สรุป CEMs ตัวช่วยกำจัดมลพิษทางอากาศ
ระบบ CEMS ถ้าเลือกใช้เครื่องมือที่มีการออกแบบระบบที่ดีจะทำให้ผู้ใช้งานไม่ต้องปวดหัว เพราะไม่ต้องเจอกับปัญหาในการใช้งานและได้ค่าวัดที่แม่นยำ รวมไปถึงช่วยประหยัดค่าซ่อมบำรุงและดูแลรักษา นอกจากนี้ระบบ CEMS ก็มีความทันสมัยอย่างมาก สามารถออกแบบให้เป็น Industrial IoT
โดยไม่ว่าผู้ใช้งานจะอยู่ที่ไหนก็เข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ ทุกเวลา ผ่านทางคอมพิวเตอร์ มือถือ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกอื่น ๆ ดังนั้นจึงทำให้วิเคราะห์ได้ง่ายหากพบเจอปัญหาภายในระบบ อีกทั้งยังช่วยในเรื่องของการประหยัดค่าใช้จ่าย ค่าพนักงาน รวมถึงค่าบำรุงรักษาอีกด้วย