คนรุ่นใหม่ไฟแรง ! ร่วมเร่งเสนอกฏหมายบำนาญแห่งชาติ บำนาญถ้วนหน้า “เอ็ม-ธวเดช” พร้อมผลักดันผู้สูงอายุต้องได้เดือนละ 3,000 บาท
“เอ็ม-ธวเดช ภาจิตรภิรมย์” ที่ปรึกษาประจำคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาแนวทางเสนอกฏหมายบำนาญแห่งชาติ ร่วมกิจกรรมปาร์ตี้ปิ่นโต บำนาญถ้วนหน้า “เพื่อร่วมผลักดันเรียกร้องรับเรื่อง การเร่งเสนอกฏหมายบำนาญแห่งชาติ บำนาญถ้วนหน้า เดือนละ 3,000 บาทสำหรับทุกคนเมื่ออายุ 60 ปี (หากผลักดันสำเร็จจะมีผู้สูงอายุ10 กว่าล้านคนที่ได้ประโยชน์ตรงนี้ )โดยคณะอนุกรรมาธิการ ฯ เป็นตัวแทนรับหนังสือที่เสนอโดยภาคประชาชนเพื่อเสนอ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีต่อไปโดยได้ร่วมภารกิจกับ สส.สมศักดิ์ คุณเงิน ประธานอนุกรรมาธิการ พร้อมคณะอนุกรรมาธิการ สส.พีระวิทย์ เรื่องลือดลภาพ ,สส.ณัฐชา บุญไชยอิสวัสดิ์ และ สส.วรรณวิภา ไม้สน ณ เวทีหน้าสำนักงานสหประชาชาติ (UN) ถนนราชดำเนิน กรุงเทพมหานคร
เอ็ม-ธวเดช ภาจิตรภิรมย์ กล่าวว่า ขอขอบคุณเครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ /เครือข่ายสลัมสี่ภาค/เครือข่ายแรงงานนอกระบบ /เครือข่ายความหลากหลายทางเพศ/เครือข่ายผู้สูงอายุ/เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี ที่ร่วมต่อสู้และผลักดัน รัฐสวัสดิการ เสนอร่าง พรบ.บำนาญแห่งชาติ เปลี่ยนเบี้ยยังชีพเป็นบำนาญถ้วนหน้า การผลักดันเรื่องบำนาญแห่งชาติ ซึ่งมีหลักการสำคัญบนฐานคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนไม่ว่าจะรวยหรือจนก็สามารถเข้าถึงสวัสดิการที่เป็นหลักประกันทางรายได้ขึ้นพื้นฐานจากรัฐได้อย่างเท่าเทียมกัน ที่สำคัญยังช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
จากนั้นที่รัฐสภา เอ็ม-ธวเดช ภาจิตรภิรมย์ ได้นำเรื่องเข้าประชุมหลังจากได้รับปัญหาต่างฯ จากประชาชน เรื่องบำนาญแห่งชาติ ที่จะผลักดันผู้สูงอายุต้องได้เดือนล่ะ 3,000 บาท
เอ็ม-ธวเดช ภาจิตรภิรมย์ กล่าวด้วยว่า ทางคณะอนุกรรมาธิการศึกษาพิจารณาร่างพระราชบัญญัติบำนาญแห่งชาติ เร่งประชุมหนักทันที เพื่อเร่งพิจารณาตามที่ประชาชนได้ร้องเรียน เพื่อให้สำเร็จให้เร็วที่สุด คณะอนุกรรมาธิการฯเราได้พิจารณาหลายสิ่งหลายอย่างด้วยกัน ที่มาของรายได้ต่างฯช่องทางของงบประมาณ เพื่อนำมาใช้ในการผลักดัน บำนาญแห่งชาติ บำนาญถ้วนหน้าอย่างเท่าเทียมกัน โดยการสรุปรายได้ที่ต้องใช้ในโครงการต่อปีมีผู้สูงอายุราว 12 ล้านคน /ปี ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 4-5 แสนล้านบาทต่อปี
“ทั้งนี้เราได้พิจารณาแหล่งที่มาของการจัดเก็บรายได้ทางภาษี การบริหารการจัดการรายได้ของหน่วยงานภาครัฐ และการจัดเก็บรายได้ทางภาษี ตลอดจนพิจารณาแหล่งที่มาของงบประมาณ และผลประกอบการด้านการส่งเสริมการลงทุน ประเด็นผลกระทบกรณีหากมีการกำหนดให้มีการจัดเก็บภาษีนิติบุคคลเกี่ยวกับการส่งเสริมการลงทุน เพื่อกำหนดแนวทางในการจัดเก็บภาษี และวันนี้ได้เชิญหน่วยงานต่างฯเข้าพูดคุย 1.อธิบดีกรมศุลกากร 2.ผู้อำนวยการสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล 3.เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI)”