กราฟผม วัตถุดิบหลักในการปลูกผมเสมือนจริง
ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าคนที่มีปัญหาผมร่วง ผมบาง ผมล้าน มีมากขึ้น หลายคนต้องการวิธีแก้ปัญหาแบบเหล่านี้ให้ได้ผลลัพธ์ที่รวดเร็วที่สุด ได้เส้นผมที่ดูเป็นธรรมชาติมากที่สุด แต่การรักษาที่เลือกมาไม่ตอบโจทย์
ดังนั้นเราขอแนะนำวิธีการแก้ปัญหาผมร่วง ผมบางด้วยเทคนิคการปลูกผม ซึ่งในกระบวนการปลูกผมนั้นจำเป็นต้องใช้ส่วนสำคัญที่เรียกว่ากราฟผม ซึ่งเป็นผมของคนไข้เองที่ได้นำออกมาจากบริเวณหนังศีรษะเพื่อให้ไม่ได้รับผลกระทบจากฮอร์โมน DHT โดยในบทความนี้เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับกราฟผมให้มากขึ้น ว่ามันสำคัญอย่างไร
ทำความรู้จักกราฟผม
กอผม หรือกราฟผม คือ เนื้อเยื่อเล็ก ๆ ที่มีเส้นผมอยู่ตั้งแต่ 1 - 4 เส้น แต่โดยเฉลี่ยจะมีอยู่ประมาณ 1 - 2 เส้นที่แข็งแรง และทุก ๆ 1 รูที่หนังศีรษะ (Follicular Unit) จะมีอยู่ 1 กราฟผม ธรรมชาติของเส้นผมบนหนังศีรษะจะมีเส้นผมไม่เท่ากันในแต่ละรู จะมีคละกันไปตั้งแต่ 1 จนถึง 4 เส้น กระจายคละกันไปทั่วศีรษะ
หนึ่งกราฟมีเส้นผมกี่เส้น
กราฟผมที่แบ่งตามจำนวนของเส้นผมจะมีอยู่ 4 ชนิดด้วยกัน เช่น กราฟผมชนิด 1 เส้น, 2 เส้น, 3 เส้น และ 4 เส้น ซึ่งหจะมีทั้งเซลล์รากผมและเส้นผม
ในการปลูกผม 1 ครั้งเพื่อให้ได้ผลลัพธ์สูงสุดควรปลูกไม่เกิน 2500-3000 กราฟ โดยจำนวนของเส้นผมนั้นจะขึ้นอยู่กับชนิดของกราฟผมที่เราเลือกนำมาใช้ในกระบวนการขั้นตอนการปลูกผม
วิธีการเตรียมกราฟผมขึ้นกับเทคนิคการปลูกผม ซึ่งมีอยู่ 2 วิธีหลัก ๆ คือ
- ปลูกผม FUE : เป็นการใช้เครื่องมือเจาะหัวเล็ก เพื่อเจาะเอาเซลล์รากผมออกมาทีละกอจากบริเวณท้ายทอย หรือเหนือกกหู แล้วจึงนำมาแช่น้ำยาเฉพาะเพื่อคัดแยกและจัดกลุ่มอีกครั้งก่อนนำไปปลูกผม
- ปลูกผม FUT : เป็นการผ่าตัดหนังศีรษะบริเวณท้ายทอยที่มีเซลล์รากผมที่จะใช้ในการปลูกผมออกมาแล้วจึงเย็บแผลคืนดังเดิม แล้วนำเซลล์รากผมที่ผ่าเสร็จมาแบ่งกราฟหรือกอผมด้วยกล้องจุลทรรศน์ แล้วแช่ในน้ำยาเฉพาะรอการปลูกผมในขั้นตอนต่อไป
การใช้กราฟผมจำนวนมากในครั้งเดียวได้ไหม
การพิจารณาใช้จำนวนกราฟผมเป็นจำนวนมากในครั้งเดียวได้ไหมนั้น ขึ้นกับคุณภาพของผมว่าเป็นแบบ เส้นบาง เส้นหนา เส้นเล็ก หรือเส้นใหญ่ ยกตัวอย่างเช่น ผมเส้นเล็กจะมีเส้นผม 1-2 เส้นต่อกราฟ ในขณะที่ผมเส้นใหญ่จะมีเส้นผม 3-4 เส้นต่อกราฟ ดังนั้นการดูว่าจะใช้จำนวนกราฟผมมากน้อยแค่ไหน ต้องขึ้นกับลักษณะของกราฟผมนั้นด้วย
แต่การใช้กราฟผมจำนวนมากครั้งเดียว จะมีผลกระทบทำให้ผมบริเวณท้ายทอยบางลง อาจทำให้ดูบางเป็นหย่อม ๆ แลดูไม่เป็นธรรมชาติ
นอกจากนี้จำนวนกราฟผมสูงสุดที่ปลูกในครั้งเดียวก็ไม่ควรเกิน 3000-3500 กราฟ มิฉะนั้นจะส่งผลกระทบต่อการปลูกผมถาวร เช่น
- ใช้เวลานานเกินไป ทำให้กราฟผมที่เตรียมไว้ตายก่อนนำไปปลูก ทำให้ปลูกผมไม่ขึ้น
- แพทย์ที่ทำการรักษาเกิดความเหนื่อยล้า ทำให้เกิดความผิดพลาดได้สูงขึ้น
- ทำให้ต้องใช้ยาชาเป็นจำนวนมากจนทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย
- อาจทำให้รู้สึกเจ็บเวลาปลูกผม เพราะต้องควบคุมปริมาณยาชาให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยกับร่างกาย ทำให้ฤทธิ์ยาไม่ครอบคลุม
ดังนั้นไม่แนะนำให้ใช้กราฟผมจำนวนมากในการปลูกผมถาวรในครั้งเดียว เพราะผลลัพธ์ที่ได้จะแย่มากกว่าดี
ปัจจัยที่ทำให้กราฟผมอยู่รอด
เทคนิคการปลูกผมไม่ว่าจะเป็นแบบ FUE หรือ แบบ FUT ต่างล้วนเป็นการผ่าตัดขนาดเล็กที่ใช้เวลาประมาณ 4-6 ชั่วโมง ทำให้กราฟผมที่เตรียมไว้สำหรับปลูกผมจำเป็นต้องอยู่นอกร่างกายเป็นเวลานาน จนเป็นสาเหตุให้ตายได้ จึงได้มีการคิดค้นหาวิธีที่จะช่วยกราฟผมให้มีอัตราอยู่รอดและเจริญเติบโตเพิ่มขึ้น
ปัจจัยต่อไปนี้มีผลต่อการอยู่รอดหรือการตายของกราฟผม
1. ความชุ่มชื้น (Hydration)
ขณะที่ก็บรักษากราฟผมต้องมีความชุ่มชื้นที่เพียงพอเสมือนยังอยู่ในหนังศีรษะ
2. อุณหภูมิ (Temperature)
ขณะที่เก็บกราฟผมควรเก็บที่อุณหภูมิ 4๐C เพื่อทำให้อัตราการเผาผลาญต่ำ
3. ช่วงเวลา (Timing)
หากกราฟผมอยู่นอกร่างกายนานเกินไป อัตราการตายจะเพิ่มขึ้น โอกาสเจริญเติบโตก็จะลดลง และจากการทดลองโดยนายแพทย์ท่านหนึ่ง ได้พบว่า อัตราเฉลี่ยการรอดของกราฟจะลดลงประมาณ 1% ทุก 1 ชั่วโมง
นอกจากนี้น้ำยาแช่กราฟ (Storage Solution) ก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน เพราะสำหรับกราฟผมที่ได้นำออกมาจากหนังศีรษะแล้ว ควรต้องนำไปแช่ไว้ในน้ำยาเฉพาะที่แช่เย็นไว้ น้ำยาชนิดนี้ต้องมีคุณสมบัติเหมาะสม มีสารอาหาร ความเป็นกรด-ด่างพอเหมาะ เช่น CHILLED SALINE, HYPOTHERMOSOL, ฯลฯ น้ำยาจะช่วยชะลอการเผาผลาญ ทำให้เซลล์อยู่นอกร่างกายได้นานขึ้น
กราฟผมหลุดมีสาเหตุมาจากอะไร
การที่กราฟผมหลุดนั้นสามารถเกิดได้ทั้งจาก
- ขั้นตอนการปลูกผมของแพทย์ มีการขัดข้อง
- ช่วงเวลาการดูแลตัวเองหลังผ่าตัดปลูกผม
หากว่ากราฟผมหลุดในขั้นตอนการปลูกผมของแพทย์ นั่นหมายความว่า ความเชี่ยวชาญชำนาญการปลูกผมเป็นปัจจัยที่สำคัญในการปลูกผม เช่น
- แพทย์อาจเจาะรูสำหรับปลูกผมบริเวณผมบางในขนาดที่ไม่พอดีกับชนิดของกราฟ ทำให้กราฟผมหลุดทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้เชื่อมกับพื้นที่รอบๆ
- ฝังกราฟผมไม่ลึกพอ
- ไม่ได้ตรวจเช็คความเรียบร้อยหลังปลูกผมเสร็จ
สำหรับขั้นตอนการดูแลตัวเองหลังผ่าตัดปลูกผม มีโอกาสสูงที่กราฟผมจะหลุดถ้าไม่ปฏิบัติตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด เช่น
- จับ แคะ แกะ เกา บริเวณปลูกผมบ่อยเกินไป ทำให้กราฟผมเสี่ยงหลุดได้ง่าย
- สระผมผิดวิธี ทำให้กราฟผมที่ยังไม่ติดแน่นหลุดออกมา
- ก้มศีรษะ หรือนอนโดยที่ศีรษะราบไปกับเตียง ทำให้เกิดความดันเลือดที่แผลสูง จนดันกราฟผมออกมา
- สูบบุหรี่ หรือ ดื่มแอลกอฮอล์ ที่ไปขัดขวางการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงหนังศีรษะ ทำให้กราฟผมหลุดได้
- ออกกำลังกายหนัก หรือมีอุบัติเหตุที่ทำให้กระทบกระเทือนศีรษะ กระเทือนไปถึงบริเวณที่ปลูกผม
สรุป
กราฟผมที่ถูกนำออกมาจากหนังศีรษะเพื่อนำไปปลูกถ่ายแก้ปัญหาผํู้มีปัญหาผมบาง ดังนั้นกราฟผมจะต้องมีคุณภาพ มีปริมาณที่แม่นยำ และในการปลูกผมก็ควรเป็นแพทย์ผู้มีความเชี่ยวชาญ มีประสบการณ์อย่างมาก ที่สามารถให้คำแนะนำเทคนิคปลูกผมที่ให้ผลลัพธ์สูงสุดแก่คนไข้แต่ละคน ทำให้รู้ถึงความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นและทำให้การปลูกผมไม่ได้ผลลัพธ์ดีเท่าที่ควร
ขอบคุณข้อมูลจาก