ปัญญาประดิษฐ์ AI คืออะไร? สำคัญอย่างไรต่อการทำธุรกิจ
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาหลายคนคงคุ้นเคยกับว่าคำว่า AI กันมาบ้าง หลายคนต่างตื่นเต้นกับความสามารถในการทำงานของ AI จนมีคนคาดการณ์ว่า AI จะมาเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตประจำวันของเรา แต่จริง ๆ แล้ว AI คืออะไร? และสิ่งนี้จะเข้ามามีบทบาทในการใช้ชีวิตของเราอย่างไรบ้าง?
ในบทความนี้จะมาทำความเข้าใจว่า AI คืออะไร และมีหลักการทํางานอย่างไรบ้าง พร้อมแนะนำตัวอย่างธุรกิจที่สามารถนำ AI ไปประยุกต์ใช้ได้ รวมไปถึงวิธีการวัดผลลัพธ์จากการทำงานของ AI ว่าจะมีวิธีในการวัดผลลัพธ์ยังไงได้บ้าง และสิ่งที่ควรระมัดระวังเกี่ยวกับการใช้ AI
หลักการทำงานของ AI คืออะไร?
AI ย่อมาจาก Artificial Intelligence ซึ่งคือ ระบบคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำงานได้เหมือนมนุษย์จนถูกเรียกว่า ปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งจะมีความสามารถในด้าน การเรียนรู้ การวิเคราะห์ การแก้ไขปัญหา และการโต้ตอบสื่อสาร โดยหลักการทำงานของ AI คือการอาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมหาศาลผ่านอัลกอริทึมที่ซับซ้อน AI จะเรียนรู้รูปแบบและความสัมพันธ์จากข้อมูล ที่นำไปสู่การคาดการณ์ ตัดสินใจ และแสดงออกมาเป็นผลลัพธ์
ธุรกิจที่ใช้ AI ได้คืออะไรบ้าง?
เมื่อได้ทำความเข้าใจกันไปแล้วว่าหลักการทำงานของ AI คืออะไร? ต่อไปลองมาดูตัวอย่างการใช้งาน AI กันบ้างว่าในการทำธุรกิจนั้น สามารถนำ AI มาประยุกต์กับการทำธุรกิจประเภทไหนได้บ้าง
ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ E-commerce
ธุรกิจแรกที่สามารถประยุกต์ใช้งาน AI ได้คือธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ E-commerce โดยจะนำ AI มาใช้งานวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมลูกค้าเพื่อสามารถนำเสนอสินค้าได้ตรงกับความสนใจของลูกค้ามากที่สุด พร้อมทั้งยังสามารถพัฒนาระบบ Chatbot เพื่อช่วยตอบคำถามและบริการลูกค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมงอีกด้วย รวมถึงการใช้ AI ในการคาดการณ์ความต้องการสินค้าหรือบริหารคลังสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธนาคารและการเงิน
ธุรกิจถัดมาที่สามารถประยุกต์ใช้งานกับ AI ได้คือธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธนาคารและการเงิน โดยจะใช้ AI มาช่วยวิเคราะห์ความเสี่ยงและตรวจจับการฉ้อโกง พร้อมทั้งพัฒนาระบบธนาคารออนไลน์และบริการ Chatbot สำหรับสื่อสารกับลูกค้า รวมไปถึงการใช้ AI ในการวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางด้านการเงินที่สามารถตอบโจทย์ปัญหาและความต้องการของผู้ใช้งานได้อย่างตรงจุด
ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสินค้า
ธุรกิจสุดท้ายที่บทความนี้ได้นำมายกตัวอย่างว่าสามารถประยุกต์ใช้กับ AI ได้คือธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งหรือด้านโลจิสติกส์ โดยใช้งาน AI ในการวางแผนเส้นทางขนส่งสินค้า คาดการณ์ความต้องการสินค้า และบริหารจัดการคลังสินค้า รวมไปถึงการใช้ AI วิเคราะห์ข้อมูลการขนส่งเพื่อนำมาพัฒนาประสิทธิภาพในการขนส่งสินค้า
อะไรคือประโยชน์ที่ทำให้ AI ได้รับความนิยมในแวดวงธุรกิจ?
หลังจากที่ได้ทราบกันไปแล้วว่า AI คือหนึ่งในเครื่องมือที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ในหลายธุรกิจ ซึ่งก็จะขึ้นอยู่กับโจทย์ของแต่ละธุรกิจว่าต้องการนำ AI ไปใช้แก้ปัญหาในเรื่องใด โดยประโยชน์ของ AI ที่ทำให้ได้รับความนิยมในการทำธุรกิจจะมีดังนี้
- เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน: เทคโนโลยี AI คือเครื่องมือที่สามารถทำงานซ้ำ ๆ ได้รวดเร็วและแม่นยำ ช่วยให้พนักงานมีเวลามากขึ้นสำหรับการทำงานที่ต้องอาศัยความสร้างสรรค์และวางแผนกลยุทธ์
- ช่วยลดต้นทุน: เมื่อใช้ AI ภายในองค์กรจะส่งผลให้สามารถลดต้นทุนการดำเนินงานในหลาย ๆ ได้เช่น การลดจำนวนพนักงาน การลดความผิดพลาด หรือการลดการใช้กระดาษ เป็นต้น
- พัฒนาสินค้าและบริการใหม่: AI สามารถช่วยพัฒนาสินค้าและบริการใหม่ ๆ ได้ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าและพัฒนาสินค้าที่สามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้อย่างตรงจุด
- ทำความเข้าใจลูกค้าได้มากยิ่งขึ้น: AI คือเครื่องมือหนึ่งที่สามารถช่วยวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมของลูกค้า เข้าใจความต้องการของลูกค้า ตลอดจนคาดการณ์ความต้องการของลูกค้าในอนาคต
วิธีการวัดผลการทำงานของ AI คืออะไร?
หลายคนคนรู้ถึงความสามารถของ AI กันไปแล้ว ว่า AI คือปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถเข้ามาช่วยเหลือการทำงานในหลาย ๆ ด้านแทนมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการวัดผลการทำงานของ AI สามารถทำได้ 4 วิธีดังนี้
1. วิธีการวัดผลโดย Turing Test
วิธีแรกในการวัดผล AI คือการทำ Turing Test โดยวิธีนี้จะเป็นการดูว่า AI จะมีการโต้ตอบกับการสนทนาของมนุษย์อย่างไร เพื่อทำให้ AI สามารถตอบคำถามได้อย่างเป็นธรรมชาติและทำให้คนที่คุยด้วยไม่รู้สึกว่ากำลังโต้ตอบกับ AI อยู่
2. วิธีการวัดผลโดย The Cognitive Modelling Approach
วิธีถัดมาในการวัดผล AI คือการวัดโดย The Cognitive Modelling Approach โดยวิธีนี้จะเป็นการเลียนแบบวิธีคิดแบบมนุษย์ ซึ่งจะใช้การสังเกตหรือสร้างสถานการณ์จำลองให้ AI เรียนรู้ ทดลองกับร่างกายมนุษย์เพื่อสังเกตพฤติกรรม และใช้ MRI ในการสแกนเพื่อดูการทำงานของสมองในการรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ และทำการเลียนแบบ
3. วิธีการวัดผลโดย The Law of Thought Approach
อีกหนึ่งวิธีในการวัดผล AI คือการวัดโดย The Law of Thought Approach โดยวิธีนี้จะเป็นการนำข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องมาป้อนให้ AI ได้ทำการเรียนรู้ จัดการกับปัญหาโดยใช้หลักการและการแก้ไขสถานการณ์ที่แตกต่างกัน ซึ่งผลลัพธ์จากวิธีนี้อาจไม่ได้ผล 100% ถ้ามีตัวแปรที่เกี่ยวข้องมากจนเกินไป
4. วิธีการวัดผลโดย The Rational Agent Approach
วิธีสุดท้ายในการวัดผล AI คือการวัดด้วย The Rational Agent Approach โดยวิธีนี้จะใช้การตรวจสอบโดยใช้เหตุผล ซึ่งจะมีความแตกต่างจาก The Law of Thought Approch ที่ไม่สามารถบอกได้ว่าสิ่งไหนผิดหรือถูก ทำให้วิธีนี้ที่เป็นตัวเลือกที่ดีกว่าเพราะมีความยืดหยุ่นและสามารถปรับเปลี่ยนตัวแปรได้หลากหลายโดยเน้นที่ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเป็นหลัก
สิ่งที่เราควรระมัดระวังเกี่ยวกับ AI
ถึงแม้ว่า AI (ปัญญาประดิษฐ์) คือเครื่องมือที่สามารถช่วยเหลือธุรกิจและลดการใช้ทรัพยากรในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่การใช้งาน AI ในปัจจุบันก็ยังมีเรื่องที่ควรระมัดระวังในการใช้งานอยู่เช่นกัน โดยสิ่งที่ควรระมัดระวังจะมีดังนี้
- ปัญหาเรื่องการตีความหมายของคำถาม: AI ยังไม่สามารถทำความเข้าใจรูปแบบคำถามที่มีความซับซ้อนมากจนเกินไปได้ ซึ่งจะส่งผลต่อผลลัพธ์ที่แสดงออกมา
- ปัญหาด้านความคิดสร้างสรรค์: สำหรับการใช้งานที่เน้นเรื่องความสร้างสรรค์ AI จะสร้างผลงานโดยใช้ข้อมูลที่ได้เรียนรู้มาเท่านั้น จึงทำให้มีข้อจำกัดในการสร้างผลงานที่ใช้ความสร้างสรรค์มาก ๆ
- ปัญหาด้านกฎหมาย: สำหรับผลงานที่ AI ได้สร้างขึ้นมาในทางการค้าแล้ว ยังไม่ได้มีกฎหมายออกมาควบคุม ทำให้อาจเกิดช่องโหว่และปัญหาทางกฎหมายได้
สรุป AI คืออะไร มีผลต่อการทำธุรกิจอย่างไร
สำหรับการทำธุรกิจในปัจจุบันนั้นมีการแข่งขันที่ค่อนข้างสูงเป็นอย่างมาก สำหรับองค์กรไหนที่มีการใช้เทคโนโลยีหรือวิธีการใหม่ ๆ ในการพัฒนาองค์กรก็จะสร้างความได้เปรียบมากกว่าคู่แข่ง โดยเฉพาะการใช้งาน AI คือหนึ่งในเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำงานของบุคลากรในองค์กรได้เป็นอย่างมาก
ทั้งนี้การใช้ AI ก็ยังมีข้อบกพร่องในบางเรื่องเช่นกัน ทำให้หลายกระบวนยังต้องอาศัยมนุษย์ในการทำงานควบคู่กับ AI เพื่อผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด และ AI จะกลายเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้งานที่ต้องใช้เวลาสามารถสำเร็จได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ส่งผลให้บุคลากรในองค์กรมีเวลาไปทำงานที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์หรือการวางกลยุทธ์ได้มากยิ่งขึ้น